๑๓๐.ปฏิรูปการเลือกตั้ง : ทางออกการเมืองไทยในยุคใหม่


ลองนึกภาพตาม ดังนี้ คน เมื่อมีความปรารถนา ก็จะรวมตัวกันเพื่อตั้งพรรคการเมือง ลงแข่งขัน(เลือกตั้ง) เมื่อได้แล้วต่อรองตั้งรัฐบาล เมื่อเป็นรัฐบาลแล้วก็พยายามกุมอำนาจให้ได้นานที่สุด โดยไม่ลืมที่จะถอนทุนคืนพร้อมกับสร้างผลประโยชน์-ที่ถือว่าเป็นกำไร และที่สำคัญคือปกป้องธุรกิจตนเอง=นี้หรือคือคำนิยามของคำว่า "การเลือกตั้ง"

   

     ศึกการเลือกตั้งครั้งใหญ่ในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ที่จะถึงนี้ เป็นการช่วงชิงอำนาจรัฐอย่างเอาเป็นเอาตายระหว่างพรรคการเมืองต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพรรคเล็ก พรรคน้อย พรรคฝ่ายค้าน-ฝ่ายรัฐบาล หรือแม้กระทั่งพรรคที่คอยเสียบเป็นรัฐบาล

 

     ผู้เขียนได้ยินเขาคุยกันว่า การเลือกตั้งในแต่ละครั้งมีการใช้ กระแส+กระสุน เป็นจำนวนมาก จนทำให้นึกไปว่า เขาทำการเมืองเพื่ออะไรกันแน่?

     มนุษย์เมื่อมีปัจจัยพื้นฐานที่ดีพอแล้ว ก็ปรารถนาสูงขึ้นไปสู่การมีชื่อเสียงและสถานภาพทางสังคม-นี้คือคนโดยทั่วไป  แต่คนอีกกลุ่มหนึ่งทำการเมืองเพื่อธุรกิจ-นี้อันตรายยิ่งกว่า   คำถามจึงมีว่า แล้วจะมีสักกี่คนที่ทำการเมืองเพื่ออุดมการณ์?

     ลองนึกภาพตามดังนี้  คน เมื่อมีความปรารถนา ก็จะรวมตัวกันเพื่อตั้งพรรคการเมือง ลงแข่งขัน(เลือกตั้ง) เมื่อได้แล้วต่อรองตั้งรัฐบาล เมื่อเป็นรัฐบาลแล้วก็พยายามกุมอำนาจให้ได้นานที่สุด โดยไม่ลืมที่จะถอนทุนคืนพร้อมกับสร้างผลประโยชน์-ที่ถือว่าเป็นกำไร และที่สำคัญคือปกป้องธุรกิจตนเอง=นี้หรือคือคำนิยามของคำว่า "การเลือกตั้ง" ของประเทศไทย

     ดังนั้น เครื่องมือที่นักเลือกตั้งนำมาใช้ก่อนเลือกตั้ง มี ๒ อย่างดังที่ให้คำนิยามกันโดยทั่ว ๆ ไป คือ กระแสและกระสุน เมื่อพ้นเลือกตั้งไปแล้ว ต่างคนต่างเลิก กล่าวคือ ผู้ชื้อก็สมประสงค์-ผู้ขายก็ได้ประโยชน์ จึงเท่ากับหายกัน  ผู้เขียนลองคิดสูตรใหม่ว่า กระบวนการนี้น่าจะมี ๖ ขั้นตอน ที่นักเลือกตั้งต้องใช้ตลอดทั้งก่อน-หลัง การเลือกตั้งคือ

     ๑.กะว่าจะได้ ก่อนเลือกตั้งทุกคนก็หวังว่าจะได้ แม้สังกัดพรรคนั้น ๆ ทุกคนก็มีความมุ่งหวังอย่างเต็มที่ ซึ่งการหวังนี้ อาจจะหวังเล็ก ๆ หรือหวังใหญ่ ๆ ก็ขึ้นอยู่กับว่าศักยภาพ ฐานอำนาจใครมีเท่าไหร่?

     ๒.กระแส  ในระหว่างที่รณรงค์หาเสียงอยู่นั้น ต่างก็ปั่นกระแสกันมากมาย ทั้งเสียงสนับสนุนจากบรรดาหัวคะแนนทั้งหลาย โฆษณาชวนเชื่ออีกหลายรอบ โชว์นโยบายของพรรค และผลงานที่แต่ละคนทำมา ซึ่งเท็จจริงประการใดใครก็ไม่อาจรู้ได้

     ๓.กระสุน เป็นการใช้ในช่วงโค้งสุดท้าย ก่อนนั้นนักวิชาการเรียกว่าคืนหมาหอน แต่ตอนนี้ มีหัวคะแนนไปถึงบ้าน ขอสำเนาบัตรประชาชนพร้อมลายเซนต์เจ้าของบัตร (ไม่รู้เอาไปทำไม) จ่ายก่อน ๒๐๐ แถมกำซับเรื่องคุณธรรมให้กับชาวบ้านว่า "รับแล้วต้องกา ไม่อย่างนั้นถือว่าไม่ซื่อสัตย์ โกง และเป็นบาป" ก็ยังบอกชาวบ้านว่าทำไมไม่ย้อนถามว่าแล้วซื้อเสียงนี้ไม่บาปกว่าหรือ? ชาวบ้านบอกว่าไม่ได้ท่าน เขาให้ผู้นำท้องถิ่นประกอบติดเป็นชั้น ๆ เลย นั้นก็หมายความว่า กระสุนไม่ได้แปลว่าเงินอย่างเดียว แต่เป็นกระสุนจริงอันเป็นอำนาจมืดด้วย

     ๔.กระทิง เมื่อได้รับการเลือกตั้งแล้วก็จะแปลงร่างจากคนเป็นกระทิงดุ วิ่งหน้าตั้ง ล็อบบี้เป็นรัฐบาล แม้บางพรรคมีกลุ่มก๊วนแค่ ๒๐-๓๐ คน ก็มีอำนาจต่อรองได้ และมีอำนาจข่มผู้นำประเทศที่เป็นพรรคใหญ่ได้ ถ้าภาษิตไทยยังใช้คำว่า "ตาอินกะตานาแบ่งปลากันไม่ลงตัว ตาอยู่ก็คว้าพุงปลาไปกิน" ข้อนี้จะอธิบายว่าอย่างไรดี

     ๕.กระสือ  บางคน (ไม่ใช่ประเทศไทย) เมื่อได้เป็นฝ่ายรัฐบาลแล้ว ก็พยายามหาทางเข้าไปเป็นเจ้ากระทรวง ถ้าไม่ได้เป็นก็เป็น ผู้ช่วยฯ หรือที่ปรึกษาก็ได้ ขอให้มีบัตรเบ่งไว้ก่อน จากนั้นกระสือ ก็จะกลายร่างเป็นกะมาสูบ เพราะกระเสือกกระสนมามากแล้ว

     ๖.สุดท้ายประชาชนก็ต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "ก-รูว่าแล้ว" เพราะจาก ๕ ขั้นตอนที่ผ่านมาสิ่งที่เขากล่าวอ้างถึงประชาชนเพียงแค่ ๒ ขั้นเท่านั้นคือ ตอนเป็นกระแส และกระสุนเท่านั้น นอกจากนั้นเขาไม่เอ่ยอ้างถึงเลย

 

     เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เรามาปฏิรูปการเลือกตั้งกันดีไหม? นี้เป็นการเชิญชวนชาวไทยทั้งประเทศ!

     คุณหมอประเวศ วะสี ได้ให้ทัศนะไว้ใน "ขัดแย้งใหญ่-ปฏิรูปประเทศไทย ปฏิรูปการเลือกตั้ง" จะเห็นว่าปัญหาเกิดจากการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากเงินมีอำนาจมากเกินไป เริ่มจากพรรคการเมืองที่มีเงินมากกว้านซื้อ หรือตกเขียว สส. ทุ่มทุนค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งมากถึง ๓๐-๔๐ ล้านบาท/คน เมื่อเลือกไปแล้ว หัวหน้าคอกที่เลี้ยงไว้ ก็ไปต่อรองเป็นรัฐมนตรี เมื่อเป็นแล้วก็ไปคอร์รัปชั่น ถอนทุนและหากำไร เท่ากับทำการเมืองแบบค้าขาย ทำให้เกิดวงจรอุบาทว์ คือการเมืองจึงด้อยคุณภาพ เกิดการทำปฏิวัติ-รัฐประหาร เมื่อเลือกตั้งใหม่ก็ได้นักการเมือด้อยคุณภาพมาอีก วนเวียนอยู่อย่างนี้ไม่มีทางออก

     ขณะเดียวกันอาจารย์วิทยากร เชียงกูล ได้เสนอแนวคิดใน "ปฏิรูปการเลือกตั้งให้ซื้อเสียงได้ยากขึ้น" ว่าการปฏิรูปต้องทำ ๗ อย่าง แต่ผู้เขียนเห็นว่ามีความเกี่ยวข้องก็จะยกมาเท่าที่จำเป็น คือ

     ๑.ต้องเปลี่ยนแปลงจำนวนวิธีการเลือก สส. แบบแบ่งเขต และ สส.แบบสัดส่วน โดยต้องได้คะแนน ๕๐% ขึ้นไปจึงได้เป็น หากได้ไม่ถึงควรคัดเอาคนที่ได้คะแนนดี ๆ แล้วให้ประชาชนเลือกอีกครั้งจากจำนวนผู้สมัครเหล่านั้น เนื่องจากทุกวันนี้ บางท่านได้คะแนนแค่ ๓๐-๔๐% ก็ได้เป็น สส.แล้ว และที่สำคัญท่านยังเสนอว่าให้นำคะแนนจากการกาในช่องไม่เอา เพื่อนำผลคะแนนมาตัดกับคะแนนที่ได้ นั้นคือเสียงของประชาชน

     ๒.สว. ต้องคัดมาจากกลุ่มอาชีพหลัก ๆ จำนวน ๕ กลุ่มใหญ่ ๆ พอ  ส่วนอีก ๕ ประเด็นเป็นปลีกย่อยจึงไม่ขอนำมากล่าวไว้

     ด้านอาจารย์นิธิ  เอี่ยวศรีวงศ์ ให้ทัศนะไว้ใน "การเลือกตั้ง คือการปฏิรูปการเมือง" ว่า การเลือกตั้งนำมาซึ่งสิทธิธรรมและอาญาสิทธิ์ คือสิทธิธรรม ไม่ใช่ความถูกต้องตามกฏหมายอย่างเดียว แต่เป็นความเห็นชอบของผู้คนว่าอำนาจที่มีและใช้อยู่ เป็นที่ยอมรับ  ดังนั้น อำนาจที่วางอยู่บนรากฐานของสิทธิธรรม จึงทำให้เกิดอาญาสิทธิ์ คืออำนาจซึ่งใคร ๆ ก็ยอมรับ

     อย่างไรก็ตาม เมื่อท่านผู้รู้ให้ทัศนะมา ผู้เขียนในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมจึงขอแจมในประเด็นนี้ด้วยคน  เนื่องจากระบบของไทยไม่มีประสิทธิภาพพอ จึงขอเสนอวิธีการเลือกตั้ง โดยผู้เขียนใช้คำว่า "หลักปัญจศีลแห่งการเลือกตั้ง"  ๕ ประการ ดังนี้

     ๑.สส., สว. ให้ประกาศแจ้งต่อสื่อกระแสหลักเลยว่า พวกเขามีหน้าที่ไปออกกฏหมายและทำนโยบายเท่านั้น ไม่ใช่มาคอยบริจาคเงิน แจกวัสดุอุปกรณ์ ฯลฯ ต้องตัดวงจรอุปถัมภ์ออกให้หมด

     ๒.ไม่มีการหาเสียง คือให้ผู้สมัครนำรูปถ่ายเท่าจำนวนหน่วยเลือกตั้งไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ๆ กกต.ก็นำเอาไปติดไว้ที่หน่วยเลือกตั้ง ประชาชนอยากรู้ว่าใครมาสมัครบ้างก็ให้ไปอ่านเอาเอง เพื่อตัดประเด็นการใช้เงินหาเสียง

     ๓.การเลือกตั้งต้องเอาอย่างประเทศลาว คือเบอร์ไหน อ่านประวัติแล้ว-รู้พฤติกรรมแล้ว ลงคะแนนกาออก หมายความว่าถ้าประชาชนเห็นว่าไม่เข้าท่าก็ลงคะแนนให้-ออก คือไม่ได้เป็น สส.สว. เพื่อตัดคนที่ประชาชนไม่ต้องการหรือไร้คุณภาพแต่อยากเป็นออกไป

     ๔.มีกฏหมายสำหรับการเลือกตั้งที่รุนแรง ใครแจ้งเบาะแสการชื้อสิทธิ์หรือขายเสียง ให้การเชิดชูพร้อมเงินรางวัล "พลเมืองดีเด่นแห่งชาติ" สร้างความเป็นฮีโร่ให้กับสังคมไทย  เพื่อปลุกจิตสำนึกให้มีความรับผิดชอบร่วมกันอย่างจริงจัง

     ๕.สส.สว.เมื่อทำงานไปแล้วครึ่งเทอม ให้ประชาชนโหวตออกหรือให้อยู่ทำหน้าที่ต่อ สำหรับจำนวนที่ไม่ผ่านเพราะไม่มีผลงาน ให้เลือกตั้งซ่อม เพื่อตัดคนประเภทหาเสียงแล้วไม่ทำ หรือไม่มีศักยภาพในการทำงานออกไป

 

     นี้เป็นข้อเสนอ ๕ ประการเพื่อร่วมปฏิรูปการเลือกตั้งไทย ใครมาเป็นรัฐบาลควรปฏิรูปให้ชัดเจน สส.ก็ต้องเด่นร่วมผลักดัน ประชาชนนั้นต้องตระหนักร่วม สื่อมวลชนต้องตื่นรู้ และ กกต.เองก็ต้องมีการเรียนรู้ด้วย หรือจะปล่อยให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างไร้คุณภาพ!

 

หมายเลขบันทึก: 446490เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2011 09:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อยากขอร้องให้ทุกท่าน กรุณาช่วยประคับประคองบ้านเมืองให้เดินหน้าสู่การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยไม่ต้องมีการสูญเสียเลือดเนื้อ ชีวิต ทรัพย์สิน และความสุข ของคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศ

อยากให้การเลือกตั้งครั้งนี้ มีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ตลอดจนเคารพต่อมาตรฐานการตรวจสอบของสื่อมวลชน กกต. และอาสาสมัครทุกพรรคการเมือง ทุกกลุ่มการเมือง

หากไม่สามารถพิสูจน์พยานหลักฐานได้อย่างชัดเจนว่ามีการโกง ก็ควรยกประโยชน์ให้จำเลย ตามมาตรฐานกฏหมายสากล หลายท่านอาจคิดว่า ประเทศไทยวันนี้ไร้ความเป็นธรรม สองมาตรฐาน สื่อมวลชนถูกคุกคามปิดกั้นการนำเสนอข่าว ผมอยากให้ท่านลองเหลียวดูกัมพูชา ว่าถ้ามีการชุมนุมทางการเมืองแบบ พันธมิตร ปี 2549 - 2551 และ นปช. ปี 2552 - 2553 ที่กรุงพนมเปญ พณฯท่าน นายกฮุนเซ็น จะปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมอย่างไร ครับ ที่แน่ๆ ท่านฮุนเซ็น ไม่ปล่อยให้ชุมนุมได้เกินเจ็ดวันหรอกครับ รับรองว่าล้อมปราบด้วยกระสุนจริง ตายหลายพันเจ็บหลายหมื่นนะครับ การแย่งชิงอำนาจทางการเมืองในกัมพูชา ระหว่างพอลพต เฮงสัมริน ฮุนเซน โดยมีชาวกัมพูชาขายชาติ ชักศึกเข้าบ้านนำเอาทหารเวียดนามเข้ามา ชาวกัมพูชาถูกเข่นฆ่าเป็นล้านคน ผมคิดว่าไม่มีคนไทยคนไหนอยากให้เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นในผืนแผ่นดินไทย

ผมยังเชื่อว่า คนไทยยังคุยกันได้ ไม่ว่าจะทะเลาะกันอย่างไร ก็ไม่ควรนำต่างชาติเข้ามาเข่นฆ่าคนไทยด้วยกันเอง

ไม่ว่าคนไทยทำธุรกิจแข่งขันกันรุนแรงสักเพียงไหน ก็ไม่ควรนำผลประโยชน์ของชาติไปขายให้บริษัทต่างชาติ เพื่อประโยชน์ของตนเอง ครับ

ใครคิดเห็นด้วย เห็นต่างอย่างไร เชิญโทร.มาคุยกันได้นะครับ 081-538-4200

สมบูรณ์ นำทิพย์จันทาเจริญ (โบบิ)

ประธานกลุ่มผู้ประกอบอาชีพสุจริตที่ได้รับความเดือดร้อนจากการชุมนุมทางการเมือง (สดช.)

อีเมล : [email protected]

รับชมบันทึกวีดีโอ บทสัมภาษณ์ ประธาน สดช ได้ที่ www.thaippp.com

รับฟรี ดีวีดีบันทึกวีดีโอ บทสัมภาษณ์ ประธาน สดช. โดยพิมพ์ คำว่า สดช. พร้อม ชื่อ – ที่อยู่ สำหรับจัดส่งทางไปรษณีย์ แล้วส่ง SMS มาที่ 081-423-9900

เจริญพรขอบคุณ-คุณโยมสมบูรณ์ ที่ร่วมแสดงความคิดเห็น เป็นผู้เติมเต็มให้กับความคิด

หลายอย่างก็ต้องค่อย ๆ พัฒนา แต่หลาย ๆ อย่างต้องกระตุ้นให้สำนึกและตระหนักรู้ร่วมกัน

บทบาทที่คุณโยมกำลังทำเป็นสิ่งที่ดี ขอให้ทุกคนคิดและทำร่วมกัน เสนอแนะนำอย่างเป็นกัลยาณมิตร

เพื่อยกระดับจิตวิญญาณของคนไทยให้สูงขึ้น ขออนุโมทนา และเจริญพรขอบคุณ

ประเด็นที่พระคุณเจ้าเสนอมา ทำให้เห็นว่าปัญหาอยู่ที่วิธีการ น่าจะจับพวกพรรคการเมืองต่าง ๆ มาทำกติการ่วมกันนะครับ

เห็นด้วยกับการปรับปรุงการเมืองครับ

ตั้งโรงเรียนการเมือง เริ่มจากวัยเยาว์

เข้มงวดกับจริยธรรมการเมือง

กลั่นกรองนักการเมืองอย่างน้อย10ปี อย่างเป็นระบบ

ส่งเสริมการเรียนรู้การเมือง-เช่น รับเงินไม่ใช่ประชาธิปไตย ฆ่ากันไม่ใช่ประชาธิปไตย 

เจริญพรคุณโยมณพ คนไทยต้องถามตนเองก่อนว่าพร้อมในการปฏิรูปหรือยัง?

การพร้อมต้องพร้อมทุกฝ่ายทั้งประชาชน นักการเมือง ภาครัฐ ภาคเอกชน ฯลฯ ทุก ๆ

ภาคส่วนต้องผนึกกำลังกันในการสร้างสังคมที่สดใส ให้ไทยเจริญ

เจริญพรท่านอาจารย์โสภณ เอาแบบยุคกรีกโบราณเลยนะ

แต่ถ้ากระตุ้นกันแล้วไม่กระเตื้อง ไร้เป็นผล สังคมไทยต้องจัดยาให้หนัก น่าจะดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท