บันทึกหลังเลือกตั้ง


วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมาในฐานะ "ประชาชน" หลังจากหย่อนบัตรลงกล่องแล้ว กลับรู้สึกเหงาขึ้นมาตะหงิดๆ ก็จะไม่เหงาได้อย่างไรละครับท่าน หลังจากยุบสภาฯแล้วก็มีบรรดา สส. แวะเวียนมาหาไม่หยุดหย่อน สัญญาอย่างนั้น อย่างนี้ สารพัดฟังแล้วเคลิ้มดีครับ

สส.ที่มาทั้งที่รู้จักและไม่รู้จักต่างมาหาด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม กระตือรือร้น บางท่านก็อดีตรัฐมนตรี ผช.รัฐมนตรี โห ต่างก็มาหา ทักทาย พูดคุย เหมือนคนรู้จักกันมานาน มาแล้วก็ถามสารทุกข์สุกดิบสารพัด ช่วงนั้นในฐานะประชาชน อดรู้สึก "ภาคภูมิใจ" ในความเป็นประชาชนคนหนึ่ง

แต่หลังจากหย่อนบัตรแล้วนี่ซิ รู้สึกใจหายแว็บเลยครับท่าน หลังจากนี้คงจะไม่มี สส. แวะเวียนมาหาอีก ดูข่าวในทีวี สส. ของพรรคที่ชนะได้เป็นรัฐบาลก็ดูจะยุ่งๆ ส่วน สส.ของพรรคที่แพ้การเลือกตั้งก็ดูเงียบๆไป

ในฐานะประชาชนผมว่า สส.ทุกท่านที่ได้รับเลือกต่างก็ได้รับ "ความไว้วางใจ" จากประชาชนทั้งหมดนะครับ เพียงแต่  ส่วนหนึ่งก็ได้ทำหน้าที่ "บริหาร" คำสัญญา และอีกส่วนหนึ่งก็ทำหน้าที่ "ตรวจสอบ" แทนประชาชน ว่าสัญญาไว้แล้วทำจริงหรือไม่อย่างไร แค่ใหน?

สิ่งหนึ่งที่น่าจะเกิดขึ้นใน "วัฒนธรรม" การเมืองไทยก็คือ ภาคประชาชนตื่นตัวสนใจการเมือง และพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมากขึ้นกว่าตอนเลือกตั้ง ทั้งในสภากาแฟ ทั้งใน socialnetwork และในบริบทต่างๆของชีวิตประจำวัน เพราะผมคิดว่า "การเมือง" ไม่ใช่เป็นเรื่องของ "ผู้แทน" เพียง 500 คน ที่อาสาเข้ามาทำงาน แต่ "การเมือง" ควรจะเป็นเรื่องสำคัญของ "ประชาชน" ทุกคน ที่การเมืองจะ "ดี" หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า ประชาชนเป็นอย่างไร หากว่า หลังจากนี้ ในฐานะประชาชน อาจจะผิดหวังกับ "สส" ที่เลือก ทั้งในฐานะ "รัฐบาล " และหรือ "ผู้จรวจสอบ" ก็คงจะโทษใครอื่นไม่ได้นอกจาก "ตัวประชาชนเอง" ที่เลือก "เขา" หรือ เธอ" ไป

หมายเลขบันทึก: 448281เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2011 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท