การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วม( Common Values) และความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Sensitivity) ครั้งที่ ๑ ตอนที่ ๑ : แนวทางการพัฒนาเยาวชนสู่ประชาคมอาเซียนตามค่านิยมและความเท่าเทียมทางเพศ


ESD จึงเปรียบเสมือนพลังผลักดันที่ขับเคลื่อนให้ประชาคมทุกวัยร่วมแรง-ร่วมใจก้าวไปสู่อนาคตที่มั่นคง

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาดำเนินกิจกรรมโครงการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน : Spirit of ASEAN หลากหลายโครงการฯ หนึ่งในโครงการที่สำคัญคือ การประสานความร่วมมือกับศูนย์ SEAMOLEC   ในการพัฒนาโรงเรียนคู่พัฒนาระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทยและสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านการเรียนรู้ร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ความรู้ วัฒนธรรมและค่านิยมระหว่างกันด้วยวิธีการที่หลากหลาย ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๗ มิถุนายน  ๒๕๕๔  ณ โรงแรม Royal Benja Hotel ,BKK.(ศึกษาเพิ่มเติม)


                     

การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้  ต้องการให้โรงเรียนคู่พัฒนาของประเทศไทยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดทำแนวทางการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วม(Common Values)  และความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Sensitivity) ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมเยาวชนไทยให้มีความพร้อมในการเป็นสมาชิกที่ดีของประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘  
         ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน ๗๕  คนประกอบด้วย
         ศึกษานิเทศก์  ครูผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนคู่พัฒนา  ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์อาเซียนศึกษาและนักวิชาการ

 

                                                  Ms Katie Vanhala, UNESO Specialist

 Ms Katie Vanhala, UNESO Specialist  บรรยายและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง Education for Sustainable Development (ESD) in the Asia-Pacific Region  โดยนำเข้าสู่ประเด็นด้วยคำถามที่ว่า  What is your vision of an ideal future ?

 
                  
                                                                 แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
       
How to achieve the ideal future through Sustainable Development    และเชื่อมต่อไปยัง Education for Sustainable Development (ESD)
มีการซักถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการสอนสิ่งแวดล้อม      การบริการที่ดี การบริหารจัดการ  ฯลฯ  จัดการศึกษา-สอนอย่างไร  เพื่อให้มนุษย์มีคุณภาพที่ดี 

     องค์ประกอบสำคัญที่ต้องบริหารจัดการให้มีความสมดุลย์กันคือ
        ๑ สิ่งแวดล้อม
        ๒ วัฒนธรรม
        ๓ สังคม
        ๔ เศรษฐกิจ
          
ESD จึงเปรียบเสมือนพลังผลักดันที่ขับเคลื่อนให้ประชาคมทุกวัยร่วมแรง-ร่วมใจก้าวไปสู่อนาคตที่มั่นคง

       


ช่วยประชาสัมพันธ์การพัฒนาที่จะนำพามาซึ่งความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมที่มีคุณภาพ  วัฒนธรรมร่วมสมัย  นิเวศวิทยาพิพัฒน์
       พยายามขจัดปัญหาทั้งปัจจุบันและป้องกันเพื่ออนาคต
       ความรู้พื้นฐานสำคัญในการดำเนินการ  ESD  
       วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
       วิทยาศาสตร์สังคม
       มนุษยวิทยา
    
รวมทั้งทักษะสำคัญเกี่ยวกับอารมณ์ ทางสังคม ทักษะสัมพันธ์ระหว่าง  การเอาใจใส่   การร่วมแรง-ร่วมใจ  การทำงานเป็นกลุ่ม การเป็นผู้นำ 

 

                                            MS.Idit Shamir , UNESCO Specialist!


MS.Idit Shamir , UNESCO Specialist
!
บรรยายเรื่อง  Gender Sensitivity  เน้นความเท่าเทียมกันทางเพศ  ในด้านการแสดงออก  การยอมรับสิทธิอย่างเสมอภาค  สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข และมีการบรรยายเสริมเรื่อง The Gender Sensitive Teacher ( ครูที่มีความละเอียดอ่อนต่อความเสมอภาค) สรุปใจความสำคัญดังนี้


                                                *** การรับรู้ถึงความสามารถของผู้เรียน ***

๑ ให้ความสำคัญต่อความสามารถอย่างเท่าเทียมกัน(ทุกเพศและวัย)
๒ สนับสนุนและส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้และการพัฒน่อย่างเต็มตามศักยภาพ((ทุกเพศและวัย)

                                                            ***  ทัศนคติ  ***

มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อผู้เรียนที่มีทัศนคติที่ไม่เป็นมิตรหรือมีอคติทางเพศอย่างระมัดดระวัง   กระตุ้นให้ผู้เรียนได้ทบทวนทัศนคติและป้องกันไม่ให้เกิดทัศนคติที่ไม่ดี

                                                      *** การมีส่วนร่วมต่อผู้เรียน ***

ปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ให้โอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรม  ทั้งการนำเสนอผลงาน  มอบหมายบทบาทความรับผิดชอบ  รวมทั้งการส่งเสริม-สนับสนุนอย่างเท่าเทียมกัน

                                                   *** บรรยากาศการเรียนการสอน ***

ใช้สื่อ-อุปกรณ์ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้กับเพศทั้งสองอย่างเท่าเทียมกัน  ได้เรียนรู้และสามารถพัฒนาร่วมกันได้อย่างเสมอภาค

                                                    *** การให้คำปรึกษา-แนะนำ  ***

ให้คำแนะนำ ส่งเสริม-สนับสนุน บนพื้นฐานของความเสมอภาคทางเพศ ทั้งด้านการเลือกเรียน  การเลือกอาชีพ

                                                ***  การพัฒนาและฝึกฝนบุคลากร *** 

ปรึกษาขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธรการสอนที่เสริมสร้างความเท่าเทียมกันทางเพศจากแหล่งต่างๆ เช่น  จากครูร่วมงาน  ครูใหญ่  เจ้าหน้าที่ประเมินโรงเรียน ผู้ประสานงานด้านความเท่าเทียมทางเพศของกระทรวง  เชี่ยวชาญ  สมาคมฯ องค์กรนอกภาครัฐ( NGO) และจากสื่อต่างๆ


                                               ดร. สุทธิดา จำรัส  จากสถาบันวิทยาศาสตร์

ดร. สุทธิดา จำรัส ได้นำเสนอความรู้เกี่ยวกับ  โครงการต่างๆด้านวิทยาศาสตร์ที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เช่นโครงการ GENERATION Green (GEN Green) การเตรียมเยาวชนให้มีความเข้าใจ  และตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม ( ศึกษาเพิ่มเติม) โดยเชื่อมโยงไปถึงการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และกล่าวถึง Generation ต่างๆเช่น

Baby Bommers(BB)  เป็น รุ่นที่ต้องต่อสู้ชีวิต  จึงมีความขยัน อดทน

Generation X รุ่นนี้ได้รับการอบรมสั่งสอนโดยรุ่น BB  จึงถูกปลูกฝังให้มีความขยันอดทน เรียนหนังสือมากมายและทำงานหนัก  แต่ไม่ก้าวหน้ามากนักเพราะรุ่น BB คอยกำกับอยู่

Generation Y  รุ่นปัจจุบันชอบทำในแบบอย่างของตน ไม่มีความอดทน  เบื่อก็แสดงออก ชอบทำสิ่งที่ท้าทาย แต่ก็สร้างสรรค์  อาชีพ Programmer / จัดว่าเป็นApplicative และเป็นพวก Multi-tasking  สามารถดูหนัง/อ่านหนังสือ/ฟังเพลง/ ทำการบ้าน ในเวลาเดียวกันได้   ชอบเล่นเกมและชอบว่ารุ่นอื่นๆว่า ขี้บ่น

 

                         ฝากให้อ่าน " ต่าง Generation ต่างค่านิยม ( Common Values) "  (คลิ๊กที่นี่)


                                                               thank you graphic                 
                                                  ขอขอบคุณผู้เข้ามาเยี่ยมชมทุกท่านนะคะ !

หมายเลขบันทึก: 444682เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2011 20:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท