ระบบเครือข่าย


สรุประบบเครือข่าย

สรุป ระบบเครือข่าย

ระบบเครือข่าย คือ ระบบคอมพิวเตร์มีตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปที่มีการเชื่อมต่อด้วยเส้นการสื่อสารอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งต้องใช้ทั้งทรัพยากร ข้อมูลไฟล์ร่วมกัน โดยการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์สื่อสารต่างๆผ่านสื่อนำข้อมูล และต้องมี ผู้ส่งข้อมูล ผู้รับข้อมูล ข้อมูล สื่อนำข้อมูล และโปโตคอล เป็นองค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล ซึ่งจะใข้สัญญาณอนาล็อค และดิจิตอลในการส่งสัญญาณ

สัญญาณอนาล็อค เป็นสัญญาณต่อเนื่องส่งเป็นคลื่นไซน์ เช่นโทรทัศน์ มีอัตราความเร็วเป็น Hertx

สัญญาณดิจิตอล เป็นสัญญาณไม่ต่อเนื่องข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเลขฐาน 2 จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิตอลคือ 0 ด้วยกระแสไฟฟ้าที่เป็นกลางและ 1เป็นบวก โดย มีอัตราความเร็วเป็น Bit 

การเชื่อมต่อการสื่อสารมี 2 แบบ แบบจุดต่อจุด และ แบบหลายจุด มีวิธีสื่อสารแบบอนุกรมและขนาน โดยมีรูปแบบารสื่อสาร  2 แบบคือ Asynchronous และ Synchronous มีทิศทางการส่งข้อมูลทั้งเพียงอย่างเดียว แต่ละฝ่ายเป็นที่งผู้รับและส่งได้ แลกเปลี่ยนข้อมูลกันทั้งรับและส่ง

ประเภทของระบบเครือข่าย มี 3 ประเภท คือ เครือข่ายท้องถิ่น(LAN) ,เครื่อข่ายระดับประเทศ(WAN),ครือข่ายระดับเมือง(MAN)

เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่าย

อีเทอร์เน็ต เป็นการเชื่อมต่อแบบสายสัญญาณที่เรียกว่า "บัส"มีสายสัญญาณเส้นเดียวกัน ต่อมามีการพัฒนาอุปกรณ์ที่เรียกว่า "ฮับ" ที่มีโครงสร้างเป็นจุดร่วมของสายสัญญาณที่จะกระจายไปยังทุกสาย มีความเร็วสัญญาณตั้งแต่ 10 ถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที

เครือข่ายไร้สาย ทำงานโดยใช้คลื่นวิทยุรับส่งกันระหว่างอุปกรณ์รับส่งสัญญาณที่ติดตั้งอยู่ในเตรื่องคอมพิวเตอร์ กับสถานรฐาน ซึ่งอุปกรณ์รับส่งแต่ละเครื่องต้องมีอแดปเตอร์ หรือการ์ดแลนไร้สาย โดยมีมาตรฐานการใช้งาน 2 แบบ คือ IEEE 802.11b ในระยะทางที่โล่ง 10 เมตร และ IEEE 802.11 g ในระยะทางี่โล่ง 50 เมตร

รูปแบบการส่งข้อมูลภายในเครือข่าย

Simplex คือ การรับ-ส่งข้อมูลได้อย่างเดียว ไม่สามารถโต้ตอบได้

Duplex คือ ความสามรถรับส่งข้อมูลด้วยุปกรณ์ชิ้นเดียวกัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Half Duplex จะรับ-ส่งข้อมูลได้ แต่ไม่สามารถทำพร้อมกันได้ ส่วน Full Duplex สามรถรับส่งข้อมูลไปพร้อมๆกันได้

แต่มีข้อจำกัดของระบบเครือข่าย การเรียกใช้ข้อมูลทำได้ช้า ข้อมูลไม่สามรถใช้ได้ทันทีและยากต่อการควบคุมและดูแล

รูปแบบของระบบเครือข่ายมี 5 แบบ

1.Mesh ใช้กับเครือข่ายที่ต้องการเสถียรภาพสูง แต่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและสายเคเบิ้ลมากกว่า ยากต่อการติดตั้ง เคลื่อนย้ายและบำรุงรักษาระบบ

2.Bus ง่ายต่อการเชื่อมต่อ ใช้สานเคเบิ้ลน้อยกว่า Star แต่ถ้าสายชำรุดระบบเครือข่ายทั้งหมดไม่สามารถใช้งานได้ ค้นหาตุดที่เกดปัญหาได้ยาก

3.Star ง่ายต่อการต่ออุปกรณ์และเดินสาย เพิ่ม-ลดอุปกรณ์ได้งง่ายต่อการตรวจสอบ แต่สิ้นเปลืองสายเคเบิ้ลมากกว่า Bus ถ้า hub หรือ switch มีปัญหาทำให้ระบบมีปัญหาไปด้วย ค่าใช้จ่ายสูง

4.Tree ในแต่ละส่วนย่อยๆมีการต่อถึงกันแบบ star จึงได้รับข้อดีของstar มาด้วย แต่ระยะทางในส่วนย่อยๆจะถูกจำกัดถ้าสายหลักเสียระบบเครือข่ายจะไม่สามารถใช้งานได้ยากต่อการติดตั้ง

5.Ring ลดจำนวนตัวรับ-ส่งสัญญาณลงครึ่งนึง อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อจะช่วยขยายสัญญาณสามารถต่อเป็นวงใหญ่ได้ แต่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าแบบอื่นเพราะต้องผ่านอุปกรณ์หลายตัว อุปกรณ์เสียหายะทำให้เครือข่ายทั้งหมดใช้งานไม่ได้

องค์ประกอบของเครือข่ายมี ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ตัวกลางนำข้อมูล

1.Routers คือ ตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายหลายเครือข่ายที่มีขนาดต่างกันสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูระหว่างกันได้

2.Switching คือ ตัวกระจายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางคล้ายฮับ

3.Hub คือ ตัวที่ทวนและขยายสัญญาณเพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่นได้ในระยะทางที่ไกลขึ้น

4.Modem คือ ตัวที่แปลงสัญญาณอนาล็อคให้เป็นสัญญาณดิจิทัลและแปลงจากดิจิทัลเป็นอนาล็อคได้เหมือนกันและโมเด็มมี 3 ประเภท มีโมเด็มภายนอก โมเด็มภายใน และโมเด็มไร้สาย

5.การ์ด LAN เป็นการ์ดต่อเครื่องพีซีเข้ากับสาย LAN

ตัวกลางนำข้อมูลที่ใช้มี สายเคเบิ้ลและคลื่นวิทยุ

ส่ายเคเบิ้ลในระบบ LAN มีทั้งชนิดคู่บิดเกลียวหุ้มฉนวน และไม่หุ้มฉนวน  สายโคแอกเชียล และเส้นใยแก้วนำแสง และยังมีการใชแสงอินฟาเรดเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลในระยะใกล้

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ระบบเครือข่าย
หมายเลขบันทึก: 445271เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2011 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 03:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท