"พี่หนาน"
นาย พรพจน์ พี่หนาน เรียงประพัฒน์

หมู่บ้านของผม4 (ประวัติบ้านแพะ4)


การเรียนรู้ประวัติศาสตร์หมู่บ้านจะทำให้เราเข้าใจอดีต ปัจจุบันและอนาคตของหมู่บ้านได้ดี

18/06/2554

1.8  หน่วยงาน/องค์กรในหมู่บ้าน

            บ้านแพะ หมู่ที่  7  มีหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ จำนวนมากทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่เป็นทางการประกอบด้วย

            1)  องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง

            2)  สถานีอนามัยบ้านแพะ/อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

            3)  สวนรุกขชาติบ้านแพะ

            4)  หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ อต.8 (วังเบน)

            5)  จุดตรวจบ้านแพะ (ป้อมตำรวจ)

            6)  โรงเรียนบ้านแพะ

            7)  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแพะ

            8)  วัดราชคีรีวิเศษ

            9)  โบสถ์คริสต์ (โฮงสูตร)

           10)  สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์หมู่บ้าน

           11)  กองทุนหมู่บ้าน

           12)  กองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (กองทุนแม่)

           13)  อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)

           องค์กรที่ไม่เป็นทางการแต่เป็นคณะ กลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่และผ่านการอบรมในองค์กรนั้น ๆ มา ประกอบด้วย

           1)  เกษตรกรผลิตปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดแมลงชีวภาพ

           2)  คณะกรรมการประปาหมู่บ้าน 3 แห่ง

           3)  ลูกเสือชาวบ้าน

           4)  ไทยอาสาป้องกันชาติ

           5)  ราษฎร์อาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.)

           6)  กลุ่มผลิตข้าวกล้องและขนม

           7)  กลุ่มแม่บ้าน

           8)  กลุ่มอาชีพต่าง ๆ

          

1.9  เศรษฐกิจ/อาชีพ

            การทำมาหากิน หรืออาชีพหลักที่ชาวบ้านแพะทำกันเป็นหลักคือ การทำนา  ก่อนหน้านั้นมีการทำไร่อ้อย ข้าวโพด กันมาก ปัจจุบันนิยมปลูกยางพาราแทนการทำไร่อ้อย ข้าวโพด  ซึ่งพื้นที่ที่ใช้ปลูกยางพาราอยู่ในเขตตำบลบ่อทองทุกหมู่บ้าน และรอยต่อระหว่างบ้านแพะ อำเภอทองแสนขัน กับเขตบ้านโป่งแค ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์และเขตอำเภอชาติตระการของจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเดิมเคยเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์  ปัจจุบันมีนายทุน และชาวใต้(ภาคใต้) ที่มีฐานะทางการเงินดีมาบุกเบิก และกว้านซื้อจับจองเป็นเจ้าของกั้นเขตปลูกยางกันเป็นจำนวนมาก มีการออกเอกสารสิทธิ์ สปก. จากเจ้าหน้าที่เขตพิษณุโลกให้กันอย่างทั่วถึง 

            ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากชาวบ้านแพะได้ขายที่ไร่ ที่สวนซึ่งเดิมเคยทำไร่ปลูกอ้อย ข้าวโพด ฝ้าย ถั่ว กันมาก่อนหน้านั้น ให้กับนายทุนและชาวใต้นั่นเอง

            เมื่อว่าตามจำนวนครอบครัวในเขต 3 หมู่บ้านของบ้านแพะทั้งหมด ที่ทำนาและประกอบอาชีพต่าง ๆ แล้ว สามารถกำหนดได้ดังนี้

            ชาวบ้านที่ทำนาเป็นของตนเอง      จำนวน  650  ครอบครัว

            ชาวบ้านที่ทำนาเช่าอย่างเดียว       จำนวน  107  ครอบครัว

            ชาวบ้านที่ทำนาตนเองด้วย เช่าผู้อื่นด้วย   จำนวน  60  ครอบครัว

            ชาวบ้านที่ทำนาของตนเอง และทำสวนของตนเองด้วย   จำนวน  300  ครอบครัว

            ชาวบ้านที่ทำนาด้วย ทำสวนด้วย และเลี้ยงสัตว์ด้วย   จำนวน  100  ครอบครัว

            ยังมีอาชีพเสริมอีกประการหนึ่งที่ช่วยให้ชาวบ้านมีความผูกพันกัน และมีความพอใจในวิถีแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การทอผ้า  การจักสาน  การเลี้ยงสัตว์  การตีมีด  และวิถีตามภูมิปัญญาดังที่กล่าวมาแต่เบื้องต้นด้วย

หมายเลขบันทึก: 444574เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2011 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2012 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท