ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การสอนภาษาอังกฤษให้นักเรียนชั้นประถม


นี่คือกลยุทธ์ที่ปรับเปลี่ยนในการสอนภาษาอังกฤษ หารู้ไม่ว่า ครูผู้สอนเจ็บคอเป็นกำลัง และพยายามหาวิธีหลีกเลี่ยงการใช้เสียงต่าง

วันนี้ผู้เขียนรู้สึกเจ็บคอเป็นกำลัง  หาวิธีการสอนที่จะทำให้นักเรียนได้ทบทวนความรู้เดิม  รับความรู้ใหม่  ได้ฝึกทั้งการฟัง  การพูด  การอ่านและการเขียน  ประกอบกับมีการแข่งขันเพิ่มแรงจูงใจให้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน

วันนี้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3,4/1 และ 4/2  ได้ทดลองใช้วิธีนี้  วิธีปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การสอนภาษาอังกฤษให้นักเรียนชั้นประถม

แนวดำเนินการ  คือ  ครูนำคำศัพท์ขึ้นกระดาน  โดยที่คำเหล่านั้นต้องออกเสียง  vowel  =  cat, bed, bus, bush, free, floor, fly, flow  กำหนดคำให้มากพอๆกับจำนวนนักเรียน

ครูวาดภาพบ้าน 8 หลังที่มีชื่อ  cat, bed, bus, bush, free, floor, fly, flow 

ให้เวลานักเรียนสัก ระยะหนึ่ง  โดยกำชับนักเรียนให้เลือกเล็งคำที่ชอบไว้อย่างน้อย 3 คำ  เผื่อเพื่อนแย่งไปเสียก่อน

ผลปรากฏว่า  ชั้น ป.4/3  มีนักเรียนที่ยังไม่เข้าใจ  อ่านคำได้  แต่ยังเลือกบ้านให้คำนั้นไม่ถูก  จำนวน 5 คนจากนักเรียน 43 คน

ชั้น ป.4/1  มีนักเรียนเข้าใจทุกคน  มีความสามารถอ่านออกเสียงได้ชัดเจน  และเลือกบ้านให้คำได้อย่างถูกต้องโดยไม่ลังเล

ชั้น ป.4/2  มีนักเรียนอ่านออกเสียงผิด  3  คน  และเลือกบ้านให้คำเหล่านั้นผิด 5 คน

นี่คือกลยุทธ์ที่ปรับเปลี่ยนในการสอนภาษาอังกฤษ  หารู้ไม่ว่า  ครูผู้สอนเจ็บคอเป็นกำลัง  และพยายามหาวิธีหลีกเลี่ยงการใช้เสียงต่างหาก

คำสำคัญ (Tags): #enginstruction#classroom
หมายเลขบันทึก: 44836เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2006 19:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

จากทฤษฎีการเรียนรู้...ในกลุ่ม cognitive theory...จะเน้นในเรื่องกระบวรการใส่รหัส encoding และการสร้างรหัสภาพ (Imagery Encode) เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการจดจำ และนำสาร/ข้อมูลไปเก็บไว้ใน short term หรือความจำระยะสั้น...และหากมีการกระตุ้นซ้ำและนำไปใช้บ่อยๆ...จากการนำเก็บไว้นั้น...อาจเปลี่ยนไปเก็บไว้ได้ใน Long Term...

....

เช่น...เลียนเสียงจากคำที่ใกล้เคียง...กับคำศัพท์จริง...

โอ้โฮ เยี่ยมค่ะ  กำลังคิดอยู่เหมือนกันค่ะว่า  encode  น่าจะให้นักเรียนได้ลิ้มชิมรสดูค่ะ 

เดี๋ยวรอให้คลังคำศัพท์เยอะๆก่อนค่ะ  Dr.Ka-poom  ขอบคุณมากค่ะ

ลองดูนะคะ...

ครู...จำเป็นต้องออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้นะคะ...เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างสูงสุด...

....

อีกหนึ่งประเด็นที่กะปุ๋มอยากนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้คะ..." Meaningfull Learning หรือที่เราเรียกว่า การเรียนรู้อย่างมีความหมาย"...กระตุ้นให้เด็กสร้างความรู้..จากศัพท์ที่เขาเรียนรู้...เพื่อที่ว่าความรู้จากศัพท์นั้น...สามารถนำไปเก็บไว้ในคลังความจำระยะยาว (Longterm Memory)...เมื่อถึงคราวที่ต้องใช้สามารถ ดึงออกมาใช้ได้เสมอ(Retive)....คะ...

ขอบคุณคะ....

กะปุ๋ม

คราวนี้ล่ะที่รู้สึกว่า ครูมิได้สอนหนังสือนะจะบอกให้  ครูสอนนักเรียน  ภูมิใจจริงนะคะ 

Meaningful  จัดทำในรูปแบบที่สำเร็จรูปบูรณาการ  จะจัดในภาคเรียนที่สอง  เมื่อนักเรียนมีคลังคำพอสมควร  เรียกว่า  โครงการหนังสือเล่มเล็ก  เป็นวิจัยในชั้นเรียนดวยนะคะ

จำเป็นต้องทำ 2 in 1  เพราะสังคมครูได้เปลี่ยนไปแล้ว ไม่ใช่สอนแต่เพียงอย่างเดียว

สมองของครูเลยต้องแบ่งเป็นหลายส่วน  ปกติก็หลายส่วนอยู่แล้วค่ะ

ขอบคุณค่ะที่ Dr.Ka-Poom แลกเปลี่ยนเรียนรู้

แวะมาทักทายและขอบคุณครับ

คุณขจิตคะ  ดิฉันพอมองภาพเห็นนะที่คุณขจิตนั่งอยู่ในกองหนังสือ

เพราะไม่แตกต่างจากสภาพที่บ้านเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

  • ขอบคุณมากครับที่แวะไปแสดงความคิดเห็น
  • รอดูโครงการที่อาจารย์ทำครับ
คุณขจิตคะ  ไม่มีเวลาเลยค่ะ  เจ้า 24 ชั่วโมงในแต่ละวันไปไหนกันหมดไม่ทราบค่ะ  ขอบคุณค่ะ
แวะมาทักทายและขอบคุณครับ

คิดถึง  ความเสมอต้น  เสมอปลาย จังค่ะ

คุณน้องขจิตมีมาเสมอ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท