๑๑๓.ไปดูความคิดพระผู้นำคอมมิวนิสต์ ที่มีวิธีคิดอาจไม่เหมือนไทย


ใช่ เท่าที่ผ่านมาการพัฒนามุ่งไปสู่การพัฒนาวัตถุโดยให้ความสำคัญมากกว่าคน เนื่องจากคนไม่ใช่ประเด็น เพราะคนโดยมากนับถือผีและบรรพบุรุษ เป็นพุทธโดยบัตรประชาชน ที่ระบุในบัตรประชาชนเนื่องจากไปไหนมาไหน สะดวกเพราะได้ชื่อว่าคนลาวแท้ (เนื่องจากรัฐบาลมีกฎหมายห้ามประชาชนบูชาหรือนับถือผี)

 

 

                สาธุบุญทัน  ปุญญกาโม  ถือว่าเป็นประธานองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ (อพส.) แขวงหลวงพระบาง ซึ่งก็คือเจ้าคณะจังหวัดหลวงพระบางนั้นเอง ท่านเป็นพระที่บริหารกิจการคณะสงฆ์

                การเข้าไปสัมภาษณ์ครั้งนี้ เป็นการเข้าไปสัมภาษณ์ครั้งที่ 2 โดยครั้งแรกสัมภาษณ์ ณ กุฎิของท่านที่วัดโพนเพลาเมื่อปี 2552 ครั้งนี้เป็นการสัมภาษณ์ขณะที่ท่านสาธุเป็นประธานสนามสอบโรงเรียนพระปริยัติธรรม ระดับมัธยมปลาย (ม.๗) อยู่  ณ  วัดพระบาท  บางเรื่องบางประเด็นทำให้เห็นถึงแนวคิดที่ ทำให้คนไทยสะดุ้งได้เหมือนกัน เนื่องจากเขามองเรา-ซึ่งแน่นอนต้องต่างจากที่เรามองเขา จึงขอนำเสนอบทสัมภาษณ์ดี ๆ ดังนี้

 

มหาศรีบรรดร  ถิรธมฺโม (ต่อไปจะใช้คำว่า “ผู้สัมภาษณ์”  แทน)

     สบายดีครับสาธุ ผมเห็นการสอบของพระภิกษุสามเณรแล้วรู้สึกดีใจมากครับ แสดงให้เห็นว่าการศึกษาของพระพุทธศาสนากำลังเจริญรุ่งเรือง

สาธุบุญทัน  ปุญญกาโม  (ต่อไปจะใช้คำว่า “สาธุบุญทัน”  แทน)

     สบายดี มาจากไหนกัน?

 

ผู้สัมภาษณ์            :ผมมาจากพะเยาครับ

สาธุบุญทัน           :ดี ๆ

ผู้สัมภาษณ์            :ผมขอเรียนถามเกี่ยวกับพุทธศาสนาในหลวงพระบางเป็นอย่างไรบ้างครับ?

สาธุบุญทัน           :ก็เหมือนไทยนั้นแหละ พระศาสนาก็อันเดียวกัน คำสอนก็อันเดียวกัน (อันนี้แปลกมากเมื่อผู้สัมภาษณ์ไปถามพระหรือโยม-แม้แต่แม่ค้าที่ขายของใส่บาตรข้าวเหนียวก็มักพูดทำนองนี้ – ตามความเข้าใจผู้สัมภาษณ์คิดว่า ๑ คำถามอาจทำให้เขามองเหมือนว่าเราไปดูถูกเขาหรือเปล่า?  ๒ เขาอาจไม่รู้และไม่เข้าใจในจุดประสงค์ที่ถามก็เป็นได้)

ผู้สัมภาษณ์            :ในทัศนะของสาธุ คำว่าพุทธศาสนาเชิงรุกคืออะไร?

สาธุบุญทัน           :สามารถประยุกต์เข้ากับวิชาการทางโลกได้  ไม่ใช่บอกสอนกันสืบ ๆ มาตามมีตามเกิด

ผู้สัมภาษณ์            :พระพุทธศาสนาในหลวงพระบาง 10  ปีที่แล้วกับปัจจุบันสาธุมองเห็นประเด็นนี้ว่าอย่างไร?

สาธุบุญทัน           :มีการขยายตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น มีตำราใหม่ มีระบบใหม่ ๆ เข้ามา มีการจัดการแบบใหม่

ผู้สัมภาษณ์            :แล้วในอนาคตพระพุทธศาสนาในหลวงพระบางเป็นอย่างไรบ้างครับ?

สาธุบุญทัน           :โอกาสดีมาก  รัฐบาลเห็นความสำคัญ  ด้านวัสดุอุปกรณ์ก็ให้การสนับสนุนดี

ผู้สัมภาษณ์            :พุทธศาสนาเชิงรุกในหลวงพระบางเป็นอย่างไรบ้างครับ?

สาธุบุญทัน           :ปัจจุบันคณะสงฆ์หลวงพระบางแบ่งหน้าที่กันทำงานใน  4  ฝ่ายประกอบด้วย

                                1)ฝ่ายการปกครอง  มีสาธุบุญทัน  ปุญญกาโม  เป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ในการปกครองดูแลความเรียบร้อยของพระภิกษุสามเณรในแขวงหลวงพระบาง

                               2)ฝ่ายเผยแผ่ศีลธรรม  มีสาธุอ่อนแก้ว  กิตติภทฺโท  เป็นหัวหน้า  ทำหน้าที่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและอบรมศีลธรรมให้กับประชาชน

                               3)ฝ่ายการศึกษา  มีสาธุจันทริน  จินธมฺโม  เป็นหัวหน้า  ทำหน้าที่จัดการศึกษา ปัจจุบันมีโรงเรียนพระปริยัติธรรมเปิดสอนตั้งแต่มัธยมปีที่ 1-7

                              4)ฝ่ายสาธารณูปการ มีสาธุบุญเลิศ  รวิวณฺโณ  เป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ให้คำปรึกและดูแลการก่อสร้างศาสนวัตถุ

ผู้สัมภาษณ์            :งานด้านการเผยแผ่มีอะไรบ้างครับ?

สาธุบุญทัน           :ในปัจจุบันงานด้านการเผยแผ่ที่ถือว่าเป็นพุทธศาสนาเชิงรุกนั้นมี ดังนี้

      1)โครงการบวชภาคฤดูแล้ง (ภาคฤดูร้อน)

     2)โครงการฝึกอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน

     3)โครงการเมตตาธรรม (เกี่ยวกับผู้ป่วยโรคเอดส์)

     4)โครงการพุทธศาสนาสัญจร

     5)โครงการพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาสังคม ส่วน

     6) การจัดรายการธรรมทางสถานีวิทยุ -โทรทัศน์ และ

     7)การจัดทำวารสาร เพิ่งมี 2-3 ปีที่ผ่านมา

ผู้สัมภาษณ์            :การสาธารณสงเคราะห์ในหลวงพระบางเป็นอย่างไรบ้างครับ?

สาธุบุญทัน           :ได้มีการออกระเบียบให้แต่ละวัดได้สงเคราะห์ตามศักยภาพ โดยเน้นภายในวัดเสียก่อน เฉพาะภายในวัดยังลำบากอยู่ การจะทำการเผื่อแผ่ในลักษณะของประเทศไทยนั้นยังทำไม่ได้ เนื่องจากเหตุปัจจัยและศักยภาพยังมีน้อย

ผู้สัมภาษณ์            :ในทัศนะของสาธุ คำว่าพระหัวก้าวหน้าเป็นอย่างไร?

สาธุบุญทัน           :ในหลวงพระบางมีพระหัวก้าวหน้าเพียง 3  รูปเท่านั้น คือ สาธุบุญทัน สาธุอ่อนแก้ว และสาธุจันทริน  ส่วนนอกนั้นยังมีความเชื่อแบบเดิมอยู่มาก

ผู้สัมภาษณ์            :ถ้าอย่างนั้นการทำงานด้านพระพุทธศาสนาก็มีปัญหาสิครับ?

สาธุบุญทัน           :ใช่  เท่าที่ผ่านมาการพัฒนามุ่งไปสู่การพัฒนาวัตถุโดยให้ความสำคัญมากกว่าคน เนื่องจากคนไม่ใช่ประเด็น เพราะคนโดยมากนับถือผีและบรรพบุรุษ เป็นพุทธโดยบัตรประชาชน ที่ระบุในบัตรประชาชนเนื่องจากไปไหนมาไหน สะดวกเพราะได้ชื่อว่าคนลาวแท้ (เนื่องจากรัฐบาลมีกฎหมายห้ามประชาชนบูชาหรือนับถือผี)

ผู้สัมภาษณ์            :ถ้าทางวัดจะจัดงานฝึกอบรม หรืองานด้านพุทธศาสนาเชิงรุกจะดำเนินการอย่างไร?

สาธุบุญทัน           :อันนี้เป็นเรื่องใหญ่ การจะดำเนินการใดใดต้องขออนุญาตจากภาครัฐเสียก่อน  เท่าที่ผ่านมาได้จัดบอร์ดแสดงวันสำคัญทางพุทธศาสนาและกิจกรรมของวัด การนำเด็กนักเรียนมาตอบปัญหาธรรมะ ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องขออนุญาตก่อนทั้งสิ้น

ผู้สัมภาษณ์            :เมื่อจัดงานวัดขึ้นมา มีการโฆษณาอย่างไรบ้างครับ?

สาธุบุญทัน           :เมื่อมีงานก็ปรึกษาชาวบ้าน  เขาก็จะบอกต่อปากต่อปาก  ส่วนการจัดโฆษณานั้น มันเหมือนกับการโฆษณาสินค้า อันหมายถึงธุรกิจการค้า ไม่ใช่การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ผู้สัมภาษณ์            :แล้วการเผยแผ่ธรรมะ  ละครับจะแทรกอยู่ตรงไหน?

สาธุบุญทัน           :วัดต้องแทรกในตอนใดตอนหนึ่ง  จะทำการบรรยายแบบตรง  ๆ  ไม่ได้ต้องแอบ ๆ ค่อย ๆ แทรกเอา

ผู้สัมภาษณ์            :ในเมืองไทย เวลามีงานวัดจะมีการประดับประดาธงทิว ไฟ สี-แสง-เสียง แต่ทางนี้เป็นอย่างไรบ้างครับ?

สาธุบุญทัน           :การประดับประดา การปักธงทิว ผมว่ามันเหมือนลิเก ไม่มีประโยชน์ทำให้สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เมื่องานเสร็จก็กลายเป็นขยะไป

ผู้สัมภาษณ์            :ขอบคุณมากครับ สาธุที่กรุณาให้สัมภาษณ์?

สาธุบุญทัน           :ไม่เป็นไร  และท่านยังฝากคำว่า  ไทย-เสรี มีหัว  แต่ลาว-เสรี บ่มีหัว มีแต่ผม  ซึ่งเป็นคำคมส่งท้ายท่านอาจจะหมายถึงอะไร อย่างไร จึงนำมาฝากไว้ซึ่งแล้วแต่ใครจะตีความหมาย

หมายเลขบันทึก: 444296เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2011 17:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท