ความมั่นคงทางอาหาร 34(แปลงนาสาธิต)


๕ กค. ๒๕๕๔ แม่แดงเกษตรกร บ้านใหม่อุดม อ.หนองบุญมาก โทรศัพท์มาบอกอาม่า แจ้งข่าวคืบหน้าว่า ฝ่ายแปลงนาสาธิตของสยามคูโบต้าภาคอิสาน จะเข้ามาปักป้ายแปลงนาสาธิตวันนี้ และจะนำกล้าข้าวมะลิ ๑๐๕ ที่เตรียมเพาะไว้ในแผ่นกะบะเพาะกล้าไว้แล้ว พร้อมนำมาปักดำด้วยเครื่องจักรปักดำ ในแปลงนาที่ทางเกษตรกร  เจ้าของนาเตรียมทำเทือกไว้พร้อมสำหรับใช้เครืองจักรปักดำ ซึ่งทางบริษัทคูโบต้านัดปักดำ วันที่ ๙ กค. ๒๕๕๔ เวลา ๙.๐๐ น. บ้านใหม่อุดม อ.หนองบุญมาก ขอเชิญชวนทุกคนที่สนใจทั้งเกษตรและคนทั่วไป ที่สนใจการทำนาอย่างมีคุณภาพ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะค่ะ  และ
กลับมาพัฒนารูปแบบ ระบบการทำนาใหม่ โดยใช้โครงสร้างทางสังคม ของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน
ทำนาอินทรีย์ มาดูวิธีการปักดำนา ที่อาม่าและน้องต้นกล้า (คุณสุภชัย ปิติวุฒิ) ชาวนาวันหยุดเป็นคนหนุ่มที่มีความมุ่งมั่นเหมือนอาม่า เพื่อนซี้ต่างวัย ที่ร่วมด้วยช่วยกัน แบ่งปันแลกเปลี่ยเรียนรู้ เพื่อพ้ฒนารูปแบบการทำนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และฟื้นฟูมิติทางสังคมการรวมกลุ่มทำนาแบบลงแขกผสมผสานเทคโนโลยี เป็นการลดต้นทุน เพิ่มผลิต เทคนิคต่างๆ จึงถูกนำมาพัฒนาต่อยอด เพื่อลดค่าใช้จ่าย จึงเริ่มตั้งแต่การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวอย่างมีประสิทธิภาพ มีการวางแผนเพาะข้าวในแผ่นเพราะกล้า เพื่อปักดำด้วยเครืองจักร ที่กำหนดระยะห่างระหว่างกอและแถวได้ ทำให้นาเป็นระเบียบสะดวกต่อการดูแล กำจัดวัชพืชและแมลง ฯลฯ นอกจากนั้นการใช้แหนแดงคลุมแปลงนา เพื่อป้องกันวัชพืช และเป็นปุ๋ยมีชีวิตช่วยเลี้ยงต้นข้าว และน้ำที่ใช้ในนาปริมาณก็น้อยมาก นอกจากนั้นยังมีวิธีแกล้งต้นข้าว เราช่วยเหลือพึ่งพากันมาตลอด นับตั้งแต่ น้องต้นกล้ามาเป็นสมาชิกของ G2K ต่างคนต่างชื่นชมการทำงานของกันและกัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมาตลอด ต่างฝ่ายต่างเติมเต็มความรู้ความเข้าใจ จากประสบการณ์จริง อาม่าส่งสารสะกัดสมุนไพรไปให้น้องต้นกล้ากำจัดหอยเชอรรี่ และสารจกำจัดแมลงในต้นข้าว น้องต้นกล้าส่งโรตารี่วีดเดอร์มาให้อาม่าใช้ เป็นสังคมแบ่งปันที่อาม่าชื่นใจมากค่ะ  จึงมีวันนี้ค่ะ วันที่บริษัทสยามคูโบต้ามาช่วยอาม่า ทำแปลงสาธิตนาดำด้วยเครื่องจักร และนำเทคนิคต่างๆ ที่พัฒนามาใช้ในการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่น้องต้นกล้าลงมือเป็นชาวนาวันหยุด และอาม่าก็เป็นชาวนาแปลงจิ๋ว…. มาสอนชาวนาทำนา สอนด้วยการลงมือทำและให้ความรู้ความเข้าใจทุกขั้นตอน อาม่าจะติดตามและรายงานผลให้ทุกคนทราบเป็นระยะๆ ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 447578เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2011 14:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ชอบบันทึกนี้มากเลยค่ะ เพราะว่างานที่พวกเราทำก็คือ

การสร้างความสามารถให้ชุมชนบนพื้นที่สูงให้สามารถ

พึ่งปัจจัยภายนอกน้อยที่สุด..จะขอมาแลกเปลี่ยนบ้างนะค่ะ

ขอบคุณค่ะน้องมะปรางที่ให้ทั้งดอกไม้ และชอบบันทึกนี้ค่ะ

ยินดีค่ะ น้องดอกหญ้าน้ำ อาม่ากำลังพยายามสร้างทีมงานที่เข้มแข็งผลิต สารจากพืชมาใช้ทดแทนสารเคมี สำหรับใช้ในการทำการเกษตร ที่อยู่ในรูปแบบที่ใชสะดวก และปลอดภัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมค่ะ

ขอโทษนะค่ะ คือ เพิ่งเริ่มเข้ามาใช้งาน G2K อย่างจริงจัง อยากรู้ว่าทำไมต้องตั้งชื่อบันทึกว่า "ความมั่นคงทางอาหาร 34" แสดงว่ามีบันทึกเรื่อง ความมั่นคงทางอาหาร ก่อนหน้านี้มาแล้วใช่ไหมค่ะ..

อ๋อ..แวะเข้าไปดูแล้วค่ะ เข้าใจแล้วว่าตัวเลขที่ต่อท้ายชื่อบันทึกหมายถึงอะไร ตอนนี้จะยอ้นกลับไปอ่านบันทึกก่อนหน้านี้ค่ะ น่าสนใจจริง ๆ

ขอบคุณค่ะ น้องดอกหญ้าน้ำ ที่ให้ความสนใจ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ คือความมั่นคงทางอาหาร ในมุมมองของอาม่า คือภูมิปัญญาที่จะรักษาแหล่งผลิตอาหารน้ำ ให้ยั่งยืน คือพยายามรักษาความสมดุลย์ของแหล่งผลิตอาหาร ให้พอเพียงกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น อาม่าจะมองจากจุดเล็กๆ หากเราสร้างความมั่นคงทางอาหาร ในหน่วยเล็กที่สุดคือระดับครอบครัว หากทุกครอบครัวกินอิ่มนอนอุ่น ครอบครัวก็มีสุข หากทุกครอบครัวในชุมชนมีความสุข ชุมชนก็จะมีความสงบสุข เมื่อมีกำลังผลิตที่มาก ก็สามารถผลิตเพื่อการขายเพิ่มรายได้ และสามารถเป็นแหล่งผลิตอาหาร เพื่อขายให้กับแหล่งอื่นๆที่ ไม่มีศักยภาพที่จะเพาะปลูกได้ เช่นชุมชนเมือง เลี้ยงคนเมือง ในเมืองที่เป็นภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรม ภาคเศรษฐกิจ ฯลฯ

เมื่อพิจารณาตำแหน่งที่ตั้งลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศเรา เป็นชัยภูมิทางธรรมชาติที่ดี ที่สุดประเทศหนึ่ง ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นเรามีแสงแดดตลอดทั้งปี ความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก นอกจากนั้นเป็นศูนย์กลางคมนาคม เรามีแผ่นดินติดต่อกับนานาประเทศภายในทวีปบนผืนแผ่นดินใหญ่ เรามีแผ่นดินติดทะเลทั้งสองด้านทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวะนตกติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิก และอินเดีย เราเป็นศูนย์กลางติดต่อทางอากาศ ประกอบด้วย เราเป็นประเทศอู่ข้าวอู่น้ำของโลกเราส่งข้าว ไปเลี้ยงประชากรโลก มานานแล้ว เรากำลังจะเป็นครัวของโลก ?? แต่ถ้าประชากรส่วนใหญ่ของประเทศขาดข้าวกินก็น่าสลดใจยิ่ง อาม่าจึงสร้างความมั่นคงทางอาหารขึ้นในระดับชุมชน โดยให้ความความรัก ความรู้ความเข้าใจในการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และดีต่อสุขภาพผู้ผลิตเข้าใจ มนุษย์เป็นผู้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อาม่าจะต้องดึงองค์ตวามรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชนที่ทำการเกษตรธรรมชาติ แบบดั้งเดิมมาปรับปรุงพัฒนา ผสมผสานเทคโนโลยี และวิทยาการใหม่ๆ ปรับให้เหมาะกับภูมิสังคมของแต่ละพื้นที่ ไม่ใช่แค่ข้าวเท่านั้น ยังมี พืชผักผลไม้ และพืชสมุนไพร โดยน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจมาเป็นหลักการในการทำงาน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าทุกคนทำได้ แล้วลงมือทำด้วยกัน มีปัญหาอะไรก็จะร่วมด้วยช่วยกัน ไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นเรามีอาหารกิน อย่างเพียงพอค่ะ

อาจจะขอคำแนะนำเพิ่มเติมและจะมาเล่าให้เพื่อแลกเปลี่ยนกันนะคะอาม่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท