สายน้ำ สายชีวิต : น้ำไปไหน...?


สืบเนื่องจากบันทึก...สายน้ำ สายชีวิต : พลังของหยดน้ำ...


 

ในวันสุดท้ายสำหรับการเดินป่าประจำปี ๒๕๔๔ นั้น คณะฯเดินทางของเรา มีแผนการเดินทางโดยเริ่มต้นจากอุทยานแห่งชาติออบขาน สิ้นสุดลงที่บ้านหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

นับตั้งแต่ออกเดินทาง ข้าพเจ้าได้ข้ามฝั่งมาอยู่ทางฝั่งซ้ายของลำน้ำขาน โดยข้ามสะพานตรงที่ทำการอุทยานแห่งชาติออบขาน
ย้อนกลับไปตลอดทั้งคืนก่อนการเดินทางวันนั้น ข้าพเจ้านอนฝังเสียงน้ำกระทบโขดหิน ยิ่งฝนตก เสียงน้ำก็เหมือนจะยิ่งดังขึ้นและดังขึ้น

ครั้นเมื่อเริ่มต้นออกเดินทาง เสียงน้ำกระทบโขดหินก็ยังเป็นเพื่อนร่วมเดินทางจนกระทั่งพ้นประตูหน้าด้านของอุทยานแห่งชาติออบขาน

ข้าพเจ้าคิดดีใจอยู่ลึก ๆ ข้างในว่า กลับไปเชียงใหม่คราวนี้ คงจะเห็นน้ำอยู่เต็มในคลองชลประทาน ทั้งคลองสายใหญ่ สายเล็ก และสายน้อย
แต่เมื่อการเดินทางผ่านไปสามถึงสี่ชั่วโมงพอพ้นจากตัวอำเภอหางดง ทะลุออกมาถนนเลียบคลองชลประทาน ข้าพเจ้ากลับพบกับคลองน้ำที่ตื้นเขินและมีน้ำไหลเอื่อย ๆ....

น้ำที่เยอะแยะมากมายเมื่อสักครู่นี้หายไปไหน...?
เป็นคำถามที่ข้าพเจ้าตั้งขึ้นครั้นเมื่อเห็นคลองชลประทานที่ตื้นเขิน
ข้าพเจ้านั่งขบคิดเรื่องนี้อยู่หลายวัน จนกระทั่งได้มีโอกาสเดินทางไปพำนักอาศัยในเขตอำเภอแม่แตง ก็จึงได้ทราบคำตอบเบื้องต้นว่า ต้นตอน้ำของคลองชลประทานมาจากเขาอีกฝั่งหนึ่ง คือทางอำเภอแม่แตง ซึ่งเป็นน้ำใส ไหลเย็น ไม่ใช่ทางอำเภอแม่วางที่มีน้ำป่าไหลบ่าอย่างมโหฬารเมื่อครั้นยามฝนตก

หลายปีก่อนสถานที่พักของข้าพเจ้าเกิดประสบปัญหาสภาวะ “แห้งแล้ง” ไม่มีน้ำที่จะสูบเข้ามาเพื่อรดน้ำต้นไม้ อันเกิดจากสาเหตุจากคลองส่งน้ำสายย่อยที่ไหลผ่านด้านหน้าพื้นที่งดการส่งน้ำ ซึ่งมีเหตุจากน้ำในคลองสายใหญ่ไม่เพียงพอต่อการใช้ของคนทั้งเมือง


 แล้วน้ำทางอำเภอแม่วางไปที่ไหน...?
น้ำสายเล็ก ๆ ที่ข้าพเจ้าไปรองไว้ดื่มนั้นถึงแม้จะขุ่นแต่ก็เย็นจับใจ


น้ำสายใหญ่ที่ไหลแรงดูเหมือนน่ากลัว แต่ก็เป็นมิตรแท้สำหรับพี่น้องเกษตรกรไทยที่อาศัย “น้ำ” เป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต

น้ำทางฝั่งอำเภอแม่วาง คงจะไหลเรื่อยไปลงน้ำสายใหญ่ แม่น้ำที่จะไหลเรื่อยลงไปสู่ “ทะเล”
ปริมาณน้ำที่เยอะขนาดนั้นในยามหน้าแล้ง คงจะเพียงพอสำหรับเกษตรสองฟากฝั่งลุ่มแม่น้ำปิง
ครั้นเมื่อไหลเป็นบรรจบเข้าเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาชาวนาทั้งสองฝั่งน้ำคงหน้าชื่นตาบาน

แต่อีกสองถึงสามเดือนของหน้าครั้นกาลเวลาผันผ่านเข้าสู่ฤดูฝน
น้ำที่เพียงพอก็เกินพอ
น้ำที่ควรอยู่ในเรือก สวน ไร่ นา ก็พากันเฮละโลมาท่วมขังตามเรือนชาน บ้านช่อง

ปีนี้น้ำมาก ฝนตกตั้งแต่ช่วงกลางฤดูร้อน
น้ำที่มากในช่วงกลางฤดูร้อน จะมากเพียงใดในช่วงกลางฤดูฝน
เป็นปัญหาที่น่าขบคิด
เราจะทำอย่างไรกับพี่น้องชาวไทยสองฟากฝั่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
เราจะมีวิธีป้องกันอย่างไรสำหรับชาวไทยที่เข้าไปอาศัยอยู่ในกรุงเทพเมืองฟ้าอมร
ยามค่ำคืนเราจะนอนตาหลับได้อย่างไร เพราะไม่ทราบว่าเมื่อใดน้ำจะไหลเข้าบ้านเรา...?


 

หมายเลขบันทึก: 444118เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2011 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ภาพสวยดี เนื้อหาน่าสนใจมาก

อาจารย์ปภังกรหายไปนาน เพิ่งกลับจากเดินป่าครั้งนี้เหรอค่ะ อยากมีโอกาสเช่นนี้สักครั้งในชีวิตค่ะ

สายน้ำป่าเขาตามธรรมชาติ

เป็นที่น่ารื่นรมย์เสมอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท