ปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น :การตรวจทางระบบผิวหนัง:คำศัพท์


การตรวจลักษณะทั่วๆไปของผิวหนัง

  • สีผิว (Colour)

  • ดูความชุ่มชื้นของผิวหนัง(Moisture)

  • ความยืดหยุ่นของผิวหนัง(Turgor) 

  • Texture เป็นความรู้สึกเมื่อคลำผิวหนังว่ามีความรู้สึกเช่นใด เช่น อ่อนนุ่ม หยาบ แข็ง ขรุขระ เหี่ยวย่น

  • Temperature การคลำเพื่อตรวจดูอุณหภูมิของผิวหนัง

  • Skin rash ผื่นผิวหนัง (เป็นการเรียกชื่อความผิดปกติของผิวหนังในทางการแพทย์)

  • Macule อ่านว่า มาคูล หมายถึง ผื่นผิวหนังที่มีลักษณะแบนราบกับผิวหนัง จะมีความผิดปกติเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของสี เช่น ด่างขาว เส้นเลือดฝอยแตก

  • Papule อ่านว่า แพพูล หมายถึง ตุ่มนูนเหนือระดับผิวหนังแต่มีขนาดเล็ก ไม่เกิน ๑ ซม. ผิวอาจเรียบหรือขรุขระหรือมีรอยบุ๋มตรงกลาง เช่น หูด สิว

  • Plaque อ่านว่า พลาค หมายถึงผื่นนูนเหนือระดับผิวหนังโดยจะมีขนาดความกว้างมากกว่าความสูง ส่วนใหญ่จะเกิดจากแพพูลหลายอันมารวมกันเช่นโรคสะเก็ดเงิน(Psoriasis)

  • Nodule อ่านว่า โนดูล หมายถึง ตุ่มที่คลำได้ขนาดใหญ่กว่า ๑ ซม.และอยู่ลึกกว่า แพพูล เช่น โรคเรื้อน  มะเร็งผิวหนัง

  • Wheal อ่านว่า วีล หมายถึง ผื่นบวมนูนรูปร่างกลมหรือรี เกิดจากการบวมน้ำและหายไปได้เองในเวลาไม่นานเช่น ลมพิษ(Urticaria)

  • Vesicle อ่านว่า เวสิเคิล หมายถึงตุ่มน้ำใสขนาดเล็ก มีของเหลวอยู่ภายใน ถ้ามีขนาดใหญ่เกิน 0.5 ซม.เรียกว่า บูลลา(Bulla)เช่นเริม(Herpes simplex)อีสุกอีใส(Varicella)

  • Pustule อ่านว่า พัสตูล หมายถึง หนองที่เกิดจากเวสิเคิล หรือบูลลาที่ของเหลวภายในเกิดการติดเชื้อและเป็นหนองขึ้น

  • Cyst อ่านว่า ซีสต์ หมายถึง ถุงซึ่งภายในมีของเหลวอยู่

  • Crust อ่านว่า ครัสต์ หมายถึง พวกน้ำเหลือง เลือดหรือหนองที่แห้งเป็นสะเก็ดบนผิวหนัง

  • Ulcer อ่านว่า อัลเวอร์ หมายถึง แผลเป็นพยาธิสภาพที่เกิดอาการหลุดลอกของหนังกำพร้าและหนังแท้

  • Scar อ่านว่า สการ์ หมายถึง แผลเป็นที่เกิดจากแผลหายแล้ว

  • Scale อ่านว่า สเคล หมายถึง ขุ่ยซึ่งเกิดจากการหลุดออกของผิวหนัง อาจพบในฤดูหนาวที่อากาสแห้งหรือพบได้ในโรคสะเก็ดปลา(Icthyosis)โรคดอกกุหลาบ(Pityriasis rosea)

  • Fissure อ่านว่า ฟิสเซ่อร์ หมายถึงรอยแตกของผิวหนังซึ่งลึกลงในตัวชั้นใต้ผิวหนัง(Dermis)และมักจะมีอาการเจ็บเช่น เท้าแตก มุมปากแตก(Angular stomatitis)

  • Edema อ่านว่า อิดีม่า หมายถึง(บวม) การมีสารน้ำคั่งในเนื้อเยื่อระหว่างเซลล์ในปริมาณที่มากกว่าปกติ ซึ่งดูได้จากการสังเกตหรือมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

  • Locallised Edema หมายถึงอาการบวมเฉพาะที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเช่น แขน ขา

  • Generalised Edema หมายถึง อาการบวมทั่วตัวซึ่งเกิดจากการคั่งของสารโซเดี่ยม

  • Pitting Edema หมายถึง พยาธิสภาพที่มีสารน้ำในเนื้อเยื่อระหว่างเซลล์สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก อาจมีสาเหตุจากการบวมทั่วไปหรือความผิดปกติของหลอดเลือด

  • Non-Pitting Edema หมายถึง พยาธิสภาพที่สารน้ำเคลื่อนไหวไม่ได้สะดวก สาเหตุสำคัญคือการอุดกั้นในทางเดินน้ำเหลือง

  • Petechia อ่านว่า เพติเชีย หมายถึง เลือดออกใต้ผิวหนังหรือเยื่อบุลักษณะเป็นจุดเล็กๆ ขนาด 1-3 มิลลิเมตร เป็นจุดสีแดง ไม่นูน กดไม่จาง

  • Purpura อ่านว่า เพอร์พิวรา หมายถึง เลือดออกที่ผิวหนังขนาดโตขึ้น 3-10 มิลลิเมตร สีแดงหรือม่วง กดไม่จาง ถ้าเป็นความผิดปกติของเกร็ดเลือดจะไม่นูน ถ้าเกิดเพราะการอักเสบของหลอดเลือดจะนูนซึ่งเป็นลักษณะของหลอดเลือดอักเสบ(Vesculilis)

  • Hematoma อ่านว่า ฮีมาโตม่า หมายถึงก้อนเลือดออกในเนื้อเยื่อชั้นลึกเช่นกล้ามเนื้อหรือในเนื้อเยื่ออ่อนนุ่ม

  • Hemarthrosis อ่านว่า ฮีมาร์โธรซิส หมายถึง การมีก้อนเลือดออกในข้อ

 

 

หมายเลขบันทึก: 442444เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2011 21:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท