เครือข่ายปรองดอง


เป็นการสร้างบรรยากาศการทำงานแบบใหม่ ที่อาจจะเรียกให้ทันสมัยว่า การทำงานแบบ” ปรองดอง “ ก็ย่อมได้ เพราะว่า การร่วมด้วยช่วยกันในลักษณะนี้เป็นการสร้างความเข้าใจแบบง่ายๆ สร้างแรงบันดาลใจ ให้ทุกคนอยากจะทำงานต่อไป ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด

ในยุคสมัยที่ปัญหาเรื่องสุขภาพของประชาชนที่เริ่มปรับตัวจาก” ผู้รับบริการ” มาเป็น”ผู้บริโภค” อันมีความหวังและมีสิทธิอย่างเต็มเปี่ยมในการรับบริการที่ดีที่สุดจากหน่วยงานหรือบุคลากรของสถานบริการ  หนทางหนึ่งที่จะนำมาใช้เพื่อลดช่องว่างนี้ คือการให้ความสนใจในพฤติกรรม และความสัมพันธ์ของคนทำงาน ความคิดเห็นของคนไข้  และการทำงานที่แสวงหาความร่วมมือ

 ปัญหาคุณภาพของงาน   การส่งต่อ การรอคอย หรือปัญหาเชิงระบบใดใด ที่จะมีผลต่อการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีดีให้กับผู้ป่วยนั้น ย่องต้องมาจากการเรียนรู้และ รับฟังข้อคิดเห็นจากทุกๆฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากคนทำงานในพื้นที่เดียวกัน  เริ่มจากผู้รับบริการ  คนทำงาน  ผู้บริหาร  ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างคงเส้นคงวา  มีความจริงใจที่จะน้อมรับผลสะท้อนกลับจากการทำงานด้วยใจที่เปิดกว้าง

แนวคิดนี้ได้ออกแบบการทำงานแบบรวมกลุ่ม หรือ “ เครือข่าย” โดยมีโรงพยาบาลที่อาสาสมัคร ที่จะทำงานแบบร่วมด้วย ช่วยกัน มารวมกลุ่มกัน ประมาณ ๔ หรือ ๕ แห่ง นับว่าเป้นการทำงานที่ก้าวพ้นวิธีเดิมๆที่มุ่งเน้นเฉพาะภายในรั้วโรงพยาบาลของตนเองแต่เพียงอย่างเดียว

เพราะว่าในความเป็นจริงนั้นผู้ป่วยจำนวนหนึ่ง อาจจะไม่ได้ไปเลือกใช้บริการตามสิทธิที่ตนเองมีอยู่ แต่จะเลือกใช้บริการตามความต้องการ และการรับรู้ข่าวสาร การบอกต่อที่บอกต่อๆกันมาจากในหมู่บ้านและชุมชน  การรวมกลุ่มกันของโรงพยาบาลเหล่านี้จึงสามารถฉายภาพและรับรู้ ความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการในพื้นที่ได้

การรวมตัวของกลุ่มโรงพยาบาลอย่างนี้จึงเป็นการรวมตัวกันเพื่อ ร่วมมือ ร่วมใจ สร้างทั้งระบบ และสร้างทั้งความสุข อันเกิดจาก การมีเพื่อนที่พร้อมจะช่วยเหลือกัน สร้างการทำงานที่ดี ระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงาน

การทำงานที่ไม่มีโครงสร้างในเชิงอำนาจ ในการจัดการ  แต่ปรับมาเป็นการจัดการโดยใช้ความ”เป็นเพื่อน เป็นพี่ และเป้นน้อง “ ในการจัดการ จึงมีความนุ่มนวล และเข้าถึงจิตใจและความต้องการที่แท้จริง

ที่สำคัญคือ เป็นการสร้างบรรยากาศการทำงานแบบใหม่ ที่อาจจะเรียกให้ทันสมัยว่า การทำงานแบบ” ปรองดอง “ ก็ย่อมได้ เพราะว่า การร่วมด้วยช่วยกันในลักษณะนี้เป็นการสร้างความเข้าใจแบบง่ายๆ  สร้างแรงบันดาลใจ ให้ทุกคนอยากจะทำงานต่อไป ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด

ภาพของหมอ พยาบาล เภสัชกร ที่แยกย้ายเข้าไปเยี่ยมเพื่อนๆอีกหนึ่งโรงพยาบาล  รับฟังกระบวนการทำงาน หรือแม้แต่ปัญหาที่ติดขัด  ด้วยท่าทีที่ผ่อนคลาย  และด้วยความเข้าใจ และ เห็นใจ อันเกิดจาก ความเข้าใจในเนื้องาน ที่ไม่แตกต่างกัน รวมทั้ง มีความเข้าใจในความต้องการของคนไข้ ที่มาจากพื้นที่เดียวกัน หรือใกล้เคียง เป็นภาพที่หาได้ยากยิ่งในการทำงานแบบรีบเร่งภายในขอบเขตการทำงานแบบเดิมๆในอดีต ที่ต่างคน ต่างทำ

 การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ที่ประกอบไปด้วย ด้วย ความรู้ทางวิชาการ และ การตระหนักในคุณค่าของคนทำงานที่หน้างาน นั้น มีพลัง สร้างความอบอุ่น และสานพลังการทำงานในระบบให้มั่นคง

ดังเช่นที่ เครือข่ายโรงพยาบาลเสาไห้ เล่าประสบการณ์ให้ฟังว่า

“ การออกไปเยี่ยมเพื่อนๆที่โรงพยาบาลอื่นๆนั้น ทำให้เราเองได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกันด้วย รับรู้ว่าทุกกระบวนการหลักที่เขาและเราทำงานควรมีการปรับปรุงในส่วนไหน  มีอะไรบ้างที่อาจจะเกิดสิ่งที่เป็นอันตราย และจะมีวิธีป้องกันอย่างไร?”

ที่เครือข่ายยางตลาด จังหวัดกาฬสินธิ์ ก็มีประสบการณ์มาถ่ายทอด

“ ทำให้เรามีโอกาสเรียนรู้กับเพื่อนๆ เกิดความตื่นตัว ที่สำคัญคือ ทีมงานเกิดความรู้สึกว่าตนเองนั้นมีคุณค่า ที่สามารถทำงานให้คนอื่น เข้าไปเป็นเพื่อนกับคนอื่น  สิ่งนี้ก็ย้อนกลับมาที่โรงพยาบาลของเราเองด้วย  คนเกิดความสุขในการที่ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก และสิ่งนั้นมีประโยชน์ต่อคนไข้”

ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดโรงพยาบาล” พี่น้อง”  เครือข่ายในสามจังหวัดนี้ อันได้แก่ เครือข่ายรพ. หนองจิก และเครือข่าย รพ.รามัน ได้พัฒนาการบริการด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู แบบองค์รวมให้สอดคล้องกับ วิถีชุมชน และการบริการด้วยใจ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงพยาบาล เพื่อจัดระบบการพัฒนาคุณภาพของงาน พัฒนาจิตวิญญาณ ที่เน้นความสุขของผู้ป่วยผสมผสานการแพทย์สมัยใหม่

สำหรับเครือข่ายรพ.หนองจิกซึ่งรวบรวมเพื่อนๆจากรพ.ยะรัง รพ.ยะหริ่ง รพ.โคกโพธิ์ รพ.มายอ และรพ.ทุ่งยางแดง มาร่วมเรียนรู้และสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

“ เรารู้สึกเลยว่าเราทำงานไม่โดดเดี่ยว เพราะได้มีโอกาสมานั่งคุยกัน  บางอย่างเราทำไม่ดี แต่เพื่อนเราทำได้ดีกว่า เราก็นำเอามาปรับปรุง “

“ การไปเยี่ยมเพื่อนๆ เรารู้สึกว่ามีเกียรติมากๆ ทุกๆคนบอกกับเราว่ามาอีกนะ อยากให้มาอีกบ่อยๆ  เราเองก็พลอยมีกำลังใจขึ้นมากๆ“

ส่วนเครือข่ายรพ.รามัน ได้แสดงทัศนะในการทำงานในรูปแบบนี้ว่า

“นอกเหนือจากเรื่องการไปช่วยกันวางระบบคุณภาพเพื่อให้ดีขึ้นและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน  ความห่วงใยที่มีต่อกัน เรามีกำลังใจในการทำงานขึ้นอีกมากมาย ทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อผ่านระบบที่วางไว้ดี ผ่านมือคนทำงานที่มีความเข้าใจ งานที่มอบให้ประชาชนก็เป็นงานที่ดีเยี่ยม  ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำก็เพื่อประชาชน “

และเครือข่ายน้องใหม่ล่าสุด เครือข่าย บึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬที่รวบรวมรพ.จำนวน ๔ แห่งได้แก่ รพ.บึงโขงหลง รพ.เซกา รพ.บุ่งคล้า และรพ.ศรีวิไล มาเป็นเพื่อนร่วมเรียนรู้

“ เราคิดว่า เรามาถูกทางจริงๆ เพราะนอกจากเรื่องการทำงานที่เราต้องมาช่วยกันอยู่แล้ว เรายังได้เสริมพลัง การทำงานแบบเครือข่ายนี้ ทำให้ เรารับรู้ถึงความสำคัญของงานจากการได้ฟังเรื่องเล่าจากเพื่อนๆ และเป็นจุดทำให้เรากลับมามองตนเองอีกครั้งหนึ่ง”

การทำงานที่ก้าวออก นอกรั้วโรงพยาบาลของตนเอง ไปสู่การทำงานแบบร่วมด้วยช่วยกันนี้  ยังสามารถทะลายกำแพงความไม่เข้าใจกัน หรือแม้แต่การแข่งขันกัน การกล่าวทากันที่เคยมีมาแต่เดิม ให้กลายเป็นพลังความร่วมมือ ความสมานฉันท์ เกิดการทำงานในลักษณะ ที่สานประโยชน์ และสานพลัง สุดท้ายผู้ได้รับคุณค่านี้ก็คงหนี ไม่พ้นคนที่ทำงานและสังคม ประชาชน นั่นเอง

เป็นที่น่ายินดีว่าในปัจจุบัน มีเครือข่ายร่วมด้วยช่วยกันในรูปแบบนี้มีถึง ๒๗ เครือข่ายกระจายทั่วประเทศ  ที่สำคัญคือในบางเครือข่าย ผู้ที่ทำหน้าที่หลักสำคัญ ที่คอยดูแลน้องๆในกลุ่มโรงพยาบาลคือคณะแพทยศาสตร์ ที่ตั้งอยู่ทุกภาคของประเทศ อันได้ แก่ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  กลุ่มเครือข่ายโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์   กลุ่มเครือข่ายโรงพยาบาลจังหวัดนครราชสีมา  จึงนับว่าเป็นเครือข่ายที่แข็งแกร่ง ทั้งด้านวิชาการและมิตรภาพระหว่างคนทำงาน

 และเช่นนั้น  หากจะขอหยิบยืมประโยคร่วมสมัย ยอดฮิต ติดอันดับ ในปัจจุบันใช้บ้าง ก็น่าอาจจะเป็นไปได้ที่จะได้รับการขนานนามว่านี่แหละ คือ ” เครือข่าย ปรองดอง”

สวัสดีคะ

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #เครือข่าย
หมายเลขบันทึก: 445459เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2011 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียนแม่ต้อยที่นับถือ

  • น้องมาร่วมสนับสนุนเครือข่ายด้วยคนค่ะ

Ico48

สวัสดีคะ น้องมนัสดา

ดีใจที่สุดเลยละคะ ที่จะมีเครือข่ายที่น่ารักเพิ่มขึ้นอีก

ขอบคุณคะ

เรียนแม่ต้อย ไปสร้าง HACC กับ ม.บูรพา ดีใหม ท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท