การระบายน้ำของระบบรากกับการเจริญเติบโตของต้นไม้ผล (สุโขทัย ระทม)


คณะเกษตรกำแพงแสนร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนากำแพงแสน

        

 

 

         

 

แนวทางปฏิบัติอย่างเร่งด่วน ของการป้องกันและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมสวนไม้ผล

             กราบขอบพระคุณ      

ท่าน รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี

ท่านผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนากำแพงแสน


  สภาวะน้ำท่วมขังสวนไม้ผลที่เกิดขึ้นในทุกระยะ ได้สร้างความสูญเสียให้กับเกษตรกรเป็นจำนวนมาก เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตที่ได้พบมาก่อนนั้นเป็นเรื่องของความแห้งแล้ง ชาวสวนจึงไม่ค่อยได้คำนึงในเรื่องนี้มากนัก ภัยจากน้ำท่วมขังที่เกิดขึ้นในปี ได้ก่อให้เกิดความสูญเสียแก่ชาวสวนเป็นอย่างมากจนถึงกับสิ้นเนื้อไป ดังนั้น เพื่อให้ทันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและที่อาจเกิดตามมาในอนาคตอันใกล้นี้ จึงได้จัดทำเอกสารฉบับนี้ขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการป้องกันและการแก้ไขปัญหาของสภาวะน้ำท่วมขัง เพื่อให้ประโยชน์แก่ชาวสวนไม้ผลและนักวิชาการหรือนักส่งเสริมที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ปฏิบัติต่อไป

สำหรับการป้องกันและการแก้ไขนั้น แบ่งได้เป็น 3 สถานะ ดังนี้

1. การป้องกันมิให้น้ำท่วมขัง หากเป็นสภาพพื้นที่ราบลุ่ม ขอให้เกษตรกรตรวจดูความแข็งแรงของคันดินรอบสวน โดยให้พิจารณาถึงความสูงและความหนาของคัน หากพบมีจุดบกพร่องหรือมีความสูงไม่เพียงพอให้รีบดำเนินการเสริมคันดังกล่าวก่อนภาวะฝนตกชุกจะมาถึง สำหรับสวนในสภาพพื้นที่ดอนนั้น น้ำท่วมขังมักเกิดจากน้ำป่าไหลหลากซึ่งระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็ว ความสูญเสียมักเกิดจากความแรงและต้นไม้ที่น้ำพัดพารวมทั้งตะกอนดินที่อาจทับถมไว้อันเป็นสิ่งที่ยากจะป้องกันได้ อย่างไรก็ตาม การป้องกันการชะล้างหน้าดินหรือมีแนวรั้วหรือมีการปลูกแนวไม้บังลมที่แข็งแรงอยู่ก่อนแล้วก็สามารถลดความรุนแรงนี้ลงได้เป็นอย่างมาก

2. การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของสวนไม้ผลที่ถูกน้ำท่วมขัง แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ   2.1. ในสภาพของสวนในที่ลุ่ม ให้ชาวสวนรีบดำเนินการจัดเสริมสร้างคัดดินโดยรอบให้แข็งแรงพอที่จะรองรับแรงดันของน้ำให้ได้ จากนั้นรีบสูบน้ำออกจากพื้นที่ให้สวนแห้งโดยเร็วจนน้ำในสวนลดลงสู่ระดับปกติ

  2.2. ในกรณีที่สวนนั้นไม่สามารถเสริมคันดินได้ สิ่งที่พอจะประทังได้คือ การช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ โดยใช้วิธีการพ่นอากาศลงในน้ำที่ท่วมขังอยู่ ซึ่งอาจใช้มอเตอร์หรือเครื่องยนต์หมุนกังหันน้ำหรือใช้การตีให้น้ำที่ท่วมขังมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ก็จะเป็นการช่วยให้ออกซิเจนละเลยในน้ำได้มากขึ้นและรากของต้นไม้สามารถนำไปใช้ได้ส่วนหนึ่งจนกว่าน้ำลด 3. ข้อควรปฏิบัติภายหลังน้ำลด สิ่งที่ต้องพึงระวังไว้ให้มากทั้งสวนในสภาพพื้นที่ลุ่มและที่ดอนคือ

  เมื่อระดับน้ำลดแล้วแต่ดินยังมีความเปียกชุ่มหมาดอยู่ ห้ามเดินย่ำผิวดินโดยเด็ดขาด เนื่องจากจะมีผลทำให้ดินอัดแน่นระบบรากต้นไม้ซึ่งได้รับความกระทบกระเทือนอยู่แล้วจะได้รับอันตรายมากขึ้นและต้นตายได้โดยง่าย ควรปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 2 วันจนหน้าดินแห้งก่อน

จากนั้นให้ใช้ปุ๋ยทางใบและผสมกับสารเคมีต่าง ๆ ฉีดพ่นให้กับต้นไม้ผลตามสัดส่วน ต่อน้ำ 20 ลิตร ดังต่อไปนี้

1. ปุ๋ยทางใบ อัตราส่วนของ N-P-K ประมาณ 3-4:1:2 เช่น 15-5-10 หรือ 20-5-10 หรือที่มีสูตร ใกล้เคียงกัน ปริมาณ 30-40 กรัม

2. ธาตุอาหารย่อย (trace elements) 5 กรัม

3. น้ำตาลทรายขาว 1 % (น้ำตาล 200 กรัม) 4. สารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คอปเปอร์อ๊อกซีคลอไรด์ หรือ แมนโคเซ็บ ฯลฯ ดำเนินการฉีดพ่นให้กับต้นไม้ผล 2-3 ครั้ง ห่างกันประมาณ 3 วัน/ครั้ง เพื่อฟื้นคืนสภาพต้นโดยเร็ว เมื่อต้นไม้ผลมีการผลิยอดอ่อนขึ้นมาใหม่จนสามารถเจริญเติบโตกระทั่งใบแก่สมบูรณ์แล้ว จึงจะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความอยู่รอดของต้นไม้นั้นได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรักษาใบอ่อนชุดนี้ให้สมบูรณ์และปลอดภัยจากการเข้าทำลายของศัตรูพืชต่าง ๆ ในระยะใบอ่อนนี้ มิฉะนั้นแล้วต้นอาจตายได้โดยง่าย หากต้นมีการออกดอกและติดผลตามมาในระยะนี้ให้กำจัดออกให้หมดเพื่อรักษาต้นแม่ไว้ เนื่องจากต้นไม้ผลจำเป็นที่จะต้องฟื้นคืนสภาพจากสภาวะน้ำท่วมขังให้มีความสมบูรณ์ดังเดิมก่อน ข้อเตือน ต้นไม้ผลที่อยู่ในสภาพของน้ำท่วมขังไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาสั้นหรือยาวก็ย่อมเป็นผลเสียหายทั้งสิ้น พืชแต่ละชนิดหรือเป็นชนิดเดียวกันหรือพันธุ์เดียวกันก็ตาม

ความสามารถทนต่อสภาพน้ำท่วมขังก็ย่อมแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งอาจสรุปได้ดังนี้

1. ธรรมชาติหรือชนิดของไม้ผล ไม้ผลแต่ละชนิดหรือแต่ละพันธุ์มีความทนทานต่อสภาวะน้ำท่วมขังได้ไม่เท่ากัน บางชนิดอาจอ่อนแออย่างมาก เช่น ขนุน จำปาดะ มะละกอ กล้วย ทุเรียน ในขณะที่บางชนิดสามารถทนทานได้มากกว่า เช่น มะขาม ส้มโอ มะกอกน้ำ มะพร้าว เป็นต้น

2. ความสมบูรณ์หรือความแข็งแรงของต้น ต้นไม้ที่มีการดูแลรักษาให้มีความสมบูรณ์ดี มีอาหารสะสมในต้นอยู่สูงในระยะก่อนถูกน้ำท่วมขัง จะมีความสามารถอยู่ได้นานมากกว่า ต้นไม้ผลที่มีการติดผลดกมากและภายหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะมีอาหารสะสมในต้นต่ำมาก หากถูกน้ำท่วมขังจะตายไปในระยะเวลาอันสั้นเมื่อเปรียบเทียบกับต้นที่สมบูรณ์กว่าในแปลงเดียวกัน

3. ระยะของการเจริญเติบโต ช่วงระยะที่มีการผลิใบอ่อนโดยเฉพาะในระยะใบพวง (เป็นระยะที่แผ่นใบขยายเต็มที่แล้ว แต่ใบยังมีลักษณะที่อ่อนนุ่ม) ต้นจะมีความอ่อนแอมากที่สุด เนื่องจากต้นได้นำเอาอาหารสะสมไปใช้ในการสร้างใบรอด้วย ทั้งนี้เพราะใบเป็นส่วนที่มีการใช้อาหารมากที่สุดในขณะที่ถูกน้ำท่วมขัง ดังนั้น การตัดแต่งกิ่งให้มีจำนวนใบลดน้อยลงในช่วงก่อนน้ำท่วมขังก็ย่อมสามารถที่จะช่วยยืดอายุต้นไปได้

4. อายุของต้นไม้ผล ต้นที่มีอายุน้อยหรือมีพุ่มต้นขนาดเล็กจะมีความทนทานได้น้อยกว่า นอกจากนี้ระดับความสูงของน้ำที่ท่วมขังก็มีบทบาทที่สำคัญด้วย หากส่วนของใบอยู่ใต้น้ำแล้วก็จะตายได้โดยง่าย

5. สภาพแวดล้อมที่ถูกน้ำท่วมขัง อุณหภูมิ ความเร็วลม รวมทั้งสภาพของน้ำที่ท่วมขังก็เป็นส่วนประกอบร่วมด้วย อุณหภูมิสูง ลมพัดจัดและน้ำนิ่งย่อมทำให้ความอยู่รอดของต้นไม้ผลสั้นลง

เอกสารประกอบการค้นคว้า

รวี เสรฐภักดี. 2540. ต้นไม้ผลในสภาวะถูกน้ำท่วมขังและแนวทางการแก้ไข, หน้า 9-20. ใน อุทกภัย : ผลกระทบต่อสวนไม้ผลและแนวทางแก้ไข. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

 

รวี เสรฐภักดี และธีระ ภู่หิรัญ. 2540. สภาวะน้ำท่วมสวนของ คุณพยงค์ ภู่หิรัญในปี 2539, หน้า 69-84. ใน อุทกภัย : ผลกระทบต่อสวนไม้ผลและแนวทางแก้ไข. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

หมายเลขบันทึก: 447678เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2011 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 08:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ยอดเยี่ยมอีกเช่นเคยครับอาจารย์ เป็นความรู้ที่ผมต้องเม็มเข้าสมองอีกเรื่องนึงงานนี้ฟรีไม่เสียตัง 55555 สุดยอดเลยครับฝากกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์รวีด้วยนะครับ โชคดีนะครับอาจารย์

                                                

                                   

ปล.รัฐบาลชุดนี้คงอิจฉาฝ่ายค้านกันน่าดู น่าจะมีนโยบายนวดฟรี(แผนโบราณ)เพื่อประชาชนบ้างนะครับ เห็นอาจารย์มีงานหนักคงเมื่อยน่าดู 555

สวัสดีครับอาจารย์ สามารถ ไม่ได้แวะมานานสบายดีน่ะท่าน

งานครบรอบ ๕ ปี สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน
๖ กันยายน ๒๕๕๔ ณ อาคารศูนย์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

 

 

เชิญชมกิจกรรมต่างๆ ภายในงานอาทิ เสวนา บรรบายพิเศษ นิทรรศการ ฝึกอบรมและบริการวิชาการ เชิญเลือกซื้อสินค้า OTOP และผลผลิตจากงานวิจัย จำอวดหน้าม่าน คณะโย่ง เชิญยิ้ม นิทรรศการและการแสดงดนตรี

รายละเอียดกิจกรรมต่างๆ

เสวนา บรรยายพิเศษ

  • •  ๑๐.๐๐ น.-๑๒.๐๐ น.เสวนาวิชาการ เรื่อง “โลจิสติกส์ทางการเกษตร

  • •  ๑๓.๓๐ น.-๑๕.๓๐ น. เสวนาวิชาการ เรื่อง ผลไม้แปรรูป สับปะรด มะละกอ ฝรั่ง

บริการวิชาการ

  • •  บริการตรวจสภาพรถ NGV
  • •  ตรวจวิเคราะห์ ดิน, น้ำ, จุลินทรีย์
  • •  วิเคราะห์คุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการของผลผลิต
  • •  จำหน่ายเมล็ดพืชพันธุ์ดี
  • •  วิเคราะห์คุณภาพน้ำอ้อย
  • •  ท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่อุทยานแมลงฯ

นิทรรศการ

  • • เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยขนาดเล็ก
  • • การจำแนกเซลล์ไลน์ของแมลงด้วยเทคนิคพีซีอาร์
  • • การเพาะเลี้ยงต้นกล้ากล้วยหอมโดยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
  • • การระบุสายพันธุ์ของยีสต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแอลกอฮอล์
  • • ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ของเนระพูสีไทยและปาหมี
  • • การผลิตต้นแฮพลอยด์และดับเบิลแฮพลอยด์ของพริกลูกผสม
  • • การสะท้อนแสงของปีกผีเสื้อ
  • • ถั่วฝักยาวไร้ค้างสายพันธุ์ CLGC30
  • • การเพาะเลี้ยงต้นกล้ากล้วยหอม
  • • ผลของกระบวนการผลิตต่อคุณภาพของปุ๋ยหมัก
  • • การควบคุมโรคแอนแทรคโนสของมะม่วงโดยเชื้อจุลินทรีย์
  • • การผลิตวัสดุปลูกจากเศษขยะ
  • • นิทรรศการ ๓ ถั่ว (ถั่วงู, ถั่วเหลืองฝักสด, ถั่วพู)
  • • เครื่องจักรกลสำหรับการผลิตไบโอดีเซล
  • • ถังหมักแก๊สชีวภาพ
  • • การผลิตมะนาวนอกฤดู
  • • การใช้จุลินทรีย์ PGPR กระตุ้นการเจริญเติบโตในอ้อย
  • • อ้อยพันธุ์กำแพงแสนและ Logistic อ้อย
  • • ความหลากหลายของแมลงศัตรูข้าวและชีววิทยาของตั๊กแตน
  • • โครงการพัฒนาศัตรูธรรมชาติ และสารสกัดจากพืช เพื่อควบคุมศัตรูพืช
  •  การประเมินคุณภาพมะละกอแบบไม่ทำลายด้วยเทคนิค NIRs
  • • การป้องกันสารเคมีตกค้างในมะพร้าว
  • • ทำอย่างไรไม่ให้ผลลองกองร่วงหลุดจากช่อ

ฝึกอบรม

  • • ๑๐.๐๐ น.-๑๐.๓๐ น. มะเขืออุ้มบุญ
  • • ๑๐.๔๐ น.-๑๑.๑๐ น. การเก็บรักษาตัวอย่างแมลงเพื่อการศึกษา
  • • ๑๑.๒๐ น.-๑๑.๕๐ น. การผลิตเตาชีวมวลขนาดเล็กสำหรับครัวเรือน
  • • ๑๓.๓๐ น.-๑๔.๐๐ น. การทำน้ำตาลงบ
  • • ๑๔.๑๐ น.-๑๔.๔๐ น. เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู
  • • ๑๔.๕๐ น.-๑๕.๒๐ น. การพัฒนาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืช
  • • ๑๕.๓๐ น.-๑๖.๐๐ น. ฟิล์มเคลือบเนื้อผลไม้บริโภคได้

บันเทิง
• ๑๘.๓๐ น.-๑๙.๓๐ น. จำอวดหน้าม่าน คณะโย่ง เชิญยิ้ม
• ๑๙.๓๐ น.-๒๑.๓๐ น. การแสดงดนตรี วงดุริยางค์ KU Wind แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

 

แจ้งความประสงค์เข้าร่วมอบรมและซื้อบัตรเข้าชมการแสดงได้ที่ คุณพรลภัส โทร. 034-281-090 ภายใน 3650
หรือ 081-943-3536 e-mail 
[email protected]
[email protected]

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท