การสืบพันธ์ของพืชดอก


การสืบพันธ์ของพืชดอก

การสืบพันธุ์ของพืชดอก


ลักษณะของพืชมีดอก

    พืชมีดอก หมายถึง พืชที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะออก ดอก เพื่อใช้ในการสืบพันธุ์ เช่น เงาะ ทุเรียน
กุหลาบ มะลิ บัว กล้วยไม้ พืชดอกบางชนิดมีดอกขนาดใหญ่สามารถมองเห็นชัดเจนเช่น ดอกผลไม้ต่าง ๆ
พืชบางชนิดมีดอกขนาดเล็กมาก จนมองเกือบไม่เห็นส่วนประกอบต่าง ๆภายในดอก เช่น จอก แหน
สีของดอก ก็จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของพืช แม้แต่พืชชนิดเดียวกัน แต่ต่างพันธุ์ก็ให้ดอกที่มีลักษณะ
และสีที่แตกต่างกันได้

 พืชมีดอก ขึ้นอยู่ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆได้ทั่วไป บางชนิดลอยอยู่ที่ผิวน้ำ เช่น ผักตบชวา บัว จอก
และแหน บางชนิดจมอยู่ในน้ำ เช่น สาหร่ายหางกระรอก บางชนิดชอบขึ้นอยู่ตามที่ชื้นแฉะ เช่น ผักบุ้ง
และผักกระสัง บางชนิดขึ้นในที่แห้งแล้งเช่น กระบองเพชร แต่ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่ตามดินทั่ว ๆไป

      เมื่อพืชมีดอกเจริญเติบโตอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมจนเจริญเติบโตเต็มที่ แล้วจึงจะสร้างดอก
ซึ่งดอกของพืชมีดอกแต่ละชนิดจะมีรูปร่าง ขนาด สี และส่วนประกอบแตกต่างกันออกไป

ดอกของพืชจำแนกตามการเกิด

   ดอก ของพืชเราสามารถจำแนกตามการเกิดออกได้ 2 ชนิด คือ

1. ดอกเดี่ยว คือ ดอกที่โผล่ขึ้นมาจากก้านชูดอกเพียงก้านเดียว เช่น ดอกบัว
ดอกกุหลาบ ดอกชบา ดอกดาวเรือง ดอกตานตะวัน ฯลฯ

  

2. ดอกช่อ คือ ดอกหลายๆ ดอกที่โผล่ออกมาจากก้านดอกเดียวกัน เช่น ดอกเข็ม
ดอกกล้วยไม้ ดอกเงาะ ดอกมะม่วง ดอกทุเรียน ฯลฯ

 

    

 

การสืบพันธุ์ของพืชมีดอก

 

        

พืชมีดอก จะอาศัย ดอก เป็นอวัยวะในการสืบพันธุ์ เรียกว่า การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

การสืบพันธุ์ของพืชมีดอก
        ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 2 ขั้นตอน คือ
        1. การถ่ายละอองเรณู
        2. การปฏิสนธิ
        นอกจากนี้พืชมีดอกยังสามารถสืบพันธุ์โดยใช้วิธีอื่นที่ไม่ต้องใช้ดอก เรียกว่า
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เช่น ใช้ กิ่ง ใบ ราก ลำต้น

องค์ประกอบของดอก

ดอกของพืชเป็นส่วนที่พืชใช้ในการสืบพันธุ์ ดอกของพืชมีส่วนประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน คือ
กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย

 

 

 

1. กลีบเลี้ยง เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดของดอก มักมีสีเขียวคล้ายใบทำหน้าที่ี่ห่อหุ้มส่วนที่อยู่ข้างในของดอกไว้ ในขณะที่ดอกยังอ่อนอยู่ หรือที่ยังเป็นดอกตูม เพื่อป้องกันอันตรายจากแมลง และศัตรู

 

 

2. กลีบดอก เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้าไป มักมีสีสันสวยงามบางชนิดมีกลิ่นหอม ซึ่งสีสันที่สดใส และกลิ่นหอมของดอกไม้จะช่วยล่อแมลงให้มาตอม เพื่อช่วยในการผสมเกสร 

3. เกสรตัวผู้ เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้าไป เป็นอวัยวะสร้างเซลล์ สืบพันธุ์ตัวผู้ มักมีหลายอัน เกสรตัวผู้แต่ละอันประกอบด้ว

3.1. ก้านเกสรตัวผู้ หรือก้านชูอับเรณู มีลักษณะเป็นก้านยาวๆ ทำหน้าที่ชูอับ

3.2. อับเรณูมีลัษณะเป็นกระเปาะ เป็นแหล่งสร้างและเก็บ"ละอองเรณู"ซึ่งภายในละอองเรณูจะมี" เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ " อยู่

 

 

 

4. เกสรตัวเมีย เป็นส่วนที่อยู่ในสุด คือตรงกลางดอก ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ตัวเมีย ที่ปลายยอดเกสรตัวเมียจะมีลักษณะเป็นขนและมีน้ำเหนียว ๆ เคลือบอยู่ เพื่อช่วยในการดักจับละอองเรณู และในน้ำเหนียว ๆ นี้จะมี " น้ำตาล "เป็นองค์ประกอบอยู่ จะช่วยกระตุ้นให้ละอองเรณูเกิดการงอกหลอด ซึ่งเกสรตัวเมียประกอบด้วย
4.1. ยอดเกสรตัวเมีย อยู่ตรงส่วยบนสุดของเกสรตัวเมีย เป็นส่วนรองรับละอองเรณูของเกสรตัวผู้
4.2. ก้านชูเกสรตัวเมีย ทำหน้าที่ชูเกสรตัวเมีย
4.3. รังไข่ อยู่ส่วนล่างสุดของเกสรตัวเมีย มีลักษณะเป็นกระเปาะ ภายในมี " ไข่อ่อน " หรือ " ออวุล " ซึ่งมี " เซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย " อยู่

ลักษณะดอกของพืช

           ดอกไม้บางชนิดมีองค์ประกอบครบทั้ง 4 ส่วน แต่ดอกไม้บางชนิดมีองค์ประกอบไม่ครบทั้ง 4 ส่วน
ทำให้เราสามารถแบ่งประเภทของพืชมีดอกได้ โดยใช้ลักษณะของดอกเป็นเกณฑ์ ได้ดังนี้
         
 1. ใช้ส่วนประกอบของดอกเป็นเกณฑ์ ได้แก่

 

ดอกสมบูรณ์

1.1. ดอกสมบูรณ์  หมายถึง  ดอกที่มีองค์ประกอบครบ 4 ส่วน คือ กลีบดอก
กลีบเลี้ยง เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย ได้แก่ ดอกพริก ดอกกุหลาบ ดอกชบา
ดอกต้อยติ่งดอกมะเขือ ดอกพู่ระหง ดอกผักบุ้ง ดอกบานบุรี ดอกมะลิ
ดอกชงโค ดอกอัญชัน ดอกมะแว้ง ดอกแค ดอกการเวก

ดอกไม่สมบูรณ์

1.2. ดอกไม่สมบูรณ์  หมายถึง  ดอกที่มีองค์ประกอบไม่ครบ 4 ส่วน ได้แก่
ดอกมะพร้าว ดอกมะระ ดอกบวบ ดอกฟักทอง ดอกตำลึง ดอกมะละกอ ดอกข้าว
ดอกข้าวโพด ดอกตำลึง ดอกฟักทอง ดอกจำปา ดอกจำปี ดอกบานเย็น ดอกเฟื่องฟ้า
ดอกมะยม ดอกมะเดื่อ ดอกตาล ดอกบวบ ดอกหญ้า ดอกแตงกวา

 

2. ใช้เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเป็นเกณฑ์ ได้แก่

 

ดอกสมบูรณ์เพศ 

2.1. ดอกสมบูรณ์เพศ  หมายถึง ดอกที่มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่
ในดอกเดียวกัน ได้แก่ ดอกพู่ระหง ดอกบัว ดอกกุหลาบ ดอกบัว ดอกชงโค
ดอกถั่ว ดอกมะเขือ ดอกพริก ดอกกล้วยไม้ ดอกมะม่วง ดอกชบา ดอกข้าว
ดอกต้อยติ่ง ดอกจำปา ดอกมะลิ เฟื่องฟ้า ดอกอัญชัน ดอกแค ดอกผักบุ้ง 

 

 

ดอกไม่สมบูรณ์เพศ

2.2. ดอกไม่สมบูรณ์เพศ  หมายถึง  ดอกที่มีเกสรตัวผู้ หรือเกสรเมีย
เพียงอย่างเดียวในหนึ่งดอก โดยดอกที่มีเฉพาะเกสรตัวผู้ เรียกว่า ดอกตัวผู้
ส่วนดอกที่มีเฉพาะเกสรตัวเมีย เรียกว่า ดอกตัวเมียได้แก่ ดอกบวบ ดอกฟักทอง
ดอกมะละกอ ดอกข้าวโพด ดอกมะยม ดอกตำลึง ดอกมะพร้าว ดอกตาล ดอกเงาะดอกฟักทอง ดอกบวบ ดอกแตงกวา ดอกมะยมดอกมะระ ดอกหน้าวัว ดอกมะเดื่อ

การสืบพันธุ์ของพืชมีดอกแบบอาศัยเพศ


                เมื่อพืชมีดอกเจริญเติบโตเต็มที่จะเริ่มออกดอก ภายในดอกจะมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์
โดยเกสรตัวผู้สร้างเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้ หรือละอองเรณูเก็บไว้ใน อับละอองเรณู ส่วนเกสรตัวเมียจะมีรังไข่
ซึ่งภายในรังไข่จะมีไข่ ( ออวุล ) ทำหน้าที่เก็บเซลล์สืบพันธุ์ตัวเมีย หรือ ไข่อ่อนเอาไว้ การสืบพันธุ์ของ
พืชมีดอกแบบอาศัยเพศ มีลำดับ 2 ขั้นตอน คือ

1. การถ่ายละอองเรณู 

 

 

 

 

2. การปฏิสนธิ

การถ่ายละอองเรณู

                 การถ่ายละอองเรณู คือการที่ละอองเรณูของเกสรตัวผู้ไปตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย
ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ 3 รูปแบบ คือ


                   1. การถ่ายละอองเรณูภายในดอกเดียวกัน มักเกิดกับดอกสมบูรณ์เพศที่เกสรตัวผู้
อยู่กว่าเกสรตัวเมีย

 

2. การถ่ายละอองเรณูข้ามดอก แต่อยู่ภายในต้นเดียวกัน

3. การถ่ายละอองเรณูข้ามดอก และอยู่คนละต้นกัน มักเกิดกับดอกสมบูรณ์เพศ
ที่เกสรตัวผู้อยู่ต่ำกว่าเกสรตัวเมีย ซึ่งไม่เอื้อให้เกิดการถ่ายละอองเรณูภายในดอกเดียวกัน และเกิด
กับดอกไม่สมบูรณ์เพศซึ่งมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่คนละต้นกัน


 

ปัจจัยที่ช่วยในการถ่ายละอองเรณู


            ปัจจัยที่ช่วยในการถ่ายละอองเรณู เพื่อให้พืชมีดอกเกิดการปฏิสนธิ สร้างผลและเมล็ด
ในการสืบพันธุ์ ได้แก่

           1. ลม เป็นตัวช่วยพัดพาละอองเรณูให้ไปตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย มักเกิดกับดอกที่มี
ขนาดเล็ก มีน้ำหนักเบา ไม่มีกลิ่น และมีเป็นดอกจำนวนมาก เช่น ดอกของพืชตระกูลหญ้าชนิด
ต่าง ๆ

 

 


   2. สัตว์ ได้แก่ แมลง ( ผึ่ง ผีเสื้อ ) นกบางชนิด ค้างคาวบางชนิด เป็นตัวช่วยให้เกิด
การถ่ายละอองเรณูจากดอกหนึ่งไปยังอีกดอกหนึ่งได้ มักเกิดกับที่มีสีสวย มีกลิ่นหอม หรือ
มีต่อมน้ำหวาน ซึ่งเป็นตัวล่อให้สัตว์เหล่านี้เข้าหา

 

3. น้ำ อาจเป็นน้ำที่เรารดให้แก่พืชหรือน้ำฝนที่ตกลงมา จะเป็นตัวพาละอองเกสรตัวผู้
จากดอกที่อยู่ด้านบนให้ไปตกลงบนยอดเกสรตัวเมียของดอกที่อยู่ด้านล่างได้

 

4. คน ทำการถ่ายละอองเรณู เพื่อให้พืชเกิดการผสมพันธุ์ และได้พืชที่มีลักษณะพันธุ์ดี
ตามที่ต้องการ

 

การปฏิสนธิ

               การปฏิสนธิ คือ การที่เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้เข้าผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย โดยหลังจากที่ี
ละอองเรณู ตกลงบนยอดเกสรตัวเมียแล้ว ละอองเรณูจะ งอกหลอด แทงลงไปในก้านเกสรตัวเมีย จนถึง
ไข่อ่อน ( ออวุล ) ที่อยู่ภายในรังไข่ ภายในหลอดละอองเรณูจะมีเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้อยู่ ซึ่งจะเข้ามาไป
ผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (เซลล์ไข่ ) ที่อยู่ในไข่อ่อนโดยผ่านทางรูเปิดที่อยู่ข้างใต้ ได้เป็นเซลล์ใหม่
อยู่ภายในไข่อ่อน ( เซลล์ใหม่ที่ได้ก็ คือเซลล์ที่จะเจริญเป็นต้นพืชต้นใหม่ )

 

การปฏิสนธิ

 

การเปลี่ยนแปลงของดอกหลังปฏิสนธิ

             หลังจากการปฏิสนธิ ยอดและก้านชูเกสรตัวเมียจะเหยี่วลง กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมียก็จะแห้งแล้วร่วงหลุดไป ส่วนรังไข่ และ ออวุล หรือไข่ จะเจริญเติบโตต่อไป โดย รังไข่
จะเจริญกลายเป็น ผล ส่วน ออวุล หรือไข่ จะเจริญไปเป็น เมล็ด ซึ่งภายในเมล็ดจะเก็บต้นอ่อน และ
อาหารสะสมไว้ภายใน เพื่อเกิดเป็นต้นใหม่

                   เมื่อเมล็ดพืชแพร่กระจายไปในที่ต่าง และไปตกในที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการงอก
ของเมล็ด เมล็ดก็จะงอกเป็นต้นใหม่ต่อไป วิธีนี้ทำให้พืชดอกที่อยู่ตามธรรมชาติสามารถแพร่ได้ โดยไม่
สูญพันธุ์ไป


 

การสืบพันธุ์ของพืชมีดอกแบบไม่อาศัยเพศ

                  นอกจากพืชมีดอก ใช้วิธีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศแล้ว พืชมีดอกยังใช้วิธีการสืบพันธุ์ โดยไม่ต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์ หรือไม่ต้องอาศัยการสร้างเมล็ดได้อีกด้วย วิธีการสืบพันธุ์แบบนี้ เรียกว่า
การสืบพันธุ์แบบไม่ต้องอาศัยเพศ เช่น การแตกหน่อ

 

 

นอกจากนี้เรายังนำส่วนต่าง ๆ ของพืชมีดอก เช่น กิ่ง ตา ยอด ใบ ลำต้น หัว ราก มาใช้ในการขยายพันธุ์

 

 

 

 

 

 

 

การขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศโดยการตอนกิ่ง

การตอนกิ่ง

            การตอนกิ่ง เป็นการขยายพันธุ์พืช โดยการทำให้กิ่งเกิดรากขณะยังไม่ได้ตัดกิ่งออกจากต้นเดิม

อุปกรณ์ที่ใช้ในการตอนกิ่ง

               1. มีด
               2. ถุงพลาสติกขนาด
               3. เชือก
               4. ขุยมะพร้าว หรือดินผสมขุยมะพร้าว คลุกน้ำให้ชุ่มพอประมาณ

การตอนกิ่ง มีวิธีการดังนี้

               1. คัดเลือกกิ่ง พอเหมาะ ตั้งตรง ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป

 

2. ควั่นรอบ ๆ กิ่ง ทั้งบนและล่าง โดยให้รอยควั่นหว่างกัน 1 นิ้ว แล้วลอกเปลือกระหว่างรอยควั่นออก
 

 

3. ใช้สันมีดขูดเนื้อเยื่อลำเลียงอาหารระหว่างรอยควั่นออกให้หมด


4. นำขุยมะพร้าวหรือดินผสมขุยมะพร้าว คลุกน้ำให้ชุ่มใส่ถุงอัดให้แน่น กรีดข้างยาวถุงตลอดให้ลึก
                  ประมาณครึ่งถุง นำไปสวมตรงเหนือเล็กน้อยรอยควั่น แล้วมัดด้วยเชือกให้แน่น


 

5. นำไปสวมตรงเหนือเล็กน้อยรอยควั่น แล้วมัดด้วยเชือกให้แน่น


 

6. ดูแลรดน้ำประมาณ 2 - สัปดาห์ เมื่อเห็นรากงอกยาวพอสมควร เริ่มแก่เป็นสีเหลือง สีน้ำตาล ปลายราก
                 มีสีขาว  จึงตัดบริเวณใต้รอยควั่น นำเพาะชำในถุงหรือภาชนะ เพื่อรอการปลูกต่อไป

 การติดตา

       การติดตา เป็นการขยายพันธุ์พืชโดยการใช้ตาของพืชพันธุ์ดีไปต่อหรือติดกับพืชพันธุ์พื้นเมือง
พืชพันธุ์ดี ได้แก่ พืชทีมีดอกหรือผลดี เช่น มีดอกใหญ่ สีสวยงาม หรือมีผลใหญ่ เนื้อมาก
รสอร่อย ถูกปาก แต่ไม่ค่อยทนทานต่อโรค และสิ่งแวดล้อม
พืชพันธุ์พื้นเมือง ได้แก่ พืชที่ทนทานต่อโรค และสิ่งแวดล้อม
อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตา
          1. มีด
               2. เทปพลาสติกใส
               3. ตาพืชพันธุ์ดี
               4. ต้นตอพันธุ์พื้นเมือง

การติดตา มีขั้นตอน ดังนี้
          1. คัดเลือกตาพันธุ์ดี และต้นพันธุ์พื้นเมืองที่จะนำมาติดตา
2. ใช้มีดคม ๆ กรีดต้นตอ
 3. ใช้ปลายมีดเปิดเปลือกไม้ เฉือนตาจากกิ่งพันธุ์ออกมา แล้วลอกเนื้อไม้ออกจากตา
ที่เฉือนออกจากกิ่ง
4. นำตาของต้นพันธุ์ดีมาเสียบเข้าไปในรอยกรีดของต้นตอพื้นเมือง
5. ใช้แผ่นพลาสติก หรือ ผ้าชุบเทียนไขพันให้แน่น โดยพันจากข้างล่างขึ้นข้างบนเพื่อป้องกันน้ำเข้าตา เพราะอาจทำให้ตาเน่าได้ และควรเปิดส่วนของตาไว้
6. ทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ เมื่อตาติดกับต้นพันธุ์พื้นเมืองแล้วแตกกิ่งก้านออกมาจึงตัดยอดของต้นตอทิ้ง

หมายเลขบันทึก: 447556เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2011 12:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท