ส่งเสริมสุขภาพ/ป้องกันความบกพร่องทางจิตสังคม


กิจกรรมบำบัดศึกษาอุ่นเครื่องนศ.กบ.ชั้นปีที่ 4 ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมบำบัดเพื่อการส่งเสริมสุขภาพจิต ได้ผลลัพธ์ตอบโจทย์หลังจากการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา มีปัญหานำ และมีการวิพากษ์ระหว่างกลุ่มได้อย่างน่าสนใจ

KM-1st PBL

  ทำอย่างไรจะส่งเสริมสุขภาพและป้องกันด้วยระบบที่มีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล และคุ้มค่า

กลุ่มที่ 1

1.  กระบวนการแรกรับ -> ญาติประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นอสม. หรือตำรวจ เพื่อนำส่งสถานบำบัด โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย

2. แพทย์ตรวจอาการเบื้องต้น (ภายใน 48 ชั่วโมง) พร้อมแนบ ตจ.1

      - ญาติยินยอม -> ส่งตัวไปสถานบำบัด
      - ญาติไม่ยินยอม -> ทำตามกฎหมาย
3. ประเมิน
   - ไม่รับ (กรณีที่ตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติทางจิตเวช)
      -> แนะนำการส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรมยามว่าง กิจกรรมที่สนใจ
      -> ทักษะการจัดการความเครียด การจัดการเวลา เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต   
   - รับ -> การรักษาโดยทีมสหวิชาชีพ ประเมินแรกรับ โดยประเมินตามบทบาทของแต่ละวิชาชีพ เช่น นักกิจกรรมบำบัดประเมินความสนใจ ความสามารถ โดยดูจากบริบท เช่น ครอบครัว อาชีพ
   - ให้การบำบัดฟื้นฟู ประเมินซ้ำ และดูความก้าวหน้าของอาการเป็นระยะๆ (ตลอดการให้การบำบัดฟื้นฟู
4. การประชุมทีมสหวิชาชีพ ก่อนการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากสถานบำบัด
   4.1 จำหน่าย
       - ญาติรับ -> ส่งเสริมอาชีพให้เหมาะสมกับความสามารถ และบริบท
                 -> แนะนำญาติในการดูแลผู้ป่วย เช่น การทานยา การสังเกตอาการ เป็นต้น
       - ไม่มีญาติ -> ประสานงานกับนักสังคมสงเคราะห์ ในการส่งต่อไปยังสถานสงเคราะห์ ซึ่งเมื่อส่งต่อแล้ว จะให้คำแนะนำแก่ผู้ดูแลถึง ตัวโรค อาการ ผลข้างเคียงของยา การรับประทานยา โดยจะมี อสม. คอยติดตามผลและนำยามาให้ทุกเดือน
   4.2 ไม่จำหน่าย -> ทำการประเมินซ้ำโดยทีมสหวิชาชีพ
5. กรณีที่จำหน่าย -> ทีมสหวิชาชีพจะติดตามผลเป็นระยะๆ โดยติดตามผล เดือนละครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นจะเป็นทุกๆ 3 เดือนจนครบ 1 ปี
   แบ่งออกเป็น
   - การเยี่ยมบ้าน
   - การมาตามนัดของแพทย์ (ที่สถานบำบัด)
กลุ่มที่ 2
 
1.ชุมชน
1.1  ส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตในชุมชนเป็นประจำ เช่น กิจกรรมผ่อนคลายความเครียด
1.2  ให้ความรู้กับคนในชุมชนเรื่องการจัดการกับผู้ป่วยทางจิตที่พบในชุมชน เช่น ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ สถานีอนามัย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
2.การส่งตัวผู้มีปัญหาทางจิตเข้าสถานพยาบาล
2.1  เป็นไปตามกระบวนการทางการแพทย์ของสถานพยาบาล
2.2  เมื่อผู้รับบริการมีอาการทางจิตที่ไม่อยู่ในภาวะอันตรายแล้วจึงรับเข้ารับการบริการทางกิจกรรมบำบัด โดยเริ่มจากประเมินความสามารถในการประกอบกิจกรรม เช่น กิจวัตรประจำวัน การประกอบอาชีพ และความสนใจในการประกอบกิจกรรม
3.การบริการ/การบำบัดฟื้นฟู
3.1 ประเมินความสามารถในการเข้ากลุ่มกิจกรรม
3.2  จำลองสถานการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
3.3  นันทนาการ
3.4  ส่งเสริมอาชีพ
3.5  กิจกรรมในกิจวัตรประจำวัน
3.6  ให้ความรู้เรื่องสิทธิต่างๆ เช่น การเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ การประกอบอาชีพ
3.7  รายงานความก้าวหน้าให้ทีมสหวิชาชีพทราบ
4.การจำหน่ายผู้รับบริการ
4.1  ประเมินก่อนการจำหน่ายออกร่วมกับทีมสหวิชาชีพ
4.2  ให้ความรู้กับญาติในกรณีที่ผู้รับบริการกลับไปอยู่บ้าน
4.3  ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น นักสังคมสงเคราะห์ในกรณีที่ผู้รับบริการไม่มีผู้ดูแล
5.การติดตามผล
5.1 สร้างความรู้ความเข้าใจในชุมชนให้ชุมชนยอมรับและเห็นความสามารถของผู้รับบริการ
5.2 ติดตามการกลับไปประกอบกิจวัตรประจำวันที่บ้านและการประกอบอาชีพ
 
กลุ่มที่ 3
 
1. สร้างทีมสหวิชาชีพ(แพทย์, พยาบาล, นักจิตวิทยา, นักกิจกรรมบำบัด, นักสังคมสงเคราะห์) ให้เข้มแข็ง
2. ทีมสหวิชาชีพประสานงานกับหน่วยงานในชุมชน และคนในชุมชน ในเรื่องของการให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ เมื่อพบผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต
3. แนะนำให้ผู้นำชุมชน จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพทางจิตร่วมกันในชุมชน และครอบครัว
4. ทีมสหวิชาชีพสร้างทัศนคติเชิงบวกในการยอมรับและยินยอมการบำบัดฟื้นฟูของผู้รับบริการในชุมชน
5. ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต และผู้ดูแล
 
กลุ่มที่ 4
 
1. การวางแผนรับผู้รับบริการสามารถทำได้ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ

- เชิงรับ : การที่พบอาการป่วยของผู้รับบริการ  แล้วมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการนำผู้ป่วยส่งต่อเพื่อรับการรักษา
- เชิงรุก: การเข้าไปสำรวจ  จัดกิจกรรม   ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพจิต  เพื่อค้นหาผู้รับบริการที่คาดว่าจะพบปัญหาด้านสุขภาพจิต  พร้อมทั้งเป็นการป้องกันการเกิดปัญหาอื่นๆตามมา
 
2. การคัดกรองผู้รับบริการแรกรับร่วมกับสหวิชาชีพ หาปัญหาที่แท้จริงของผู้รับบริการ  เพื่อให้สามารถแบ่งผู้รับบริการได้ชัดเจน  โดยดำเนินการตามสิทธิที่ผู้รับบริการพึงได้รับตามหลัก พรบ.ส่งเสริมสุขภาพจิต 2551 โดยแบ่งเป็น
- ผู้ป่วยใน   เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสมในโรงพยาบาล
- ผู้ป่วยนอก 
3.  การฟื้นฟูผู้รับบริการตามบทบาทของแต่ละสหวิชาชีพ   โดยนักกิจกรรมบำบัด  จะมีบทบาทในการประเมินเพื่อค้นหาความสามารถ  และความสุขในแต่ละบุคคล  จากนั้นจึงให้สื่อการรักษาทางกิจกรรมบำบัด  ที่ผ่านการวิเคราะห์อย่างเหมาะสมตามปัญหา ความต้องการ และบริบทของผู้รับบริการ  เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้ตามศักยภาพที่ตนเองมีอยู่
4. การจำหน่ายผู้รับบริการออก  ต้องผ่านการประชุมร่วมกับทีมสหวิชาชีพ  เพื่อยืนยันว่าผู้รับบริการพร้อมที่จะออกไปใช้ชีวิตในสังคมได้  รวมทั้งคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการเมื่อออกจากโรงพยาบาลหรือสถานรักษา  ( เช่น   ที่อยู่อาศัย  การติดตามผลการรักษา การประกอบอาชีพ ฯลฯ )
5. ส่งเสริมชุมชนให้เข้มแข็ง  สามารถช่วยเหลือผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาสุขภาพจิต  สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับผู้รับบริการเพื่อให้คนในสังคมยอมรับ   การเฝ้าระวังการเกิดอาการซ้ำและติดตามผลการรักษา   โดยให้ชุมชนและครอบครัวเป็นแกนนำหลัก
 
กลุ่มที่ 5
 
1.ก่อนเข้ารับการรักษา
ให้ความรู้ทางจิตเวชในครอบครัวและชุมชนให้ทราบถึงอาการเบื้องต้น และวิธีที่จะส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษาทางสถานพยาบาล
2.เมื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล
-  ให้ความรู้กับครอบครัวในเรื่องของโรคทางจิตเวช เพื่อให้ครอบครัวเข้าใจและยอมรับในตัวผู้ป่วย
- ให้ความรู้ทางด้านสิทธิผู้ป่วยจิตเวชให้กับครอบครัว
- ให้การบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยร่วมกับทีมสหวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ่านการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทีมสหวิชาชีพที่ให้บริการแก่ผู้รับบริการทางจิตเวชแต่ละราย
3. ก่อนจำหน่ายภายใน 30 วัน
-   ประเมินความสามารถและความสนใจ
-   วางแผนกิจกรรมที่มีความหมายหรือกิจกรรมการทำงานที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ภายใต้บริบทที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ เช่น   ส่งเสริมเรื่องกิจวัตรประจำวัน ในเรื่องการจัดการยาและการจัดการเวลาของผู้ป่วย
- ให้ผู้ป่วยทดลองกลับไปใช้ชีวิตประจำวันที่บ้าน โดยมีครอบครัวและเจ้าหน้าที่คอยดูแลและให้คำแนะนำ
4.  ระบบการป้องกันดูแลผู้ป่วยหลังจากจำหน่าย
- ให้กลุ่มอาสาสมัครในชุมชนคอยดูแลผู้ป่วยในการใช้ชีวิตในชุมชนและสามารถติดต่อประสานงานกับทางโรงพยาบาล เมื่อผู้ป่วยมีอาการทางจิตเวชอีกครั้ง
- มีสายด่วน ในการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและครอบครัว โดยนักกิจกรรมบำบัดและสหวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง
 
กลุ่มที่ 6
 
นักกิจกรรมบำบัดวิจัยและพัฒนาแบบคัดกรองเกี่ยวกับผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิตที่เข้ากับบริบทของชุมชนและร่วมกับหน่วยงานด้านสุขภาพภายในชุมชน เพื่อดำเนินการคัดกรองผู้ป่วย
lนักกิจกรรมบำบัดร่วมกับพยาบาลด้านจิตเวชจัดทำโครงการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตภายในชุมชน (จากข้อมูลที่ได้จากการคัดกรอง) เช่น สำรวจกลุ่มอาการทางจิตที่สำคัญในชุมชน วางแผนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชน
นักกิจกรรมบำบัดจัดอบรมให้กับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมชน ในเรื่องการจัดกิจกรรมกลุ่มผู้ป่วยจิตเวช เช่น กิจกรรมกลุ่มเพื่อส่งเสริมแรงจูงใจ กิจกรรมกลุ่มเพื่อผ่อนคลายความเครียด เป็นต้น
lนักกิจกรรมบำบัดส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอาการทางจิตเวช พร้อมกับยอมรับและสามารถอยู่ร่วมกับผู้ป่วยทางจิตได้
ประเมินความเครียดในชุมชน พร้อมกับการส่งเสริมสุขภาพจิตโดยให้คำปรึกษา สอนการผ่อนคลายความเครียดด้วยตนเอง และการป้องกันปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด
หมายเลขบันทึก: 441951เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2011 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณพี่ อ.ดร.ขจิต มากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท