การจัดการคุณภาพ


การจัดการคุณภาพการศึกษา

การจัดการคุณภาพหมายถึงอะไร
      การนำนโยบาย คุณภาพมากำหนดเป็นเป้าหมายคุณภาพจากนั้นจะต้องมีการกำหนดเป็นแผนคุณภาพ สำหรับดำเนินการต่อไปหรือการจัดการคุณภาพหมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการปรับปรุงการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอนของการทำงาน

       จากความหมายของคำว่าคุณภาพมาสู่แนวทางการดำเนินการเพื่อคุณภาพที่ดีนั้นได้มีคำหลายคำที่ใช้ในการบ่งบอกถึงการปฏิบัติการเกี่ยวกับคุณภาพ   เช่น ระบบคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ หรือ การบริหารงานคุณภาพ ฯลฯ   ซึงมีความหมายแตกต่างกันดังต่อไปนี้
         1 การควบคุมคุณภาพ (Quality   Control หรือ QC) หมายถึง กิจกรรมและกลวิธีการปฏิบัติเพื่อสนองความต้องการด้านคุณภาพภายในธุรกิจ   โดยการตรวจสอบ การวัด และการทดสอบที่มุ่งจะควบคุมวัตถุดิบ กระบวนการ และการกำจัดสาเหตุของข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการทั้งหมด   เช่น การสุ่มตัวอย่างน้ำผลไม้กระป๋องมาตรวจสอบรสชาติ
  การควบคุมคุณภาพเน้นการตรวจสอบและแยกแยะของดีและของเสียออกจากกัน โดยระบุเป็นร้อยละของของเสียที่พบจากล็อตการผลิต   เพื่อควบคุมมิให้ของเสียมีมากเกินกว่าที่กำหนดและในปัจจุบันการควบคุมคุณภาพมุ่งเน้นที่ของเสียต้องเป็นศูนย์   (Zero Defect)
           2 การประกันคุณภาพ (Quality   Assurance หรือ QA) หมายถึง การดำเนินการเพื่อสุขภาพตามระบบและแผนงานที่วางไว้อย่างเคร่งครัด   เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ เช่น การดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพสากล   ISO 9000 
          3 การบริหารคุณภาพ (Quality   Management หรือ QM) หมายถึง การจัดการระบบคุณภาพโดยทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์การรับผิดชอบต่องานที่ตนเองกระทำอย่างเต็มที่เพื่อให้สินค้าและบริการเป็นไปตามต้องการของลูกค้า   เช่น การใช้ระบบการบริหารคุณภาพสมบูรณ์แบบ (Total Quality Management หรือ TQM)  

         วัตถุประสงค์หลักของการบริการคุณภาพ คือ การผลิตสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า   ซึ่งความต้องการของลูกค้าจะเป็นกรอบกำหนดระบบคุณภาพขององค์การทั้งทางตรงและทางอ้อม   ดังนั้นการบริหารคุณภาพจะมุ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเป็นสำคัญ

         หลักการสำคัญของการของระบบการบริหารเกี่ยวกับการบริหารคุณภาพทั้งองค์การมีหลัก 14 ประการของ Deming สำหรับการปรับปรุงคุณภาพ
1. การสร้างเป้าหมายที่สอดคล้องกัน
2. นำไปสู่การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง
3. สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ หยุดการควบคุมคุณภาพโดยอาศัยการตรวจสอบเพื่อให้พบปัญหา
4. เสริมสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวบนพื้นฐานทางด้านศักยภาพ แทนการให้รางวัลจากการใช้ราคา
5. ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ คุณภาพ และระบบการให้บริการอย่างต่อเนื่อง
6. ทำการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ
7. เน้นภาวะผู้นำให้เกิดขึ้น
8. กำจัดข้อวิตกกังวล หรือความหวาดกลัวให้หมดไป
9. กำจัดสิ่งที่เป็นอุปสรรคของการร่วมมือระหว่างหน่วยงานในองค์การ
10. หยุดการกระตุ้นโดยใช้คำขวัญสำหรับพนักงาน
11. สนับสนุน ช่วยเหลือ และปรับปรุง
12. กำจัดอุปสรรคที่ขัดขวางความภาคภูมิใจในการทำงานของพนักงาน
13. จัดตั้งแผนการศึกษาและการฝึกอบรม เพื่อให้เกิดการปรับปรุงตนเอง
14. ทำให้ทุกคนในองค์การลงมือปฏิบัติ เพื่อมุ่งสู่การเปลี่ยนแปลง

      แนวคิดการจัดการคุณภาพ การศึกษา สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษาได้โดย
1.ศึกษาหลักการบริหารแบบคุณภาพ
2.กำหนดนโยบายด้านบริหารคุณภาพให้ชัดเจน
3.จัดตั้งองค์กรหรือคณะบุคลดำเนินการตามนโยบายคุณภาพ
4.วางแผนและออกแบระบบงานมาตรฐานและวิธีทำงาน และการจัดการทรัพยากร
5.จัดทำคู่มือระบบคุณภาพโดยอผธิบายวิธีปฏิบัติงานแต่ละด้าน
6.สร้างทีมงาน ละจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อดำเนินงานแต่ละด้าน
7.จัดฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากรทุกระดับ
8.จัดระบบประเมินผลงานอย่างโปร่งใส และทุกฝ่ายยอมรับการนำสู่การปฏิบัติ



คำสำคัญ (Tags): #คุณภาพการศึกษา
หมายเลขบันทึก: 447762เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2011 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 10:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท