การต่อสู้ทางวิชาการ “หญ้าหวาน” จากพืชไม่ปลอดภัย สู่พืชเพื่อสุขภาพ


หญ้าหวาน Stevioside

การต่อสู้ทางวิชาการ “หญ้าหวาน” จากพืชไม่ปลอดภัย สู่พืชเพื่อสุขภาพ

หญ้าหวาน ถูกใช้เป็นพืชให้สารหวาน มีความหวานแต่ไม่ให้พลังงาน เป็นสารหวานเทียมที่ได้จากธรรมชาติ มีความหวานกว่าน้ำตาลธรรมดาประมาณ 300 เท่ามีการใช้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะอย่างยิ่งในญี่ปุ่น และเอเชีย เป็นพืชพื้นเมืองของบราซิลและปารากวัยในแถบทวีปอเมริกาใต้ มีการค้นพบ โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกาใต้ เมื่อปี 1887  คือ 113 ปีมาแล้ว และเป็นพืชที่ปลูกได้ดีในทวีปเอเชีย และเริ่มมีการใช้กันอย่างกว้างขวางเพิ่มขึ้น โดยไม่ได้มีรายงานด้านผลกระทบต่อสุขภาพใดๆต่อผู้บริโภคในขณะนั้น

http://www.herbalone.net/2011/images/stories/herb/stevia.jpg

จนกระทั่งมีรายงานผลงานวิจัยด้านลบครั้งแรก ต่อสารหวานในหญ้าหวาน โดยเริ่มขึ้น ในเดือนเมษายน ปี 1985 มีรายงานผลงานวิจัยของ John M. Pezzuto นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันและคณะ  ตีพิมพ์ในวารสาร Proc. Nati. Acad. Sci. ซึ่งเป็นวารสารด้าน Medical Sciences รายงานผลงานวิจัยเรื่อง “Metabolically activated steviol, the aglycone of stevioside, is mutagenic” โดยระบุว่า Steviol ซึ่งเป็น Aglycone ของ Stevioside สารหวานหลักในหญ้าหวาน ทำให้เกิดการ mutagenic สูงมากในหนูทดลอง อย่างไรก็ตามสาร Stevioside และ dihydrosteviol A และ B ซึ่งเป็นกลุ่มของสารหวานในหญ้าหวานด้วยนั้น ไม่มี mutagenic effect

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/1/18/Steviol3d.png

รายงานของ John M. Pezzuto นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันและคณะ ฉบับนี้ มีผลทำให้  องค์การอาหารและยา United States Food and Drug Administration (FDA) ของอเมริกา ประกาศว่า หญ้าหวานไม่ปลอดภัย ไม่ให้ใช้เป็นสารปรุงแต่งในอาหาร "unsafe food additive" ซึ่งมีผลกระทบโดยกว้างทั่วโลก เพราะหลายประเทศได้ประกาศห้ามใช้ รวมถึงประเทศไทยในสมัย นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี

 

ต่อมาในปี 1991 นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ Emily Procinska และคณะได้รายงานผลงานวิจัย ในวารสาร Mutagenesis โดยรายงานเกี่ยวกับ 15-Oxosteviol ซึ่งได้จาก metabolite ของ   steviol ไม่มีผลการ mutagenic แต่อย่างไร ทั้งนี้ได้ทดลองซ้ำหลายรอบและค้านรายงานของ John M. Pezzuto ว่าอาจมีข้อผิดพลาด

 

หลังจากนั้นเป็นต้นมา ก็ได้มีรายงานต่างๆออกมาเยอะที่ระบุถึงผลของ mutagenic ในสารสกัดจากหญ้าหวานนั้นมีผลน้อยมากและคัดค้านรายงานของ John M. Pezzuto เช่น ผลงานของนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่น M. Matsui และคณะ ตีพิมพ์ในวารสาร Mutagenesis ในปี 1996 ระบุว่า Stevioside ไม่ mutagenic ในการทดลองด้วยเทคนิค 7 เทคนิคหลักของวิธีทดสอบ mutagenicity ไม่ว่าจะเป็นการใช้ bacteria (reverse mutation assay, forward mutation assay, umu test and rec assay), การทำ cultured mammalian cells (chromosomal aberration test และ gene mutation assay) และ mice (micronucleus test) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ตัว Steviol ซึ่งเป็น Aglycone ของ Stevioside สารหวานหลักในหญ้าหวาน มีผลบ้างเล็กน้อยมาก ในบางการทดสอบ แต่ตัว Steviol เองก็มิใช่สารหวานหลัก เพราะตัวสารหวานหลักคือ Stevioside นั่นเอง ซึ่ง ในปี 2007 นักวิทยาศาสตร์จากบลาซิล A. P.M. Nunes และคณะ ก็ได้รายงานผลวิจัยที่สนับสนุน M. Matsui โดย ตีพิมพ์งานวิจัยในวารสาร Food and Chemical Toxicology

 

ต่อมามีการตรวจสอบ 16 งานวิจัยที่ศึกษาการเกิด mutagenic และความเป็นพิษพบว่า 14 รายงานไม่พบการเกิด mutagenic และความเป็นพิษจาก Stevioside และรายงานวิจัย 11 ฉบับจาก 15 ฉบับพบว่า steviol ไม่มีพิษ สำหรับ Rebaudioside A. นั้นไม่มีรายงานความเป็นพิษเลย และไม่มีหลักฐานที่ระบุว่าองค์ประกอบใดๆทางเคมีของหญ้าหวานทำให้เกิดข้อบกพร่องหรือเกิดโรคมะเร็ง

 

นอกจากนี้ ยังพบว่ามีรายงานวิจัยที่ส่งผลทางบวกของสารสกัดในหญ้าหวานออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่นการเพิ่มการตอบสนองและส่งเสริมการสร้างของ insulin ในหนูทดลอง ซึ่งเป็นผลงานของนักวิทยาศาสตร์ไทย ดร. วิฑูร แสงศิริสุวรรณ และคณะ จากมหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ตีพิมพ์ในวารสาร Metabolism ในปี 2004 และอีกผลงานเป็นของนักวิทยาศาสตร์ชาวเดนมาร์คชื่อ P. B. Jeppesen และคณะตีพิมพ์ในวารสาร Metabolism ในปี 2003

 

ในต่อสู้ในเชิงวิชาการที่จะหักล้างรายงานด้านลบของหญ้าหวานฉบับแรกเมื่อปี 1985 ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และ FDA ของอเมริกาเองก็ยังไม่สั่งระงับการห้ามใช้หญ้าหวานในการเป็นสารหวานในอาหารอันมีผลทำให้หลายๆประเทศรวมทั้งไทยเองก็ยังไม่สามารถใช้สารหวานจากหญ้าหวานนี้ได้ ทั้งๆที่ประเทศไทยสามารถปลูกหญ้าหวานได้เยอะแต่ไม่สามารถสกัดสารหวานหรือใช้สารหวานดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ในแวดวงอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ทั่วโลกมีการส่งเรื่องร้องเรียนเรื่องการต่อสู้กันทางวิชาการมากมายจนในที่สุด องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ก็ยื่นมือเข้ามาไกล่เกลี่ย

 

ในปี 2006 องค์การอนามัยโลกหรือ World Health Organization (WHO) ได้รายงานการประเมินผลอย่างละเอียดของรายงานผลงานวิจัยต่างๆของ stevioside และ steviols ที่ดำเนินการในสัตว์และคนและสรุปว่า stevioside และ rebaudioside รวมถึงอนุพันธุ์ที่เกิด Oxidative แล้วไม่เป็นพิษในหลอดทดลองหรือในร่างกาย และยังประกาศว่าไม่มีหลักฐานใดๆที่จะก่อให้เกิดมะเร็ง นอกจากนี้ WHO ยังระบุว่า stevioside มีผลทางเภสัชวิทยาในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน

http://www.chaoprayanews.com/wp-content/uploads/2009/11/who-logo.jpg 

WHO ร่วมกับคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญของวัตถุเจือปนอาหารได้รับรองการใช้สารหวานจากหญ้าหวาน โดยอ้างอิงถึงผลการศึกษาในระยะยาวในการบริโภคต่อเนื่องของ Steviol glycoside ถึง 4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว

 

และในที่สุด ต้นปี 2009 ในประเทศสหรัฐอเมริกาโดย FDA สหรัฐก็ได้พิจารณาและประกาศว่า หญ้าหวานได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าปลอดภัย “Generally Recognized As Safe (GRAS)" โดยอ้างอิงถึงรายงานผลงานวิจัยของตัวเองที่รายงานด้านความเป็นพิษ LD50  5.2 กรัม / น้ำหนัก กก. สำหรับแฮมสเตอร์เพศผู้ และ 6.1 กรัม / น้ำหนัก กก. สำหรับแฮมสเตอร์เพศเมีย และอ้างอิงถึงรายงานวิจัยทางบวกจากนานาชาติ

 

ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า The Coca-Cola Company ของอเมริกาได้ประกาศสิทธิบัตรการใช้สารหวานจากหญ้าหวานในเครื่องดื่มและอาหารเสริมอย่างเป็นทางการในปีเดียวกับที่ FDA ประกาศรองรับ

 http://schlotzskys.files.wordpress.com/2010/07/coca_cola_large.gif

ระหว่างเส้นทางการต่อสู้ประเทศมหาอำนาจด้วยผลงานทางวิชาการ บริษัทผลิตสารหวานเทียมสังเคราะห์ ก็มีผลประกอบการที่ร่ำรวยก้าวหน้ามั่นคงและมีผลกำไรจากรายงานความเป็นอันตรายจากหญ้าหวานในปี 1985 และ USA Coca Cola ก็มารับช่วงต่อ เมื่อสารหวานจากหญ้าหวานได้รับการยอมรับ

 

เรื่องโดย

รองศาสตราจารย์ ดร. วีรชัย พุทธวงศ์

นักวิทยาศาสตร์ กลุ่มผู้พัฒนาเทคนิคการสกัดสารสำคัญจากพืช(รวม Stevioside จากหญ้าหวาน)โดยการจับก้อนด้วยไฟฟ้า (Electrocoagulation Chemistry)

http://ecx.images-amazon.com/images/I/41ihNWwGspL._SL500_AA300_.jpg

ภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ (Tags): #หญ้าหวาน Stevioside
หมายเลขบันทึก: 443723เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2011 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • พี่อ๊อดครับ
  • หญ้าหวานน่าสนใจมาก
  • แต่ภาพมันไม่มา
  • ขอบคุณครับ

อย. บ้านเรา เขาจะรับรองผลิตภัณฑ์ ประเภทนี้ไหมครับ จะได้ไม่ต้องนำเข้ามาขาย หรือเอาเงินไปซื้อผลิตภัณฑ์ที่ ตปท. แล้วพกมาใช้เมืองไทยเป็นคราวๆไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท