ประสบการณ์ด้านจิตวิทยา


ศักยภาพผู้ป่วยจิตเวชญาติผู้ดูแลและชุมชน
ประสบการณ์การทำงานกับผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน เกี่ยวกับผู้ป่วยที่ไม่ออกสู่สังคม เพราะคนในชุมชนไม่เข้าใจผู้ป่วยจิตเวช รังเกียจ  มองว่าผู้ป่วยจิตเวชเป็นคนบ้า ยิ่งผู้ป่วยคนนั้นไปรับยาที่โรงพยาบาลจิตเวชแล้ว ยิ่งถูกมองและตีตราว่าบ้าไปเลย จะเรียกว่า "คนบ้า ไอ้บ้า ผีบ้า ไอ้โรคจิต" และครอบครัวถูกรังเกียจ ไม่มีไครไปมาหาสู่กับครอบครัวนั้นเลย และคิดว่าเมื่อเขาบ้าแล้วก็ต้องเป็นหน้าที่ของหมอเท่านั้นที่จะดูแล ไม่ใช่หน้าที่ของคนในชุมชน
ดังนั้นจึงได้จัดทำประชาคมในชุมชนตำบลอุดมทรัพย์เรื่องการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชและครอบครัว ซึ่งมีผู้นำชุมชมชนได้แก่ พระสงฆ์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. ครู เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.ปราชญ์ชาวบ้าน ญาติ/ผู้ดูแล โดยใข้เทคนิค FOCUS GROUP
 โดยการดำเนินกิจกรรมดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน ใช้หลักกระบวนการชุมชน มี ๕ ขั้นตอน  ดังนี้   

ขั้นตอนที่    การวิเคราะห์สถานการณ์ผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน โดยจัดประชุมกลุ่มระดมความคิด (Focus  Group) ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย พระสงฆ์ ผู้นำชุมชน ญาติผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ โดยมีประเด็นการพูดคุย คือ สภาพของผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนเป็นอย่างไร มีความรุนแรง และมีผลกระทบต่อใครบ้าง มากน้อยเพียงใด และความคาดหวังของชุมชนต่อสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของผู้ป่วยจิตเวชอย่างไร  

ขั้นตอนที่ ๒  การวางแผนโดยชุมชน  เพื่อให้ชุมชนสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชที่อยู่ในชุมชนมีโอกาสได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถอยู่กับครอบครัวและชุมชนได้ โดยระดมความคิดผู้เกี่ยวข้องในชุมชน ซึ่งได้จัดทำแผนและกิจกรรมการทำงาน 

ขั้นตอนที่ ๓ การดำเนินงาน โดยชุมชนเพื่อชุมชน ได้แก่การจัดตั้งคณะกรรมการและกลุ่มแกนนำ ซึ่งมีพระสงฆ์เป็นประธานและมีผู้นำชุมชน/องค์การบริหารส่วนตำบล/อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน/ญาติผู้ป่วยเป็นกรรมการ ส่วนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เป็นกรรมการและเลขานุการ หลังจากนั้นมีการรอบรมให้ความรู้และฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยจิตเวช แก่กลุ่มนำและญาติผู้ป่วย จัดตั้งทีมรับผิดชอบดูแลผู้ป่วยในชุมชน โดยแบ่งพื้นที่ดูแลเยี่ยมบ้านให้กำลังใจให้การช่วยเหลือ จัดตั้งเป็นชมรม มีชื่อว่า ชมรมส่งเสริมดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนโดยพระสงฆ์เป็นแกนนำ เกิดความเป็นประชาคมและรวมตัวเป็นเครือข่ายมากขึ้น มีการขยายเครือข่ายเต็มตำบล และนอกจากนั้นได้ จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน โดยจัดทอดผ้าป่าสามัคคีซึ่งเป็นการระดมการมีส่วนร่วมของชุมชนและจัดกิจกรรมประสานสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชนเพื่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีและยอมรับผู้ป่วยจิตเวชมากยิ่งขึ้น

ขั้นตอนที่ ๔ การติดตามผลการดำเนินงาน โดยประชุมติดตามความก้าวหน้าทุกเดือนๆละ ๑ ครั้ง เพื่อพบปะพูดคุย ติดตามงาน และทำกิจกรรมที่ได้กำหนดไว้ โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงและให้การสนับสนุนความรู้/วิชาการ/สื่อ/เทคโนโลยี พร้อมทั้งประสานหาแนวร่วมในการดำเนินงานจากภาคเอกชนและประชาชนจากเครือข่ายและองค์กรอื่นๆ เพื่อเสริมให้เกิดความเข้มแข็งยิ่งขึ้น

ขั้นตอนที่ ๕  การประเมินผลโดยการจัดประชุมการประเมินผลที่ผ่านมาพร้อมทั้งวิเคราะห์จุดอ่อนจุดเข็งและโอกาสการพัฒนาในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง

                  ผลลัพธ์ที่ได้รับจากการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง  พบว่า
                                - ผู้ป่วยไม่กลับมารักษาซ้ำใน รพ.จิตเวช ภายใน ๒  ปี  
๑๐๐   %  
                                - ผู้ป่วย
ไม่กลับมารักษาซ้ำใน รพ.จิตเวช ภายใน ๑๐ ปี   ๖๐.๕ %

ชนได้แรงงานเพิ่ม  เนื่องจากผู้ป่วยสามารถประกอบอาชีพในชุมชนได้

                               - ผู้ป่วยสามารถอยู่กับครอบครัวและชุมชนได้                    ๑๐๐  %  
                              -  ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเอง / ทำกิจวัตรประจำวัน             ๙๔
 % 

                              -  ผู้ป่วยสามารถประกอบอาชีพได้                                           ๘๙ %                                 

                          ๑.๑  ผู้ป่วยได้รับการรักษาต่อเนื่อง  ไม่ขาดยา  (รวมทั้งผู้ป่วยทางกายโรคอื่นๆ) 

                ๑.๒    ผู้ป่วยมีกำลังใจ  ได้ความรักความเอาใจใส่จากครอบครัวและชุมชน  รู้สึกอบอุ่นและมีเพื่อนที่มีปัญหาคล้ายกัน  มีความหวังในชีวิต  

                ๑.๓  ผู้ป่วยมีแนวทางการดำเนินชีวิต  และวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม

                ๑.๔  ผู้ป่วยได้รับการยอมรับจากครอบครัว  ชุมชนสังคมและไม่ถูกตีตราว่าเป็นคนบ้า    

                ๑.๕  ผู้ป่วยปรับตัวและเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมเยี่ยงคนปกติ

               ๑.๖  ผู้ป่วยและครอบครัวมีความรู้ความเข้าในในการดูแลรักษาอาการทางจิตได้มากขึ้น

                ๑.๗ ครอบครัวมีความสามารถในการจัดการการดูแลผู้ป่วยจิตเวชได้ถูกต้องเหมาะสม

                 ๑.๘ ลดปัญหาเศรษฐกิจ และเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว

                ๑.๙ ได้รับกำลังใจจากทุกภาคส่วน ทั้งในและนอกชุมชน

 ๒.  ชุมชน

            ๒.๑ ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและยอมรับผู้ป่วยจิตเวชมากขึ้น           

            ๒.๒ ชุมชนไม่ตีตราผู้ป่วยจิตเวช           



           

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 445938เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2011 06:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาภายในชุมชน คือคนในชุมชนที่เป็นเจ้าของปัญหาต้องร่วมมือร่วมใจกันแก้ไข และให้การยอมรับในความสามารถหรือศักยภาพที่พวกเขามี โดยเปิดโอกาสให้เขามีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน เมื่อถ้าเขาทำได้หรือทำไปเรื่อยๆ จากที่คนในชุมชนไม่ยอมรับ ก็จะเกิดการยอมรับขึ้นในที่สุด และจะทำให้ผู้ที่ป่วยมีสุขภาพจิตดีขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท