แรงงานควายไถนา


แรงงานควายไถนา

"แรงงานควายไถนา" ภูมิปัญญาไทยที่เลือนหายไปจากท้องทุ่งนาไทยไม่น่าจะน้อยกว่า 2 ทศวรรษแล้ว ถูกนวัตกรรมใหม่ภายใต้อิทธิพลเทคโนโลยีสมัยใหม่กลืนหายไปจากท้องถิ่น
ในสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง ชาวนาต้องดิ้นรนเพื่อช่วยเหลือตนเองมากขึ้นให้หลุดพ้นจากจากความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจโดยพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ณ ท้องทุ่งบ้านหนองเทิง ตำบลหนองแวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ชาวนากลุ่มหนึ่งรวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อจัดแหล่งเรียนรู้ "ภูมิปัญญาควายกับวิถีชาวนาไทย" ดำเนินกิจกรรมภูมิปัญญาอาชีพชาวนา ความผูกพันระหว่างควายกับคน ภูมิปัญญาท้องถิ่นระหว่างควาย คน วัฒนธรรมประเพณี ตลอดจนพัฒนานวัตกรรมจากควาย เช่น ปุ๋ยขี้ควาย แก๊สชีวภาพจากขี้ควาย

หมายเลขบันทึก: 445472เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2011 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

โรงเรียนกาสรกสิวิทย์ ของสมเด็จพระเทพฯค่ะ เมื่อน้ำมันแพงและอาจหาซื้อไม่ได้ เครื่องมือทำนา ก็ต้องกลับมาเริ่มต้นที่เจ้าทุยเพื่อนยากนี่ละค่ะ

ขอบคุณครับ ร่วมคิด ร่วมพัฒนา ร่วมเรียนรู้ทำอย่างไรถึงจะพัฒนาที่เรียกว่า "สู่ความยั่งยืน" โรงเรียนฝึกสอนควาย คนไถนาที่ร้อยเอ็ดก็เป็นอีกหนึ่งแห่งที่สนองโครงการพระราชดำริฯ ในรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ วิถีกระบือกับท้องถิ่น

การที่จะนำควายกลับมาไถ่นาเหมือนเมื่อก่อนคงจะเป็นไปได้ยาก..เพราะวิถีการเกษตรที่เปลี่ยนไป..เราจะอนุรักษ์ควายไทยให้คงอยู่กับชาวนาได้คงต้องอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับนวัตกรรมใหม่ๆ ให้ชาวนาได้เห็นประโยชน์และความสำคัญของควาย เหมือนกับชาวบ้านบ้านหนองเทิง ตำบลหนองแวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ที่กำลังทำอยู่นั่นหล่ะครับ...ถูกต้องที่สุด

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท