ความน่าเชื่อถือของข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ต


ข้อมูลที่ผมพบจำนวนมาก ไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้ว่าถูกต้อง ไม่มีการยืนยัน และหลายๆอย่างขัดแย้งกับความเป็นจริง

เมื่อวานนี้ ผมได้ใช้เวลาสืบค้นข้อมูลในหลายมิติ หลายประเด็นที่สามารถสืบค้นได้ในระบบอินเทอร์เน็ต

ผมได้พบเรื่องที่ไม่คาดคิดว่จะสาหัสขนาดนี้

กล่าวคือ

มีการนำข้อมูลที่ไม่จริง มานำเสนออย่างเป็นเรื่องเป็นราว

  • ข้อมูลที่ผมพบจำนวนมาก ไม่มีหลักการ ไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้ว่าถูกต้อง หรือเป็นไปได้
  • ไม่มีการยืนยัน หรือจุดอ้างอิง และ
  • หลายๆอย่างขัดแย้งกับความน่าจะเป็น หรือความน่าจะจริง
  • บางคนอ้างประสบการณ์ที่ยาวนาน แต่ปราศจากการตรวจสอบว่าทั้งข้อมูล และสิ่งที่เกิดขี้นนั้น จริงหรือไม่จริง

บางที หรือ จำนวนมาก ลอกตามๆกันมา

ทำให้ดูเหมือนว่า ข้อมูลตรงกัน มีคนเห็นด้วย สอดคล้องกัน

ผมจึงเกิดความกังวลกับเด็กรุ่นใหม่ๆ หรือแม้กระทั่งคนทีเริ่มเรียนสิ่งใหม่ๆ ที่ตนยังไม่เคยรู้มาก่อน ที่ไม่มีประสบการณ์มากพอที่จะแยกแยะ หรือตัดสินใจว่า สิ่งใดควรเชื่อ สิ่งใดไม่ควรเชื่อ

ผมไม่แน่ใจว่า เราจะสร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร

หรือปล่อยไปให้แต่ละคนคิดเอาเอง เสี่ยงเอาเอง ตามบุญตามกรรมครับ

หรือว่า...ผมกังวลเกินเลยไปเอง

ขอให้เป็นเช่นนั้นเถอะ ผมจะสบายใจมากกว่านี้ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 446840เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2011 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ÄÄÄÄ....กาลามสูตร ๑๐..ยังเป็นสิ่งที่น่าเรียนรู้และเข้าใจ..ในกระบวนการ..ของ..นักเรียน นักวิจัย นักศึกษา..นักพัฒนา..สิบข้อที่ว่าเ่ท่าที่พอจำได้...อย่าเชื่อตามที่ฟังๆกันมา..อย่าเชื่อที่ทำตามๆกันมา..อย่าเพิ่งเชื่อเพราะคำเล่าลือ..อย่าเชื่อโดยอ้างตำรา..อย่าเชื่อโดยนึดเดา...อย่าเชื่อโดยคาดคะเนเอา....อย่าเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล..อย่าเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน..อย่าเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่ิอถือได้...อย่าเชื่อผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน แม้นองค์สัมมาสัมพุทธ..จำเป็นต้องปฏิบัติศึกษาให้เข้าใจถึงแก่นแท้..อย่าเพิ่งเชื่อก่อนพิสูจน์...(อย่ากังวลไปเลย..ตรงนี้..ก็มาจาก..อินเตอร์เนทเหมือนกัน...เจ้าค่ะ)...ไปอ่านมา..เลยสบายใจไปได้หน่อยนึงนะเจ้าคะ....ท่านอาจารย์..ดร. แสวง รวยสูงเนิน....สวัสดีค่ะ..ยายธี

เหมือนอาจารย์มหาวิทยาลัยเขียน "เอกสารประกอบการสอน" , "หนังสือ" หรือ "งานวิจัย" ไงครับอาจารย์ ... ลอกมาอ้าง แต่ไม่รู้ว่า ต้นขั้วแห่งความน่าเชื่อถือ มีจริงหรือไม่

ขอบคุณมากครับอาจารย์ ;)...

We appreciate this problem.

We have 'data' and we have 'garbage'. They look the same on the cover. Some garbage looks very pretty too.

We have 'good people' and we have 'rubbish people'. They look the same on the cover. Some ... ;-)

How many times do we have to 'verify and validate 'facts'?

Can't we separate facts from fictions once, and keep them separated forever?

How can we be sure that fictions won't become facts and vice versa as 'time' goes on?

As the Buddha says 'anicca, dukkha, anatta'. (Holding on to impermanent thing leads to 'dukkha' because things are what they are - not what we want them to be.) ;-0

ใช่เลยครับ

มันเป็นเช่นนั้นเอง จริงๆ

เป็นข้อมูลทุติย ตติยะภูิมเลยนะครับ

เห็นด้วยกับคุณ ยายธี ครับ เราควรสอนให้ผู้รับ เป็นผู้ที่สามารถจะยอมรับ หรือไม่ยอมรับด้วยการพิจารณาที่ถูกต้อง รู้จักการแยกแยะ รู้จักค้นหาความจริงของเรื่องต่างๆ ก่อนจะตัดสินใจนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท