จิตติ์ ดวงบุปผาวงค์
พระครูปลัด จิตติชัย จิตติชโย มาตย์วงค์

การพัฒนาชุมชน


ชุมชนวัดศรีสุพรรณ 
อ.เมือง จ.เชียงใหม่
บทนำ
กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานที่ทำงานด้านการพัฒนาชุมชนร่วมกับประชาชน              ตลอดระยะเวลา48 ปี  โดยมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืนและมีเป้าหมายสู่ชุมชนเข้มแข็ง   ประชาชนพึ่งตนเองได้  ครอบครัวมีคุณภาพชีวิตดี มีความสุขบทบาทหน้าที่ของกรมการพัฒนาชุมชน ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2552 ให้กรมการพัฒนาชุมชน มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพโดยสนับสนุนให้มีการจัดทำและใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศ ศึกษา วิเคราะห์         วิจัย   จัดทำยุทธศาสตร์ชุมชนตลอดจนการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาชุมชน เพื่อให้เป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนโดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ และแนวทางในการพัฒนาชุมชนระดับชาติเพื่อให้หน่วยงานของรัฐ เอกชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการพัฒนาชุมชน ได้ใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างความสามารถและความเข้มแข็งของชุมชน
2. จัดทำและพัฒนาระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับประเมินความก้าวหน้าและมาตรฐานการพัฒนาของชุมชน“...ขอบใจมาก ที่ต้องเหน็ดเหนื่อยทำงานในหมู่บ้านชนบท และต้องประสบปัญหาต่างๆมากมาย ขอให้ช่วยกันพัฒนาคนให้มีความฉลาด สามารถช่วยตนเองได้... ในการแนะนำส่งเสริมอาชีพ หรือให้คำแนะนำเรื่องต่างๆ ต้องทำให้บ่อยๆ ไม่ใช่พูดหรือทำหนเดียว... ความมั่นคงของประชาชนในชนบทเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างชาติ และป้องกันประเทศเป็น อย่างดี...”พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯพระราชทานแก่พัฒนากร ในโอกาสเสด็จไปทรงกระทำพิธีเปิดเขื่อนและการพลังงานไฟฟ้าแม่น้ำพุง จ.สกลนคร เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2508
3. พัฒนาระบบและกลไกในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การจัดการความรู้ การอาชีพ การออมและการบริหารจัดการเงินทุนของชุมชน เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของประชาชน ชุมชน       ผู้นำชุมชนองค์การชุมชน และเครือข่ายองค์การชุมชน
4. สนับสนุนและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศชุมชน ส่งเสริมการใช้ประโยชน์และการให้บริการข้อมูลสารสนเทศชุมชน เพื่อใช้ในการวางแผนบริหารการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา และสร้างองค์ความรู้เพื่อใช้ในงานพัฒนาชุมชน และการจัดทำยุทธศาสตร์ชุมชน
6. ฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน องค์การชุมชน และเครือข่ายองค์การชุมชนให้มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และสมรรถนะในการทำงาน รวมทั้งให้ความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาชุมชนแก่หน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม  หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
 การพัฒนาชุมชน
การพัฒนา และชุมชนการพัฒนา  หมายถึง ทำให้เจริญ การเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนสภาพ ปรับปรุงให้ต่างจากเดิม
ชุมชน  หมายถึง  การรวมตัวของบุคคล กลุ่ม/องค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชน และประชาชนที่อาศัยอยู่ในขอบเขตพื้นที่หนึ่ง ๆ ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ระดับพื้นฐานที่สุด คือหมู่บ้าน หรือชุมชนในรูปแบบอื่น ๆ ที่มีมารวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหาเดียวกัน เช่น ชุมชนลุ่มน้ำ ชุมชนวัฒนธรรม เป็นต้น
การพัฒนาชุมชน (Community Development) ตามหลักการพื้นฐานเป็นกระบวนการให้การศึกษา (educational process) แก่ประชาชนเพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ (self – reliance) หรือช่วยตนเองได้ (self – help) ในการคิด ตัดสินใจ และดำเนินการแก้ปัญหา ตลอดจนตอบสนองความต้องการของตนเอง และส่วนรวม    การพัฒนาความคิด  ความสามารถของประชาชนให้เกิดความเชื่อมั่น ช่วยเหลือตนเอง        เพื่อบ้าน และชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้มีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยความร่วมมือของราษฎรและภาครัฐ
การพัฒนาชุมชนโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม
1.1  แนวคิดการพัฒนาชุมชน
1.1.1 ความหมายการพัฒนาชุมชน การพัฒนาชุมชน ประกอบด้วย 2 คำ คือ
1.1.2 ปรัชญาการพัฒนาชุมชนปรัชญาพื้นฐานเบื้องต้นของนักพัฒนาชุมชน คือ ความเชื่อมั่นและศรัทธาในมนุษยชาติว่ามนุษย์ทุกชีวิต มีคุณค่ามีความหมาย มีศักดิ์ศรี มีศักยภาพ และ สามารถพัฒนาได้ถ้ามีโอกาส
1.1.3   หลักการพัฒนาชุมชน คือ หลักประชาชน กล่าวคือ
1. เริ่มต้นที่ประชาชน ยืนจุดเดียวกับประชาชน มองโลก มองชีวิต มองปัญหา จากทัศนะของประชาชน เพื่อให้เข้าใจปัญหา ความต้องการของประชาชน เพื่อให้เข้าถึงชีวิต จิตใจ ของประชาชน
2. ทำงานร่วมกับประชาชน (ไม่ใช่ทำงานให้แก่ประชาชน เพราะจะทำให้เกิดความคิดมาทวงบุญทวงคุณจากประชาชนในภายหลัง) การที่จะทำให้ประชาชนเข้าใจปัญหาของตนเอง   และมีกำลังใจลุกขึ้นต่อสู้กับปัญหา  ช่วยกันคิด  ช่วยกันแก้ไขปัญหา นั้นย่อมมีหนทางที่จะกระทำได้โดยไม่ยากหากเข้าใจปัญหาและเข้าถึงจิตใจประชาชน
3. ยึดประชาชนเป็นพระเอก ประชาชนต้องเป็นผู้กระทำการพัฒนาด้วยตนเอง ไม่ใช่ เป็นผู้ถูกกระทำ หรือฝ่ายรองรับข้างเดียว เพราะผลของการกระทำการพัฒนานั้น ตกอยู่ที่ประชาชนโดยตรงประชาชน เป็นผู้รับโชค หรือ เคราะห์จากการพัฒนา นั้น
1.1.4   วิธีการพัฒนาชุมชน เป็นวิธีการพื้นฐานของการพัฒนาชุมชน คือ
1. การรวมกลุ่ม หรือ จัดตั้งองค์กรประชาชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน ซึ่งเป็นสมาชิก มีบทบาท และ มีส่วนร่วม ในกิจกรรมของกลุ่ม/องค์กร ซึ่งจะส่งผลกระทบไปถึงส่วนรวมด้วย
2. การส่งเสริม/สร้างสรรค์ผู้นำและอาสาสมัคร เพื่อเปิดโอกาสและสนับสนุนให้ประชาชน มีความพร้อมจะ เป็นผู้นำ และ เป็นผู้เสียสละ ได้อุทิศตน ได้แสดงบทบาท มีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาชุมชน โดยส่วนรวม
1.1.5   กระบวนการพัฒนาชุมชน การปฏิบัติงานพัฒนาชุมชนเป็นงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องเป็นกระบวนการ และต้องอาศัยหลักการมีส่วนร่วมในการพัฒนาซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาในทุกระดับเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมคิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การติดตามประเมินผลในกิจกรรม/โครงการของชุมชน เป็นการสร้าง/ปลูกฝังจิตสำนึกในความเป็นเจ้าของกิจกรรม/โครงการ นั้น โดยกระบวนการพัฒนาชุมชนที่ประชาชนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนมีดังนี้
1. การศึกษาชุมชน เป็นการเสาะแสวงหาข้อมูลต่าง ๆ ในชุมชน เช่น ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคมการเมือง การปกครอง และสภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชน เพื่อทราบปัญหาและความต้องการของชุมชนที่แท้จริง วิธีการในการศึกษาชุมชนอาจต้องใช้หลายวิธีประกอบกันทั้งการสัมภาษณ์ การสังเกต การสำรวจ และการศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนด้วย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด กลวิธีที่สำคัญที่นักพัฒนาต้องใช้ในขั้นตอนนี้ คือ การสร้างความสัมพันธ์กับคนในชุมชน เพราะถ้าหากปราศจากสัมพันธภาพที่ดีระหว่างพัฒนากรกับชาวบ้าน แล้วเป็นการยากที่จะได้รู้ และเข้าใจปัญหาความต้องการจริง ๆของชาวบ้าน ความสัมพันธ์อันดี จนถึงขั้นความสนิทสนม รักใคร่ ศรัทธา จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชน
2. การให้การศึกษาแก่ชุมชน เป็นการสนทนา วิเคราะห์ปัญหาร่วมกับประชาชนเป็นการนำข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากขั้นตอนการศึกษาชุมชน มาวิเคราะห์ถึงปัญหาความต้องการและสภาพที่เป็นจริงผลกระทบ ความรุนแรง และความเสียหายต่อชุมชน กลวิธีที่สำคัญในขั้นตอนนี้ คือ การกระตุ้นให้ประชาชนได้รู้เข้าใจ และตระหนักในปัญหาของชุมชน ซึ่งในปัจจุบันก็คือ การจัดเวทีประชาคม เพื่อค้นหาปัญหาร่วมกันของชุมชน
3. การวางแผน / โครงการ เป็นขั้นตอนให้ประชาชนร่วมตัดสินใจ และกำหนดโครงการ เป็นการนำเอาปัญหาที่ประชาชนตระหนัก และยอมรับว่าเป็นปัญหาของชุมชนมาร่วมกันหาสาเหตุ แนวทางแก้ไข และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจที่จะแก้ไขภายใต้ขีดความสามารถของประชาชน และการแสวงหาความช่วยเหลือจากภายนอก กลวิธีที่สำคัญในขั้นตอนนี้ คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการแก้ไขปัญหา วิธีการวางแผน การเขียนโครงการ โดยใช้เทคนิคการวางแผนแบบให้ประชาชนมีส่วนร่วม
4. การดำเนินงานตามแผนและโครงการ โดยมีผู้รับผิดชอบในการดำเนินการตามแผนและโครงการที่ได้ตกลงกันไว้ กลวิธีที่สำคัญในขั้นตอนนี้ คือ การเป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุนใน 2 ลักษณะ คือ
4.1 เป็นผู้ปฏิบัติงานทางวิชาการ เช่น แนะนำการปฏิบัติงาน ให้คำปรึกษาหารือในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
4.2 เป็นผู้ส่งเสริมให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานการติดตามประเมินผล เป็นการติดตามความก้าวหน้าของงานที่ดำเนินการตามโครงการเพื่อการปรับปรุงแก้ไขปัญหา อุปสรรคที่พบได้อย่างทันท่วงที กลวิธีที่สำคัญในขั้นตอนนี้ คือ การติดตามดูแลการทำงานที่ประชาชนทำ เพื่อทราบผลความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรค แล้วนำผลการปฏิบัติงานตามโครงการ หรือกิจกรรมไปเผยแพร่เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบ
1.2   การพัฒนาแบบมีส่วนร่วมกระบวนการมีส่วนร่วม นับเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาในทุกระดับเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมคิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การติดตามประเมินผลในกิจกรรม/โครงการของชุมชน เป็นการสร้าง/ปลูกฝังจิตสำนึกในความเป็นเจ้าของกิจกรรม/โครงการ นั้นปัจจุบัน แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา (People Paticipation forDevelopment) ได้รับการยอมรับและใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในงานพัฒนาทุกภาคส่วนหรือในลักษณะเบญจภาคี ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และประชาชน รวมพลังกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ขั้นตอนการมีส่วนร่วม มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1  การมีส่วนร่วมในขั้นการริเริ่มการพัฒนา เป็นขั้นตอนที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหา/สาเหตุของปัญหาภายในชุมชน ตลอดจนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจกำหนดความต้องการของชุมชน และจัดลำดับความสำคัญของความต้องการของชุมชน
ขั้นตอนที่ 2  การมีส่วนร่วมในขั้นการวางแผนในการพัฒนาซึ่งเป็นขั้นตอนของการกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ของโครงการ วิธีการตลอดจนแนวทางการดำเนินงานและทรัพยากรที่จะใช้
ขั้นตอนที่ 3  การมีส่วนร่วมในขั้นตอนการดำเนินการพัฒนา เป็นส่วนที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ เทคโนโลยี ฯลฯ จากองค์กรภาคีพัฒนา
ขั้นตอนที่ 4  การมีส่วนร่วมในขั้นตอนรับผลประโยชน์จากการพัฒนา ซึ่งเป็นทั้งการได้รับผลประโยชน์ทางด้านวัตถุและทางด้านจิตใจ
ขั้นตอนที่ 5  การมีส่วนร่วมในขั้นประเมินผลการพัฒนา เป็นการประเมินว่า การที่ประชาชนเข้าร่วมพัฒนา ได้ดำเนินการสำเร็จตามวัตถุประสงค์เพียงใด การประเมินอาจประเมินแบบย่อย(Formative Evaluation) เป็นการประเมินผลความก้าวหน้าเป็นระยะๆ หรืออาจประเมินผลรวม (Summative Evaluation) ซึ่งเป็นการประเมินผลสรุปรวมยอด
1.2.1 ปัจจัยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนการที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วม นอกจากการปลูกฝังจิตสำนึกแล้วจะต้องมีการส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางซึ่งควรพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. ปัจจัยเกี่ยวกับกลไกของภาครัฐ ทั้งในระดับนโยบายมาตรการ และการปฏิบัติที่เอื้ออำนวย รวมทั้งการสร้างช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน จำเป็นที่จะต้องทำให้การพัฒนาเป็นระบบเปิดมีความเป็นประชาธิปไตย มีความโปร่งใส รับฟังความคิดเห็นของประชาชน และมีการตรวจสอบได้
2. ปัจจัยด้านประชาชน ที่มีสำนึกต่อปัญหาและประโยชน์ร่วมมีสำนึกต่อความสามารถและภูมิปัญญาในการจัดการปัญหาซึ่งเกิดจากประสบการณ์และการเรียนรู้ ซึ่งรวมถึงการสร้างพลังเชื่อมโยงในรูปกลุ่มองค์กร เครือข่ายและประชาสังคม
3. ปัจจัยด้านนักพัฒนาและองค์กรพัฒนา ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทในการส่งเสริมกระตุ้น สร้างจิตสำนึก เอื้ออำนวยกระบวนการพัฒนาสนับสนุนข้อมูลข่าวสารและทรัพยากรและร่วมเรียนรู้กับสมาชิกชุมชน
1.2.2 ปัญหาอุปสรรคที่มีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน
1. อุปสรรคด้านการเมือง เกิดจากการไม่ได้กระจายอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่ประชาชน โครงสร้างอำนาจทางการเมือง การปกครอง การบริหาร เศรษฐกิจ ถูกควบคุมโดยคนกลุ่มน้อยทหาร นายทุน และข้าราชการ ขาดกลไกที่มีประสิทธิภาพในการแจกแจงทรัพยากร
2. อุปสรรคด้านเศรษฐกิจ เกิดจากการขาดความสามารถในการ พึ่ง ตนเอง อำนาจการต่อรองมีน้อย กระบวนการผลิต ปัจจัยการผลิตอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ ความแตกต่างในสังคม ด้านรายได้ อำนาจ และฐานะทางเศรษฐกิจ
3. อุปสรรคด้านวัฒนธรรม ขนบประเพณีในแต่ละพื้นที่ที่ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้เนื่องจากขัดต่อขนบธรรมเนียงประเพณีของชุมชน/เผ่า
1.3   การดำเนินการโครงการกิจกรรมของกรมการพัฒนาชุมชนโครงการหรือกิจกรรมการพัฒนาชุมชน หมายถึง การกระทำใดๆ ก็ตามที่เกิดจากความคิดริเริ่มของประชาชน จากปัญหา/ความต้องการของประชาชน โดยการช่วยกันคิด ร่วมกันตัดสินใจ ช่วยกันวางแผน และร่วมกันดำเนินการของประชาชน เพื่อแก้ปัญหาและสนองความต้องการของประชาชนทั้งชุมชน หรือของประชาชนส่วนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่ง โดยมีพัฒนากรเป็นผู้เอื้ออำนวยให้ประชาชนเป็นผู้ริเริ่มหรือเป็นเจ้าของโครงการโดยมีตัวอย่างโครงการกิจกรรมที่กรมการพัฒนาชุมชนดำเนินการ ดังนี้
1.3.1   การพัฒนาผู้นำชุมชนและอาสาสมัครวัตถุประสงค์ เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเสียสละอุทิศตนเพื่อส่วนรวม มีบทบาทและส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและการดำเนินกิจกรรมพัฒนาของชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดความต่อเนื่องในการรวมกลุ่ม การพัฒนาศักยภาพ และการดำเนินกิจกรรมให้เกิดผลงานอย่างเป็นรูปธรรม
1.3.2   พัฒนากลุ่ม/องค์กร/เครือข่ายวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนรวมตัวกันทำกิจกรรมร่วมกันในลักษณะกลุ่ม/องค์กรชุมชน เช่น คณะกรรมการพัฒนาสตรี กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มอาชีพ ฯลฯ รวมทั้งสนับสนุนให้กลุ่ม/องค์กรชุมชน รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายต่างๆ เช่น สมาพันธ์องค์การพัฒนาชุมชนแห่งประเทศไทยสมาคมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนไทย สมาคมผู้นำสตรีพัฒนาชุมชนไทย สมาคมผู้นำอาชีพก้าวหน้า (สิงห์ทอง)4 ภาค ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน (ศอช.)
1.3.3  การพัฒนาแผนชุมชนวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ให้คนในชุมชนช่วยกันคิด ร่วมกันตัดสินใจ ช่วยกันวางแผน ร่วมกันดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาและสนองความต้องการของประชาชนทั้งชุมชน ซึ่งจะทำให้ชุมชนได้ทำความรู้จักและประเมินศักยภาพของชุมชน และกำหนดอนาคตทิศทางของชุมชน ทำให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้และสร้างชุมชนให้เข้มแข็งได้
1.3.4 ส่งเสริมการออมทรัพย์เพื่อการผลิตวัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนรวมตัวกันระดมเงินออมเพื่อเป็นทุนของชุมชน สนับสนุนการพัฒนาด้านการบริหารและจัดการเงินทุนในเชิงธุรกิจ เพื่อพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตโดยยึดหลักคุณธรรมและการพึ่งตนเองเป็นฐานไปสู่สถาบันนิติบุคคล
1.3.5  ส่งเสริมการจัดตั้งสถาบันจัดการเงินทุนชุมชน โดยการบูรณาการ เชื่อมโยงกลุ่มองค์กรกองทุนการเงินต่าง ๆ รวมกันบริหารจัดการเงินทุนในชุมชน เพื่อให้เกิดการใช้เงินทุนในชุมชนอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุดวัตถุประสงค์ เพื่อให้การจัดการเงินทุนชุมชนเป็นระบบมีความเป็นเอกภาพสามารถแก้ไขปัญหาพัฒนาเศรษฐกิจและพัฒนาสังคมให้ชุมชน เพื่อเป็นแหล่งเงินออม แหล่งทุน สวัสดิการของชุมชน และเพื่อเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชน
1.3.6  ศูนย์เรียนรู้ชุมชนวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ในชุมชนให้เป็นระบบสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชน และคนภายนอกชุมชน ในการพัฒนาความคิด พัฒนาอาชีพ และรายได้ รวมทั้งแก้ไขปัญหาอื่น ๆ ของคนในชุมชน
ชุมชนวัดศรีสุพรรณ
 ความเป็นมาของกลุ่ม
จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่มเกิดจากความเสื่อมถอยของภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องเงิน วัวลาย อันเป็นมรดกที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษมามากว่า 200  ปี ดังเป็นที่ประจักษ์แก่คนในท้องถิ่น พระครูพิทักษ์สุทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณร่วมกับภูมิปัญญาชาวบ้านส่วนหนึ่งได้ตระหนักเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์และสืบสานมรดกชิ้นนี้ขึ้น จึงจัดกิจกรรมส่งเสริม พัฒนาหัตถกรรมเครื่อง   เงินวัวลายในโอกาสจัดงาน “มรดกล้านนา ภูมิปัญญาท้องถิ่น 500 ปี วัดศรีสุพรรณ” และอนุญาตพื้นที่ส่วนหนึ่งของวัดเป็นที่ทำการของกลุ่มนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นและพัฒนาการตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
วัตถุประสงค์ของกลุ่ม
1. เพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริมและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องเงิน อะลูมิเนียมของ  บ้านศรีสุพรรณ
2. เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องเงิน
3. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ รายได้ ความเป็นอยู่ของชาวบ้านศรีสุพรรณให้เข้มแข็งอีกทางเลือกหนึ่ง
4. เพื่อส่งเสริมให้วัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
 ภารกิจของกลุ่ม
1. จัดการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นระยะสั้นและตามอัธยาศัย
2. ผลิตและจำหน่ายหัตถกรรมเครื่องเงิน แผ่นภาพดุนลายของที่ระลึก ฯลฯ
3. จัดตั้ง “ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน: ในรูปแบบสหกรณ์” เพื่อส่งเสริมด้านการตลาดและกระจายรายได้แก่ชุมชนท้องถิ่นอย่างทั่วถึง
4. ร่วมกับวัดศรีสุพรรณจัดสร้างอุโบสถเงิน ศาสนาสถานหลังแรกของโลก เพื่อฝากศิลป์แก่แผ่นดินถิ่นล้านนา ถวายไว้ในบวรพระพุทธศาสนา เทิดไท้องค์ราชันย์ รัชกาลที่ 9
ชุมชนวัดศรีสุพรรณ เดิมเป็นชุมชนช่างเงินมาแต่โบราณ มีการสืบทอดความรู้กันมาเป็นทอดๆ จนคนรู้จักกันไปทั่ว ถ้าจะซื้อเครื่องเงินสวยๆ ต้องมาที่ถนนวัวลาย ต่อมาเมื่อเชียงใหม่พัฒนาเจริญขึ้น อาชีพและวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ดั้งเดิมของชาวบ้านศรีสุพรรณค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป จนน่าเป็นห่วงที่ของดีมีคุณค่ามาอยู่ในสภาวะเสื่อมถอยลงไปเรื่อยๆ”ภาวะการเปลี่ยนแปลงนี้อยู่ในการครุ่นคิดคำนึงของผู้นำและสมาชิกชุมชนศรีสุพรรณมาโดยตลอด จนกระทั่งเจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณได้ปรึกษาหารือกับสล่าช่างเงิน ครูดิเรก สิทธิการ เอ..เราจะช่วยกันอนุรักษ์และพัฒนามรดกภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของหมู่เฮา ชิ้นนี้ไว้ได้อย่างไร     เรื่องที่ปรึกษากันถูกนำไปสู่การพูดคุยกับสมาชิกชุมชนศรีสุพรรณจนค่อย ๆ เป็นรูปธรรม
ในงานเฉลิมฉลองครบรอบ 500  ปี ของวัดศรีสุพรรณ ชุมชนจึงได้ร่วมกันจัดงาน “มรดกล้านนา  ภูมิปัญญาท้องถิ่น 500 ปี วัดศรีสุพรรณ” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2543 มีการคิดค้นกระตุ้นให้ผู้มีฝีมือได้มีเวทีแสดงออกในกิจกรรมแข่งขันการดุลลาย และการออกร้านการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องเงินจึงเกิดขึ้นในงานจากงานนี้เองที่เป็นจุดประกายเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่มหัตถศิลป์ล้านนาวัดศรีสุพรรณ      ทางเจ้าอาวาส คณะกรรมการวัด    ยินดีให้ใช้ลานวัด เป็นที่ตั้งกลุ่มจัดกิจกรรมของกลุ่มกลุ่มทำอะไรกันบ้างที่ผ่านมา จากเดิมที่ช่างแต่ละคนต่างคนต่างทำมาสู่การรวมกลุ่มทำงานในวัดทำให้คนรู้จักมากขึ้น กลุ่มมีการรับทำและจำหน่ายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องเงินและอลูมิเนียม เป็นการสร้างงานให้แก่สมาชิกที่เข้ามารวมกลุ่มกัน ทุกคนพอมีรายได้ในการดำรงชีพ ช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน หากต่างคนต่างทำจะไม่มีคนรู้จักหรือมักจะแข่งกันตัดราคาจนทำไปก็อยู่ไม่ได้
กิจกรรมสำคัญของกลุ่มในลำดับต่อมาคือการจัดการเรียนการสอน ถ่ายทอดความรู้ การทำหัตถกรรมเครื่องเงิน ให้แก่เด็ก เยาวชน และผู้สนใจเป็นการเรียนรู้ตามอัธยาศัย เข้ามาสมัคร ตอนไหน     ก็ได้ เข้ามาเรียนรู้จากช่างในกลุ่ม ผู้เข้ามาเรียนรุ่นพี่ๆ เรียนด้วยการลงมือทำ สอนจับค้อน จับเหล็กตอกลาย หัดตอก ดุลลายง่ายๆ ที่พี่ๆ หรือช่างช่วยร่างลายให้ก่อน ตอกลายผิดก็มีช่างช่วยแก้ไขให้ พอเริ่มทำคล่อง แล้วเริ่มดุลลายยากๆ  “ยิ่งทำ ยิ่งปฏิบัติมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งคล่อง ยิ่งงดงามมากขึ้นๆ ชิ้นแรกย่อมไม่งามเท่าชิ้นที่ร้อย ชิ้นที่ 1000 ย่อมงามกว่าชิ้นที่ร้อย การทำผิดทำพลาดเป็นครูโดยมีช่างแนะนำ   สอนให้ยามติดขัด” ครูดิเรก  อธิบายการสอนกันแบบธรรมชาติแบบกันเอง ยิ่งทำ ยิ่งงาม ยิ่งทำยิ่งผิดพลาดน้อยลง ความชำนาญยิ่งมากขึ้น ยิ่งทำยิ่งมีสมาธิ ยิ่งทำยิ่งจินตนาการลวดลาย ของแต่ละคนตามสิ่งที่รักที่ชอบ ที่งอกงามขึ้นจากลวดลายแบบดั้งเดิมที่เป็นลายแม่แบบผลงานของช่างและศิษย์ทุกคน  ถูกนำมารวมอยู่        ใต้เพิง  ใส่ไว้ในตู้โชว์  จำหน่ายให้ผู้สนใจได้ซื้อหาในราคาย่อมเยา  หรือสั่งแบบที่ต้องการก็คุยกับช่างได้ เอาแบบนั้น  แบบนี้    
ภาพเด็กชายที่พ่อแม่ส่งเข้าวัด มาบวชเรียนธรรมะ ศึกษาตำราหาความรู้ต่างๆ ในอดีต จนกระทั่งบทบาทการจัดการศึกษาของวัดค่อยๆลดหายไป เด็กๆถูกส่งไปเรียนอยู่ในโรงเรียน เด็กห่างไกลจากวัดมากขึ้นทุกทีแต่วัดศรีสุพรรณได้เปิดลานวัดให้เกิดการจัดการศึกษาเรียนรู้ให้กับ เด็กเยาวชนคนในชุมชน และคนทั่วไป กลุ่มหัตถศิลป์ล้านนาเองก็พร้อมที่จะเปิดรับผู้สืบทอดความรู้การดุลเครื่องเงินเสมอรอยยิ้มของครูดิเรก สิทธิการ และสมาชิกที่ทำงานสานศิลป์ร่วมกัน  บ่งบอกถึงความภาคภูมิ ที่มีผู้คนให้ความสนใจงานของกลุ่มมากขึ้น   ขณะที่งานก็ทำให้มีชีวิตอยู่ได้ท่ามกลางเศรษฐกิจปัจจุบันอย่างพอเพียงห้องเรียนบนลานวัด แห่งนี้ เป็นอีกบทหนึ่งของเส้นทางการศึกษาที่คุณค่าไม่น้อยกว่าการเรียนในห้องเรียน ย่านถนนวัวลาย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นับเป็นแหล่งผลิตเครื่องเงินที่มีชื่อเสียง ทั้งยังเป็นคลังสมองของสล่ายอดฝีมือในหัตถกรรมเครื่องเงิน กลุ่มผู้ผลิตเครื่องเงิน จะกระจายอยู่ใน 3 ชุมชนหลัก คือ ชุมชนวัดศรีสุพรรณ เดิมเป็นชุมชนช่างเงินมาแต่โบราณ มีการสืบทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่นกว่า 200 ปี
แต่หลังจากความเจริญมีมากขึ้นวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ดั้งเดิมของชาวบ้านศรีสุพรรณ  จึงเริ่มเปลี่ยนแปลงไปคนรุ่นใหม่พากันหางานหาอาชีพที่ไม่ต้องออกแรง จนชุมชนเกรงว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นจะค่อยๆ เลือนหายไป    จึงเป็นแรงบันดาลใจให้คนในชุมชน ร่วมกันก่อตั้ง "กลุ่มหัตถศิลป์ล้านนาวัดศรีสุพรรณ" เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น   และสร้างงานให้แก่สมาชิกที่เข้ามารวมกลุ่ม ให้ทุกคนพอมีรายได้ในการ    ดำรงชีพ  ขณะที่อีก 2 ชุมชน อย่าง ชุมชนวัดหมื่นสาร และ ชุมชนวัดวัวลาย   ก็มีการตั้งกลุ่มผลิตสินค้าหัตถกรรมเครื่องเงินอยู่ในย่านเดียวกัน    มีการผลิตเครื่องเงินในรูปแบบผลิตภัณฑ์หลากหลาย ทั้งเครื่องใช้ ในชีวิตประจำวันตามแบบฉบับล้านนา รวมถึงเครื่องประดับ   สร้างรายได้ให้กับชุมชนรวมแล้วปีละกว่า 80 ล้านบาท  ในอดีตทั้ง 3 ชุมชนเคยประสบภาวะเศรษฐกิจขาลง   นับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้ง       ในปี  2540   ต่อเนื่องจนถึงวิกฤติเศรษฐกิจโลก "แฮมเบอร์เกอร์" ครั้งล่าสุด ทำให้กำลังซื้อหดหายไปแล้วกว่าร้อยละ 50 ทำให้ผู้ผลิตเครื่องเงินในย่านถนนวัวลาย ต้องปรับตัว   เพื่อให้ธุรกิจและคนในชุมชนอยู่รอดท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจทั้งในประเทศ และเศรษฐกิจโลกอยู่ในสภาพผันผวน
กมลพรรณ สุทธิ หัวหน้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนวัดศรีสุพรรณ กล่าวว่า ยอดขายที่ลดลง ส่งผลกระทบกับผู้ผลิตเครื่องเงิน โดยเฉพาะรายย่อยที่มีการผลิตเครื่องเงินเป็นอาชีพหลักในครอบครัว    กลุ่มชาวบ้านที่ผลิตเครื่องเงินในชุมชนวัดศรีสุพรรณ    จึงรวมตัวจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อพัฒนา  และยกระดับตัวผลิตภัณฑ์ และสร้างช่องทางการตลาดอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนแก่เศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น
ศูนย์วิสาหกิจชุมชนแห่งนี้   จะนำผลิตภัณฑ์เครื่องเงินที่ผลิตจากกลุ่มหัตถศิลป์ที่รวบรวมช่าง หรือ สล่าเครื่องเงินของชุมชนมาจัดจำหน่าย   ทั้งทางตรงภายในศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใน    วัดศรีสุพรรณ และกระจายสินค้าส่งไปจำหน่ายตามแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ทั้งในและนอกจังหวัดให้มากที่สุด     นอกจากนี้ ยังเดินหน้าขยายฐานลูกค้าให้กว้างมากขึ้น   จากเดิมที่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวและลูกค้าภายในจังหวัดเป็นหลัก   ขยายเพิ่มเป็นกลุ่มลูกค้าในต่างประเทศทั้งแถบเอเชียและยุโรป ซึ่งศึกษาข้อมูลพบว่าชื่นชอบ    และมีความต้องผลิตภัณฑ์เครื่องเงินจำนวนมาก    กมลพรรณ บอกว่า การขยายฐานลูกค้าไปยังตลาดต่างประเทศใช้ช่องทางอีคอมเมิร์ซผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก   โดยเริ่มมีการสั่งซื้อเข้ามาแล้วจำนวนหนึ่ง ขณะที่ล่าสุดวิสาหกิจชุมชนวัดศรีสุพรรณยังได้ขอรับการส่งเสริมทางการตลาดจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จ. เชียงใหม่ ไปพร้อมกัน   ขณะเดียวกัน วิสาหกิจชุมชนวัดศรีสุพรรณ       ยังเห็นว่า ด้วยพื้นฐาน    ความเป็นมาและฝีมือในเชิงช่างของชาวบ้าน ยังสามารถที่จะพัฒนาศักยภาพในการผลิตเครื่องเงินได้อีกมาก    จึงมีการรวมตัวกับชุมชนวัวลาย และชุมชนหมื่นสาร ซึ่งเป็นชุมชนหัตถกรรมเครื่องเงินในย่านเดียวกัน รวมตัวในรูปแบบของ "คลัสเตอร์" เพื่อร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องเงิน และความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด   ความพยายามดังกล่าวเชื่อว่าจะช่วยกระจายรายได้แก่ประชาชนในท้องถิ่นอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ทั้งจะช่วยให้ผู้ผลิตเครื่องเงินในชุมชนศรีสุพรรณ
รวมถึงสมาชิก "คลัสเตอร์" ทั้งสามชุมชน พยุงตัวและฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจที่กำลังเป็นอยู่ไปได้ โดยได้รับผลกระทบน้อยที่สุด    ที่สำคัญ ยังเป็นการรักษาภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดจากบรรพบุรุษมามากกว่า 200 ปี ให้คงอยู่สืบไป
พระครูพิทักษ์สุทธิคุณ จัดตั้ง “กลุ่มหัตถศิลป์ล้านนาวัดศรีสุพรรณ” เพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริมชุมชนเครื่องเงินพื้นบ้าน“หัตถกรรมเครื่องเงิน” นับเป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่สืบทอดมาหลายชั่วคน ภูมิปัญญาเชิงช่างแขนงนี้ ได้พัฒนาจนกลายเป็นอาชีพหลักของคนในชุมชนสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ไม่น้อยหน้าวิชาชีพอื่นขณะเดียวกัน “อุโบสถเงิน” หลังแรกและหลังเดียวในโลกภายในวัดศรีสุพรรณ ยังกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ยืนยัน ถึงความรุ่งเรืองของ การทำเครื่องเงินของชุมชนวัดศรีสุพรรณได้เป็นอย่างดี
แหล่งผลิตเครื่องเงิน
1.  แหล่งผลิตเครื่องเงินหรือ”คัวเงิน” ในเวียงเชียงใหม่ ที่เก่าแก่คือบ้านวัวลายและบ้านศรีสุพรรณทั้งสองชุมชนตั้งอยู่ 2 ฟากถนนวัวลาย เมื่อออกจากประตูเชียงใหม่ด้านซ้ายมือเป็นบ้านวัวลาย มีวัดหมื่นสารซึ่งสร้างสมัยพญาสามฝั่งแกน (พ.ศ.1945-1984) เป็นศูนย์กลาง ปัจจุบันเรียกชุมชนหมื่นสารบ้านวัวลาย ด้านขวามือเป็นบ้านศรีสุพรรณ มีวัดศรีสุพรรณซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ. 2043 สมัยพระเมืองแก้ว (พ.ศ.2038-2068) เป็นศูนย์กลาง ปัจจุบันเรียกชุมชนวัดศรีสุพรรณ บรรพบุรุษของคนทั้งสองชุมชนมาจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำคง(สาละวิน) เมื่อ พศ.2342 สมัยพระเจ้ากาวิละครองเชียงใหม่ (พ.ศ.2325-2358) เอกสารสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2440)จึงระบุว่าวัดหมื่นสานนิกายงัวลายตามชื่อบ้านงัวลายที่แม่น้ำคงฝั่งตะวันตก และวัดสุภันหรือวัดศรีสุพรรณว่านิกายครงหรือคงตามชื่อแม่น้ำคง
2.  แหล่งผลิตเครื่องเขินหรือ “คัวฮักคัวหาง” ในเชียงใหม่ที่สำคัญคือ บ้านนันทารามหรือบ้านเขินมีวัดนันทารามเป็นศูนย์กลางอยู่ทางด้านใต้ของวัดหมื่นสาร เป็นชุมชนเก่าอย่างน้อยตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังราย ยุคนั้นวัดนี้มีพระสงฆ์ที่
คำสำคัญ (Tags): #ศึกษาชุมชน
หมายเลขบันทึก: 443996เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2011 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2020 15:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท