อะไรคือ "ความน่าเชื่อถือ...?"


อะไรคือ "ความน่าเชื่อถือ"...?

 

ใครจะบอกหรือยืนยันได้ว่า อะไรหรือข้อความใด "เน่าเชื่อถือ"...!

คนที่จะยืนยันหรือบอกว่าสิ่งใดน่าเชื่อถือ คน ๆ นั้นน่าเชื่อถือหรือไม่...?

การอ้างอิง การเอ่ยอ้าง บุคลากรทางวิชาการผู้มีชื่อเสี่ยง เอกสารตำราที่เขียนและขายดีลำดับต้น ๆ ของโลก สิ่งนั้นเรียกว่า "ความน่าเชื่อถือ...?"

ภูมิปัญญาไทย จะให้ใครมากำหนดว่า ถูกหรือผิด สิ่งนั้นน่าเชื่อ น่าถือ...?

Tacit knowledge ที่เกิดขึ้นแต่ละวัน Story telling ที่ผันผ่านในทุกย่างก้าวจะต้องให้ใครมายืนยัน

ถ้าหากจะรอแต่ว่า สิ่งที่เราคิดนั้นจะถูกหรือผิดก็ต้องหาหลักการหรือทฤษฎีมาเทียบให้ใกล้เคียง ถ้ามีก็ถูก ไม่มีก็ผิด

ถ้าข้อเขียนมีทฤษฎีมาเทียบก็จัดว่าเป็นงานเขียนชั้นดี ถ้าไม่มีก็จัดว่าเป็นงานเขียนชั้นเลว

ถ้าระบบเป็นอย่างนี้ก็ต้องตัดคำว่า ประสบการณ์ และ Tacit knowledge ของจากสารบัญของคำว่า "ความน่าเชื่อถือ"

ความน่าเชื่อถือกำหนดเราให้อยู่ในกรอบ ถ้าหากห่วงแต่ทฤษฎีใครจะกล้าเดินออกนอกกรอบ

องค์ความรู้ที่พ่อแม่ปู่ย่าทำมาถึงเลือนหาย ก็เพราะท่านไม่มีนักวิชาการหน้าไหนไปรองรับ ภูมิปัญญาของท่านจึง "ไม่น่าเชื่อถือ"

อินเตอร์เนท เป็นเครื่องมือที่เราสามารถใช้สื่อสารความรู้แนวคิดได้อย่างรวดเร็ว ว่องไว ถ้าใครสักคนนึงมีความต้องการที่จะสื่อสารสิ่งที่ตนได้คิด ได้ค้น ได้พบในวันนี้ ซึ่งเกิดจากสองมือและสองเท้า เขาควรจะมี "โอกาส" นั้นหรือไม่...?

ใครสักกี่คนจะมีความสามารถในการค้นหาและอ้างอิง เหมือนกับนักวิชาการที่เรียน Research Methodology ที่ถูกอาจารย์ที่ปรึกษานั่งจี้ตรวจแต่ "บรรณานุกรม"

ระบบการวิจัยไทย จึงสร้างคนให้เก่งในการเขียน Wording พิสูจน์ตัวอักษร และอ้างอิงโน่น อ้างอิงนี่

สุดท้าย สิ่งที่ถูกอ้างอิงต่อ ๆ กันมานั้น "น่าเชื่อถือ"

แต่สิ่งที่ออกมาจากตัวออกมาจากใจนั้น "ไม่น่าเชื่อถือ"

ความเป็นไปได้ของงานเขียนกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ที่คำนำหน้านามของผู้เขียนคนนั้น ระบบการศึกษาไทยและระบบการศึกษาโลกในความเป็นจริงเชื่อไหมว่าคนมีคำหน้านามอย่างนี้อย่างนั้นมี "ปัญญา" น่าเชื่อถือ...?

 

คนธรรมดาก็เลยแห่กันไปเรียนบัณฑิตศึกษา เพื่อหวังว่าจะเป็นคนไม่ธรรมดาที่มีคำนำหน้านามว่า ดร.

ระบบการเรียน ดร. ทำให้คนมี "ปัญญา" จริงหรือ...?

คนที่ทำงานจริง มีประสบการณ์จริงท้ายที่สุดก็เป็นพวก "ปัญญาชนชั้นสอง" สู้นักวิชาการที่เขียนงานแล้วอ้างอิงเก่ง ๆ ไม่ได้ ทำหรือไม่เคยทำไม่เป็นไร คำนำหน้านามหรู เขียนดี มีอ้างอิง

สุดท้ายระบบการศึกษาและวิชาการก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา ที่ทรงคุณค่าด้วยคำนำหน้าและ "บรรณานุกรม..."

1 กรกฎาคม 2554

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

 

หมายเลขบันทึก: 446880เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2011 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

มาขอบคุณบันทึกนี้

ตรงใจพอดี

เนื่องจากกำลังจะส่งนวตกรรมชิ้นหนึ่งที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน

ทำทรายตะไคร้หอมไล่ยุง

เคยนำเสนอไปเวทีหนึ่ง ก็ถูกนักวิชาการตีเกือบล่วงค่ะ

เขาก็จะเอาผลพิสูจน์ ทดลอง ห้องแลบ ฯลฯ

เลยถามย้อนไปว่า ต้นตอมาจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่เขาใช้กันมาจนได้ผล

แต่มาปรับปรุงให้ทันสมัย และดีขึ้นเท่านั้นเอง

แล้วภูมิปัญญาชาวบ้านน่าเชื่อถือไหม?

.........

นี่เขาก็จะให้ส่งเข้าประกวดอีก

แต่ขี้เกียจไปนั่งให้เขาโจมตีค่ะ

เสียดายความรู้สึกดีๆ ที่คิดค้นมา

ขอบคุนที่ให้ข้อมูลค่ะ :D

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท