ครูพันธ์ใหม่ : มีศักยภาพในการดึงศักยภาพของลูกศิษย์


ครูดี ๆ คือครูที่ "รู้จัก" ศิษย์

ครูดี ๆ คือครูที่หมั่น "สังเกตุ" ศิษย์

หน้าที่ของครูที่ดีนั้น คือ การดึง "ศักยภาพ" ของลูกศิษย์ที่ซ่อนไว้ในตัวเขาออกมาให้ได้

ระบบการศึกษาไทยตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบันส่วนใหญ่ (ซึ่งผมอาจจะผิด) เน้นระบบศักยภาพของ "อาจารย์"

อาจารย์ในระบบเดิมจึงมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ความสามารถของตนเองให้ศิษย์

ดังนั้นผู้บริหารการศึกษาจึงส่งอาจารย์ไปเรียน ไปศึกษาต่อ ไปอบรม ค้นคว้า เพิ่มเติม "วิจัย" เพื่อที่จะมา "สอน" ลูกศิษย์

แต่ไม่มีครูคนใดที่จะสอนศิษย์ให้เก่งกว่าตนเองได้

ดังนั้นเมื่อครูมีร้อย ลูกศิษย์มีเต็มที่ก็คือ "ร้อย"

ระบบการศึกษาแบบเดิมจึงได้อย่างมากก็แค่ "เสมอตัว" หรือไม่ก็ "ขาดทุน"

แต่ครูดี "ครูพันธุ์ใหม่" มีหน้าที่ดึงศักยภาพของศิษย์ออกมา

ศักยภาพของครูที่มีร้อยนั้น มิใช่เป็นครูเก่ง รู้มาก หรือมีใบปริญญาตรี แต่ศักยภาพของครูพันธุ์ใหม่คุณภาพร้อยทั้งร้อยคือ "มีศักยภาพในการดึงศักยภาพของลูกศิษย์"

ดังนั้นเมื่อมีครูศักยภาพในการดึงร้อย ครูอาจจะพบศักยภาพในตัวลูกศิษย์ถึงพัน หมื่น แสน หรือล้าน

การขุดหลุม ยิ่งลึก ยิ่งได้ ยิ่งลึก ยิ่งน่าสนใจ

ดังนั้นครูจึงต้องรู้จักและหมั่นสังเกตุลูกศิษย์ทุก ๆ คนที่อยู่ในและนอกห้องเรียน

 

รู้จักและต้องดึงศักยภาพของเขาเหล่านั้นออกมาให้ได้

ครูพันธุ์ใหม่จึงต้องเรียนรู้เทคนิคในการ "ดึง" แทนการเรียนเทคนิคในการ "อัด"

การอัดก็คือการสอน บรรยาย ป้อน สิ่งที่ตนได้ไปเรียนรู้มาจากในและนอกประเทศ

เทคนิคการดึง เป็นเทคนิคทางจิตวิทยา ดังนั้น ครูพันธุ์ใหม่จำเป็นต้องรู้จิตวิทยาทางการศึกษา ในการที่จะพึ่งพาศักยภาพของตนเพื่อค้นหาศักยภาพของศิษย์

 

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

26 มิถุนายน 2554

Inception

หมายเลขบันทึก: 445974เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2011 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 23:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ระบบการศึกษาเดิม ครูต้องรู้ ศิษย์ถึงต้องรู้

ครูรู้มาก ศิษย์รู้มาก ครูรู้น้อย ศิษย์รู้น้อยยิ่งกว่า

ดังนั้นผู้บริหารการศึกษาอยากให้ศิษย์รู้มาก จึงต้องทุ่มงบประมาณในการเพิ่มความรู้ให้ครู เหมือนกับลงทุนให้ครูไปทำไร่ ทำนา เพื่อที่จะพึ่งพาข้าว ปลา อาหาร ไปป้อนให้กับ "ศิษย์"

ระบบการศึกษาใหม่ "ครูพันธ์ใหม่" ต้องเป็นครูที่ทำหน้าเพียง "ดึงศักยภาพ" ของลูกศิษย์

ครูจะต้องรู้เทคนิค มีอุบาย ใช้ "จิตวิทยา" เพื่อค้นหาพลัง ความสามารถในตัวของศิษย์แต่ละคนเป็น "รายบุคคล"

เทคนิคการดึงศักยภาพของครูนี้ ถ้าส่งครูไปเรียนแบบเดิม ไปเรียนที่ไหน ไปเรียนกับใครก็ได้แค่ทฤษฎี

เหมือนเราอยากรู้จักต้นไม้ทั้งโลก ชีวิตนี้เราก็ต้องเสียเวลาเดินทางไปรอบโลกเพื่อที่จะได้รู้จักต้นไม้ให้หมด บางคนแก่ก่อน ตายก่อน ยังไม่ได้ใช้ หรือใช้ยังไม่ได้เต็มที่สมกับที่เรียนมา

ดังนั้น การที่จะรู้จักต้นไม้ทั้งป่าต้องรู้และเข้าใจ "จิตใจ" ของตนเอง เราดึงศักยภาพของตนเองออกมาอย่างไร เราก็ใช้เทคนิคนี้ดึงศักยภาพของผู้อื่นอย่างนั้น

คนที่เราจัดการยากที่สุดก็คือตัวของเราเอง

จิตใจที่เข้าใจและหยั่งถึงยากที่สุดก็คือจิตใจของตัวเราเอง

ดังนั้น สิ่งที่ครูควรทำคือการให้เวลาเพื่อพิจารณาจิตใจของตนเอง

มีเวลาในการสงบสติ ทำสมาธิ แล้วพิจารณารอยเท้า ย่างก้าวของตนเอง

ว่าที่ครูมีวันนี้ มีศักยภาพในการเป็นครูในวันนี้ ครูเดินมาอย่างไร

ครูต้องมองให้ละเอียดทุก ๆ ย่างก้าว

ไม่ควรไปอ่านหนังสือหรือดูทฤษฎีก่อน เพราะจะเป็นการตีกรอบความคิด

ครูต้องมองให้ละเอียด ถี่ถ้วน มองทุกบริบท ทุกรายละเอียด

สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่ทฤษฎีหรือหลักการ สิ่งสำคัญคือปัจจัยเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ก้าวผ่าน

ปัจจัยเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้นเอง เมื่อรวมตัวกันขึ้นแล้วจึงเป็นทฤษฎี

วันนี้ครูมีทฤษฎีจากภายนอกเยอะแล้ว ขอให้มุ่งความสนใจไปที่ตัวปัจจัยต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นมาเป็นทฤษฎีนั้น

ปัจจัยภายนอก ปัจจัยจากคนอื่นไม่สำคัญเท่าปัจจัยภายใน ซึ่งเกิดกับตัวกับใจของตนเอง

Gotoknow เป็นสิ่งที่ใช้ดึงศักยภาพได้

เพราะ Gotoknow เป็นที่สำคัญเขียน บางครั้งคิดแล้วลืม คิดแล้วไม่ถ้วนถี่ ขอให้คุณครูมาเขียน เขียนลงใน "บล็อค" แต่งแต้มความคิดใน "อนุทิน" พร้อมกับเปิดปัจจัยร่วมคำถาม คำตอบ กำลังใจจาก "กัลยาณมิตร" บางครั้งเราคิดเอง คิดไม่ออก แต่เมื่อมีมิตรกระฉุด มากระตุกปัจจัยที่ฝังลึกอยู่ในก้นบึ้งแห่งหัวใจ ปัจจัยแห่งพลังก็จะหลั่งไหลออกมา

ทีมงาน Usablelabs โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัวของท่านอาจารย์ ดร.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ ได้สร้างสิ่งที่ดี ๆ อย่างนี้ไว้ให้คุณครู ขอให้คุณครูใช้ Gotoknow อย่างเต็มที่

ใช้ Gotoknow ดึงศักยภาพของตนเองออกมาผ่านหน้าบันทึกและอนุทิน

ดึงศักยภาพออกมาเพื่อให้รู้เทคนิควิธีการดึงศักยภาพเหล่านั้น

เมื่อได้เทคนิคของตนโดยตนเองแล้ว จึงนำเทคนิคเหล่านี้ไปดึงศักยภาพของศิษย์

พึงละเว้นอาจสอน การบรรยายซึ่งศักยภาพของตนเอง

ควรกระทำการดึงศักยภาพของลูกศิษย์

ไม่คุยโม้ โอ้อวด แต่นำเทคนิคที่ได้รู้ได้เห็นไปทำให้เกิดขึ้นเกิดมีในตัวของลูกศิษย์

ศิษย์ทุกคนมีความฉลาด มีความสามารถในตัวของตัวอยู่ ครูมีหน้าที่ดึงความฉลาดและศักยภาพนั้นออกมา

ขอให้ครูดึงออกมาให้สุด ๆ ดึงออกมาให้จุดถึงแห่ง "ศักยภาพ..."

บันทึกมากี่อัน...ก็จะอ่านทุกอันครับ...มีสาระมาก-มาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท