ขอบคุณค่ะ ตั้งใจเปิดประเด็น
เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ
แต่น่าเสียดายที่ให้แค่ดอกไม้ ไม่ได้แตกความคิดเห็นและประสบการที่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร แนวความคิดภาคราชการยังคงย่ำอยู่กับที่จัดประชุมสัมนาระดมความคิด จากทุกภาคส่วนและประชาชน(ที่เลือก) แต่คือการเชิญมาฟังวิทยากรพูดแบบเดิม(ตัวกูของกู) ประมาณ เก้าสิบเปอร์เซนต์ ฟังผู้เข้าร่วมประชุม(นักพูดที่หน้าเดิมๆ) แล้วก็หมดเวลา สรุปผลระดมความคิด แล้วมาเสนอผลงาน แล้วปิกงานจบ ......อิอิ
สรุป
ขอขอบคุณทุกๆ กำลังใจที่มอบดอกไม้ให้ค่ะ
ขอบคุณแฟนพันธุ์แท้ ที่ติดตามบันทึกของอาม่ามาตลอดค่ะ
กราบนมัสการ ขอบพระคุณเจ้าค่ะ
มีปัญหาทางเทคนิคเล็กน้อยค่ะ ลิงค์อันแรกมีปัญหาเข้าชมไม่ได้ค่ะ ให้เข้าลิงค์อันถัดมาค่ะ แล้วมีกุหลาบและดอกไม้เดือนธันวาคมเชิญชมตามลิงค์ค่ะ
ขอบคุณทุกๆ คนค่ะ อยากดูดอกกุหลาบบ้านอาม่าเพิ่มเติมแถมดอกไม้ต้นไม้อื่นได้ ที่http://www.facebook.com/media/set/?set=a.297987896903931.67754.100000781684301&type=1&l=92c1129cef ค่ะ
ขอบคุณค่ะ สวัสดีปีใหม่
ขอให้ ดร. พจนา มีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปค่ะ
อาม่าบอกได้เลยว่าต้องชอบแหนแดงมากกว่าแน่นอน ด้วยเหตุผลก็มันอร่อย(มีโปรตีนสูง)นุ่มปากด้วยค่ะ
ข้าวเมล็ดสวยด้วยคุณภาพย่อมเลือกได้ตามใจปรารถนา ด้วยฝีมือฝีมือชาวนาคุณภาพ เป็นต้นแบบชาวนาคุณภาพที่คาดหวังไว้ค่ะ
ผักหวานบ้านค่ะปลูกเป็นรั้วยิ่งเด็ดยิ่งแตกไม่ต้องตัดแต่งให้เปลืองแรง เอามทำกับข้าวกินสบายๆ อย่าลือปลูกบวบ ปลูกกระชายปลูกใบแมงลัก ใบโหรพา
เล็บครุฑปลูกทำรั้วก็สวยเพราะมีใบสวยงามเอามาซุบแป้งทอด หรือใส่ในกุ้งทอดจะหอมและอร่อยค่ะ
โดยทั่วไปน่าปลูกไม้ใหญ่(พืชทุกชนิดเป็นสมุนไพรอยู่แล้วค่ะ)รอบพื้นที่ล้อมที่แซมด้วยกล้วย ไผ่ ขนุนมะม่วงเงาะมังคุด ทุเรียนตามที่ชอบอย่างต้นสองต้นจะได้มีความหลากหลาย ปลูกสมุนไพรที่ต้องการล่มถัดเข้ามา จากนั้นก็ปลูกพืชผักทุกอย่างที่กิน มะกูดมะนาวมะพร้าว ส้มโอ ฟักแฟงแตงกวา ถั่วพลูถั่วพร้า ถั่วฝักยาวผักกินใบตามที่ชอบ พริก ขิง ข่า ขมิ้น ตะไคร้ ปลูกผักหวาน/กะเพรา/เล็บครุฑฯลฯ เป็นรั้วบ้าน เลือกเาตามใจ ทำใจตามใจตัวเองดีที่สุดค่ะ
แต่อยากให้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับแร่ใยหินด้วยค่ะตามที่ลิงค์ให้ ในคำตอบข้างบน และเห็นด้วยในการใช้แ่ผ่นพลาสติกแผ่นยางกันน้ำได้ มาช่วยในพื้นที่เล็กๆได้ แต่ไม่เหมาะกับพื้นที่ใหญ่ค่ะ พื้นที่น้ำท่วมไม่ปัญหาค่ะ ปลูกข้าวบนแพรอยน้ำ(ราชธานีอโศก)ได้ค่ะ ในที่แห้งแล้งก็มีวิธีการทุกปัญหามีทางแก้ ขอให้เข้าใจพื้นที่ เข้าใจข้าว การบริหารจัดการได้ค่ะ แต่ที่สำคัญคือลดต้นทุนเพิ่มผลิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมค่ะ