One Laptop/Tablet Per Child ความหวังของเด็กด้อยโอกาสที่ถูกกดไว้ด้วยอคติ


นวัตกรรมและเทคโนโลยีมีไว้ทั้งเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหา ความสำเร็จหรือล้มเหลว ขึ้นอยู่กับจินตนาการ วิสัยทัศน์ และความสามารถของผู้ใช้

One Laptop Per Child หรือ OLPC สำหรับคนที่อยู่ในแวดวงการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับความพยายามนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อแก้ปัญหาการศึกษาของเด็กด้อยโอกาสในโลกที่สาม สำหรับสมาชิก Gotoknow รุ่นเก่าๆอาจจะพอจำกันได้ เพราะ ดร.ธวัชชัย ปิยวัฒน์ ผู้ก่อตั้ง G2K เขียนไว้ในบล็อก "พอไหว พอดี" หลายบันทึกต่อเนื่องด้วยกัน (เช่นเรื่อง OLPC ไม่เขียนไม่ได้  และยังได้บอกว่าสิ่งที่ว่านี้ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ ) เนื่องจากหากคนทั่วไปเข้าใจว่าสิ่งนี้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แทนที่จะเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ ก็อาจเป็นปัญหาสำหรับการดำเนินโครงการได้ ซึ่งตอนนี้เราก็ได้เห็นกันแล้ว

ประเทศเราเคยมีความคิดที่จะนำโครงการนี้มาใช้ แต่ก็ต้องถูกล้มเลิกไปอย่างน่าเสียดายจากการรัฐประหาร และจากการขาดวิสัยทัศน์ของผู้บริหารประเทศ แม้ต่อมาเมื่อมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็ยังถูกต่อต้านอย่างเต็มกำลัง ไม่ใช่เพราะโครงการมีปัญหาหรือล้มเหลว แต่เป็นเพราะโครงการนี้เกิดจากแนวความคิดของคนที่ชื่อ "ทักษิณ" เท่านั้นเอง

...อคติที่ถูกหลอมรวมด้วยมิจฉาทิฐิทำให้คนเราทำได้ทุกอย่าง แม้กระทั่งการแช่แข็งโอกาสของเด็กยากจนทั้งประเทศ...

วันนี้ยังมีผู้คนที่ถูกครอบงำด้วยโมหจริตนี้อยู่อีกมากมาย ขณะที่มีผู้ที่จะนำนโยบายนี้มาใช้ ก็จะมีผู้ต่อต้านโดยไม่ได้รู้ ไม่ได้ศึกษาความเป็นมาเป็นไปแม้แต่น้อย เราหนุน เราค้านกันด้วยเรื่องที่ไม่รู้ ในเรื่องที่ไม่เคยเห็น และไม่แม้จะพยายามศึกษาหาความรู้ก่อนตัดสินใจ แต่กลับอ้างว่าตนเป็นผู้มีปัญญาล้นเหลือ

ในฐานะที่เคยทำงานด้านการศึกษา เคยสัมผัสกับเด็กนักเรียนทั้งในเมือง ตามชนบท ทั้งที่มีความพร้อมที่สุด หรือขาดแคลนด้อยโอกาสที่สุด ก็ต้องบอกครับว่าถ้าเรายังขับเคลื่อนการศึกษาแบบที่เป็นมาโดยไม่หานวัตกรรมอะไรมาช่วยเลย ต่อให้ปฏิรูปอีกกี่รอบก็มีแต่ทรงกับทรุดยังมองไม่เห็นโอกาสก้าวหน้าได้เลย

โครงการ OLPC ดำเนินการโดยองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรร่วมกับ MIT Lab ใช้ระบบปฏิบัติการ Linux มีภาระกิจในการให้โอกาสทางการศึกษากับเด็กยากจนและด้อยโอกาสบนโลกนี้ ประมาณกันว่า จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2554 พวกเขาได้ผลิต XO Labtop ให้กับเด็กทั่วโลกแล้วไม่น้อยกว่า 2 ล้านเครื่อง http://wiki.laptop.org/go/The_OLPC_Wiki

วันนี้คงจะยังไม่เขียนอะไรมากครับ อยากจะให้ผู้ที่ยังไม่รู้จักโครงการนี้ได้มองเห็นภาพ แม้จะไม่ชัดเจนนักเพราะเราก็ยังไม่รู้ว่าคนที่เขาจะดำเนินการมันจะออกมาเป็นรูปแบบไหน จะเป็นแบบสากล หรือทำโดยแอบแฝงอะไรไว้ เมื่อเรารู้จะได้ช่วยกันดูช่วยกันท้วงติง เพราะเชื่อว่าโครงการนี้คงเกิดแน่

ตัวอย่างการแสดงความเห็นที่เกิดจากการไม่เคยเห็นข้อเท็จจริงแต่ใช้ความรู้สึกของตัวเองมาตัดสิน
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=210d7c17f75c2768
ขอความเห็น ..แจกแลบท็อปให้นักเรียน ป.1 ทุกคน ท่านคิดว่า เหมาะสมหรือไม่ อย่างไร

"ด้วยตัวเองเห็นว่าไม่เหมาะสม  เพราะเด็กป.1 ยังไม่มีวินัย   ไม่มีความรับผิดชอบมากพอ  น่าจะก่อให้เกิดปัญหามากกว่าประโยชน์ เช่น เด็กจะหมกมุ่นกับของใหม่  ส่วนใหญ่ก็จะติดสนุกติดเล่นกม  ทำเครื่องหล่น  หรือเครื่องหาย  และรู้มาว่าน่าจะเป็นเครื่องที่นำเข้าจากประเทศจีน  ..... ต้นทุนประมาณ 3,000 บาทต่อเครื่อง  จะใช้ได้กี่ครั้ง  ถ้าเครื่องเสียให้ใครซ่อม.....คะ"

"เด็กเค้าวัยกำลังเล่น - -
ผมว่าจะส่งเสริมให้เด็กติดเกมซะอีก .."

"..ถ้าแจกแบบนั้นจริง ผมว่าแจกคอมให้ครบทุกโรงเรียนดีกว่า ทุกคนได้ใช้ประโยชน์จริง แทบเลตเวลาหาอะไรในเน็ต แน่นอนต้องจ่ายค่าเน็ต คุณคิดว่าคนจนๆจะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายให้ลูกทุกวัน"

"มันคือดาบสองคม เข้าเน็ตได้ ก็ดูเว็บโป๊ได้ พ่อแม่ ต้องออกทำงานนะครับ อย่าลืม"

"ถ้าแจกแท็บเล็ต แล้วโตขึ้นเด็กๆจะรู้จักหนังสือกันมั้ยค๊ะ  อีกอย่างคิดว่าเด็กๆยังไม่มีภาวะที่จะรักษาของได้ดีกว่าผู้ใหญ่อ่ะค่ะ"

"แลบท็อป มันก็เป็นเหมือนเอาหนังสือสารานุกรม มารวมกับโทรทัศน์ มันอยู่ที่ครู ผู้ปกครอง จะแนะนำ หรือบังคับให้เด็กใช้เป็นประโยชน์ หรือไม่ อย่างไร แต่ไม่ใช่แอะอะไรก็ค้านตะพึดตะพือ ดูโลกภายนอกมั่งนะ ลูกเศรษฐีเล่นเป็นตั้งแต่อนุบาล ทั่วโลกเค้าไปถึงไหนแล้ว ทำเป็นกบในกะลามันไม่รอดแน่  ถ้าเค้าแจกให้ใด้จริงน่าจะโมทนาสาธุ แล้วลูกใครก็ลูกมัน คุมกันให้ดีเองซิ่  ลูกตัวเองคุมไม่ใด้ แล้วจะให้ลูกคนอื่นอดใด้เหรอ"

"น่าจะให้โตกว่านี้ เช่นประถมปลาย หรือป.5 น่าจะกำลังดี"

"เท่าที่เคยใช้นะแทปเล็ตที่เค้าว่าจะแจกน่ะ มันสามารถอ่านไฟล์ PDF ,WORD ,EXECL ได้ด้วยนะ ถ้าเค้าให้เพื่อลดขนาดหนังสือเรียนก็จะดีเพราะลงเป็นไฟล์ขนาดเล็ก เด็กไม่ต้องถือหนัก ซึ่งในประเทศอื่นเค้าก็ใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนอยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องแปลก อาจจะใหม่สำหรับประเทศเรา ในความคิดว่าถ้าเค้าเอาเงินตัวนี้ไปขุดๆกลบๆ ถนนยังเสียประโยชน์มากกว่า แต่สำหรับชั้น ป.1 คิดว่าเร็วไปเค้ายังรักษาของไม่เป็นโอกาสชำรุดสูง เสียดายงบ"

 



OLPC Mission Part 1



OLPC Mission Part 2



OLPC Thank You Video



OLPC XO-3


ตัวอย่างบางส่วนที่ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ OLPC

http://fibo.kmutt.ac.th/fiboweb07/thai/index.php?option=com_content&task=view&id=556&Itemid=142
http://goo.gl/MW88D
http://www.thaicomfoundation.org/projects/project.aspx?project_id=41
http://wiki.nectec.or.th/nectecpedia2/index.php/OLPC-TH
http://www.gotoknow.org/blog/vasablog/437416

หมายเลขบันทึก: 448334เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2011 01:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

The concept of OLPC is admirable.

It started from an idea to provide 'technology' to children in 'under-developed' countries.

(No, Thaksin is not the originator of OLPC in Thailand, but he was willing to go that way.)

Today, we see a rapid and strong push for "tablets". (Singapore has adopted tablets in schools.)

Today, we also see more features and computing power on mobile phones (phone OS'es, Dual core ARM processors, ...)

Which of these will win -- if we only have money to buy just one?

I think mobile phone will be the device we choose.

How do we use mobile phones to improve (children's and general public) education and communication?

How do we make use of more computing power, networks, and 'our innovative ability' for OUR (future) society?

How do we advance 'OUR technologies' based on 'prevalent and easy accessible modern devices'?

I think these questions are more relevant than adopting or committing OLPC on our children.

สวัสดีครับท่าน sr

"(No, Thaksin is not the originator of OLPC in Thailand, but he was willing to go that way.)"

เคยให้ความเห็นไว้ในหลายๆที่ว่า ความพยายามในการผลักดันสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมของนักคิด นักวิชาการที่ผ่านการคิดค้นวิจัยและพัฒนาที่ได้ถูกนำมาทดลองแล้วว่าดีมีประโยชน์ไม่เคยถูกนำมาใช้หากไม่ได้รับการยอมรับจากคนที่ถือ "อำนาจรัฐ"

ผมเองก็ไม่เคยเห็นด้วยถ้าจะนำเอาสินค้าที่เป็นที่นิยมในท้องตลาดมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเด็กโดยไม่นำมากลั่นกรอง ออกแบบให้เหมาะกับผู้ใช้เสียก่อน แล้วก็มีความเห็นเหมือน ดร.ธวัชชัย ปิยวัฒน์ว่าไม่ควรเรียกเครื่องมือเหล่านี้ว่า Laptop,Tablet,หรือComputer ด้วยซ้ำ

คนทั่วไปอาจจะมองว่าโครงการแบบนี้เป็นแค่การซื้อสิ่งที่เรียกว่า "Tablet" ใส่มือให้เด็กแล้วจบ แต่ผมมองไปถึง การพัฒนา software, การพัฒนาระบบการสื่อสารและโทรคมนาคม, ระบบ Network, Contents, การตัดปัญหากลโกงหนังสือเรียน หนังสือแพง ไม่พอใช้ ไม่ได้คุณภาพด้วย E-Book, การบริหารจัดการการศึกษา, โครงข่าย, การบริหารงบประมาณ, การพัฒนาครู, พัฒนาบุคลากร, การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ, การพัฒนาทัศนคติ วิสัยทัศน์ ความสามารถในการบริหารจัดการของผู้บริหารการศึกษา, และอีกร้อยแปดพันประการซึ่งต้องขับเคลื่อนไปพร้อมกัน

วันนี้ประเทศเราเปรียบได้กับครอบครัวที่ผู้ปกครองยังคิดไม่ออกตัดสินใจไม่ได้ว่าจะซื้อสมุดดินสอหนังสือให้ลูกดีหรือไม่ทั้งที่โรงเรียนเปิดไปค่อนเทอมจวนจะสอบปลายภาคแล้ว คนในบ้านยังมัวถกเถียงกันว่าจะเอาอย่างนั้นไม่เอาอย่างนี้แต่ไม่เคยคิดที่จะเปิดประตูออกไปดูโลกภายนอก

เวลานี้ แม้จะมองเห็นโอกาสจากการได้เห็นนโยบายของผู้ที่จะมาเป็นรัฐบาลใหม่แต่ก็อย่าได้ไว้วางใจ เราเคยเห็นมาแล้วซ้ำซากว่านักการเมืองหากประชาชนละสายตาจะเป็นอย่างไร

ขอบคุณความเห็นของท่านมากครับ เพราะทุกครั้งมีประโยชน์มากจริงๆ

เคยเป็นคนหนึ่งที่งงๆ และออกจะไม่เห็นด้วยกับนโยบายการแจก

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้ที่ได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นคะ

แต่เห็นด้วยกับคุณ sr เราต้านโลกแห่งเทคโนโลยีไม่ได้หรอกคะ ขึ้นกับว่าเราจะปรับตัวเข้ากับมันได้ช้าหรือเร็ว

ล่าสุด Borders ร้านหนังสือ ที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจาก B&N เพิ่งล้มไป

มีผู้วิจารณ์ว่า ที่ Borders ล้ม แต่ B&N รอด ก็เพราะ

รายหลังปรับตัวสร้าง Ebook และ reader ของตนเอง แข่งกับ Amazon ก่อนจะสายไปอย่างรายแรก

ประเทศเราก็เหมือนกัน..เราจะรอชัวร์ ด้วยการเป็นประเทศสุดท้ายที่รับการเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นหรือ

ขอบคุณท่านอาจารย์มากครับสำหรับความเห็น

จริงๆแล้วผมชอบความเห็นหลายๆมุมเพราะเราจะได้มีโอกาสมองเห็นสิ่งที่เราอาจจะมองข้ามไป

บางครั้งการที่พบเห็นความแตกต่างกันมากๆของการได้รับโอกาสของผู้คนในสังคม เลยเขียนอะไรแรงๆไปบ้าง ก็อย่าถือสากันนะครับ

ถ้าเด็กทุกคนสามารถค้นหาความรู้ได้ตลอดเวลา ไม่ต้องไปห้องสมุด ไม่ต้องไปร้านขายหนังสือ ถ้าทำให้มันเป็นจริงได้ทำกันเถอะครับ

ผมประทับใจประโยคนี้มากครับ

"...อคติที่ถูกหลอมรวมด้วยมิจฉาทิฐิทำให้คนเราทำได้ทุกอย่าง แม้กระทั่งการแช่แข็งโอกาสของเด็กยากจนทั้งประเทศ..."

ในวันนี้ไม่ใช่เวลาของการคิดว่าควรจะแจก tablet ให้เด็กหรือไม่แจกดี แต่เป็นการต้องช่วยกันคิดว่าจะแจกอย่างไร วางแผนสนับสนุนอย่างไร และใช้กันอย่างไรให้ได้เกิดประโยชน์สูงสุด

ในระยะหลังนี้ผมไม่ติดตามข่าวสารบ้านเมืองเลยด้วยความเหนื่อยหน่ายกับทิฐิที่มีอยู่สูงของพี่น้องร่วมชาติที่เลือกที่จะไม่ฟังเหตุผลหากเหตุผลนั้นขัดต่ออคติที่เรามีอยู่ ถ้าเป็นเรื่องอื่นๆ ก็คงทำใจได้ แต่พอเป็นเรื่องของการศึกษาพอได้รับรู้ก็น่าเศร้าใจจึงเลือกที่จะไม่รับรู้เสียดีกว่า

บางทีผมก็คิดปลงไปว่า อีกประมาณห้าปี (พ.ศ. 2560) การต่อต้านเรื่องนี้ก็จะจบลงไป เพราะถึงเวลานั้นผู้คนในโลกไม่ว่ายากดีมีจนก็จะมี tablet ใช้กันเป็นปกติเป็นอุปกรณ์ประจำตัว เรื่องการต่อต้านก็จะกลายเป็นอดีตที่ไม่มีใครพูดถึงอีกต่อไปครับ

หลายๆ คนที่ต่อต้านในวันนี้อาจจะ "แก้ประวัติศาสตร์" กลายเป็นบุคคลผู้สนับสนุน tablet มาตั้งแต่ต้นด้วยซ้ำก็ได้ครับ เหมือนหลายๆ เรื่องที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในบ้านเมืองเราครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท