ติดตั้ง ubuntu server 10.04 สำหรับแจกอินเทอร์เน็ตภายในโรงเรียน


server ที่ช่วยให้คุณประหยัดเงิน

Ubuntu  (อูบุนตู) เป็นลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่พัฒนามาจาก Debian (เดเบียน) การพัฒนาสนับสนุนโดยบริษัท Canonical Ltd ซึ่งเป็นบริษัทของนายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ชื่อของดิสทริบิวชันนั้นมาจากคำในภาษาซูลู และภาษาโคซา (ภาษาในแอฟริกาใต้) ว่า Ubuntu ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษคือ "humanity towards others" (เพื่อมวลมนุษยชาติ)

สภาพแวดล้อม

เป็น ubuntu รุ่น server เวอร์ชั่น 10.04 แบบ 32 bit

  • ติดตั้งบน hard disk ทั้งลูก ซึ่งจะทำลายข้อมูลเก่าที่มีอยู่เดิม
  • ตั้งชื่อ user ว่า administrator รหัสผ่านว่า 123456
  • ติดตั้งอยู่บน network ที่มี Ip จริง

สิ่งที่ต้องเตรียม

1. เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับทำเป็นเครื่องแม่ข่าย จะเป็นเครื่องตั้งโต๊ะ หรือ เครื่องแม่ข่ายก็ได้ ตามกำลังงบประมาณ Ran 1 Gb ขึ้น

2. Lancard 2 ตัว (ถ้ามี onboard แล้ว ก็หามาเพิ่มอีก 1 ตัวเป็น pci ก็ได้) ติดตั้งลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะทำเป็นเครื่องแม่ข่ายให้เรียบร้อย

3. แผ่นติดตั้ง UbuntuServer 10.04 โหลดได้ที่ http://www.ubuntu.com/download/ubuntu/download 

เลือก 32 บิต สำหรับเครื่องตั้งโต๊ะ หรือ 64 บิต สำหรับเครื่องแม่ข่ายเมื่อโหลดได้ครบให้เขียนลงแผ่น cd หรือ dvd

4. สายสัญญาณอินเทอร์เน็ต ที่พร้อมเชื่อมต่อออกอินเทอร์เน็ต

5. ชุด ip address

ในที่นี้ขอยกตัวอย่างใช้ ip จริง ที่ได้รับมาจากหน่วยงานหลัก MOENet

ip 203.172.248.150

sub 255.255.255.248

gateway 203.172.248.149

dns 203.146.15.10

  1. บูท PC ด้วยแผ่นซีดี ubuntu ที่เตรียมไว้ต้นฉบับ
  2. ได้หน้าต่าง Language ให้เลือก English เหมือนเดิม
  3. ได้หน้าต่าง ubuntu ให้เลือก Install Ubuntu server

    ระบบจะทำงานต่อ ให้รอจนได้หน้าต่างว่า Choose language
    ที่หัวข้อ "Choose a language:" ให้คงค่าเดิมคือ English แล้วกดแป้น Enter
    ที่หัวข้อ "Choose a country, territory or area:" ให้เปลี่ยนไปเลือกเป็น other แล้วกดแป้น Enter
    ได้หน้าต่างใหม่ที่หัวข้อ "Choose a country, territory or area:" ให้เปลี่ยนเลื่อนไปหา -- Asia -- เลือก Thailand แล้วกดแป้น Enter

    ได้หน้าต่างว่า "Ubuntu installer menu" แสดงออกมา
    ที่หัวข้อ "Detect keyboard layout?" ให้เลือกเปลี่ยนเป็น <No>  แล้วกดแป้น Enter
    ที่หัวข้อ "The origin of the keyboard:" ให้เลือกเปลี่ยนเป็น Thailand แล้วกดแป้น Enter
    ที่หัวข้อ "Keyboard layout:" ให้คงค่าเดิมคือ Thailand แล้วกดแป้น Enter
    ที่หัวข้อ "Method for toggling betwenn national and Latin mode:" ให้คงค่าเดิมคือ Alt+Shift ไว้เหมือนเดิม แล้วกดแป้น Enter 

    ระบบจะทำงานต่อไปเรื่อยๆ 
    หากได้หน้าจอเตือนว่า "Network autoconfiguration failed"  ไม่ต้องทำอะไรให้กดแป้น Enter ได้เลย
    จะได้หน้าต่างที่หัวข้อให้ "Network configuration method:" ให้เลือกเปลี่ยนเป็น "Do not configure the network at this time" แล้วกดแป้น Enter
    ที่หัวข้อ "Hostname:" ให้เปลี่ยนชื่อโฮสต์ตามใจชอบ แล้วกดแป้น Enter

    หากได้หน้าจอ "Configure the clock"  ... Asia/Bangkok ... Is this timezone correct? ให้ยังคงเลือกเป็น <Yes>  แล้วกดแป้น Enter

    ได้หน้าต่าง "Partitioning method:"  ให้เลือก "Guided - use entire disk" แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "Select disk to parition:"  ตรวจสอบดูว่าเป็น hard disk ลูกที่ต้องการจริงๆ แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "Write the change to disk?"  ให้เปลี่ยนไปเลือก <Yes> แล้วกดแป้น Enter

  4. ระบบจะเริ่มทำการ format และติดตั้งข้อมูลต่างๆ ให้พักผ่อนได้ เพราะอาจต้องรอนาน 

    รอจนได้หน้าต่าง "Setup users and passwords"
    ที่หัวข้อ "Full name for the new user:" ให้ป้อนชื่อเต็มของผู้ใช้ใหม่ ในตัวอย่างนี้คือ administrator แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "Username for your account:" ให้ป้อนชื่อของผู้ใช้ ในตัวอย่างนี้คือ administrator แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ "Choose a password for the new user:" ให้ป้อนรหัสผ่าน ในตัวอย่างนี้คือ 123456  แล้วกดแป้น Enter
    (แนะนำให้ใช้แป้นพิมพ์แถวบนด้านซ้าย ไม่ควรใช้แป้นตัวเลขด้านขวา)  
    ได้หัวข้อ "Re-enter password to verify:" ให้ป้อนรหัสผ่านเดิมซ้ำอีกครั้ง ในตัวอย่างนี้คือ 123456 แล้วกดแป้น Enter
    หากได้หน้าคำเตือน "Use weak password?"  ให้เปลี่ยนไปเลือก <Yes> แล้วกดแป้น Enter
    ได้หัวข้อ  "Encrypt your home directory?" ให้ยังคงเลือกเป็น <No>  แล้วกดแป้น Enter

    หากได้หน้าจอถามถึง HTTP proxy information (blank for none):  ไม่ต้องใส่ค่าอะไร ให้กดแป้น Enter ทำงานต่อเลย

    ได้หน้าจอ "How do you want to manage upgrades on this system?"
    ให้ยังคงเลือกเป็น "No automatic updates" แล้วกดแป้น Enter

    รอจนได้หน้าจอ "Software selection"  ที่หัวข้อ "Choose software to install:" 
    ให้เลือก "OpenSSH server"  โดยการเลื่อนลูกศรไปที่ช่อง [ ] OpenSSH server
    กดแป้น Spacebar จะกลายเป็น [*] OpenSSH server แล้วกดแป้น Enter

    รอจนได้หน้าจอ "Install the GRUB boot loader to the master boot record? ให้ยังคงเลือกเป็น <Yes>  แล้วกดแป้น Enter

    ระบบจะทำการติดตั้งต่อไป จนได้หน้าต่างว่า "Installation complete"  และเครื่องอ่านซีดีจะดันแผ่นซีดีออกมาก
    แสดงว่าการติดตั้งเสร็จแล้ว ให้หยิบแผ่นซีดีออกจากถาด เลือก <Continue> แล้วกดแป้น Enter แล้ว PC จะถูกรีบูทใหม่

  5. หลังจาก PC บูทใหม่จนได้หน้า console ว่า 
    Ubuntu 10.04 LTS ubuntu tty1
    ubuntu login:

    ให้ป้อนชื่อผู้ใช้ว่า administrator  แล้วกดแป้น Enter
    ได้ข้อความว่า Password: ให้ป้อนว่า 123456 แล้วกดแป้น Enter
    ก็จะเข้าไปทำงานในระบบได้ โดยมี prompt ว่า administrator@ubuntu~$
    ทดสอบการเชื่อมต่อออกอินเทอร์เน็ตด้วยคำสั่ง ping 203.146.15.10 ถ้ามีการตอบกลับแสดงว่าเสียบสาย lan ถูกตำแหน่งแล้วดำเนินการขั้นต่อไป
  6. เปลี่ยนสิทธิ์ผู้ใช้ จาก administrator ไปเป็น root โดยใช้คำสั่ง sudo passwd root   ป้อนรหัสผ่าน 12345  ใส่รหัสผ่านใหม่ที่ต้องการเข้าไป 2 ครั้ง แล้วตามด้วยคำสั่ง su root ใส่รหัสผ่านใหม่ที่ตั้ง ครั้งต่อไปในการเข้าระบบก็ใช้ user root password ใหม่ที่ตั้ง

 

7. แก้ไขแฟ้ม /etc/network/interfaces ด้วยคำสั่ง pico /etc/network/interfaces เพิ่มข้อมูลตัวอย่างแก้ไข ip ให้เป็นของท่าน

auto lo

iface lo

inet loopback


# The primary networkinterface

auto eth0

iface eth0 inet static

 address 203.172.248.150

 netmask 255.255.255.248

  network 203.172.248.148

  broadcast 203.172.248.158

gateway 203.172.248.149

# dns-* options are implemented by the resolvconf package, if installed

dns-nameservers 203.146.15.10

dns-search ict.test.ac.th

auto eth1

iface eth1 inet static

address 192.168.2.1

netmask 255.255.255.0

network 192.168.2.0

broadcast 192.168.2.255

เมื่อแก้ไขข้อมูลเสร็จ ให้บันทึกข้อมูล โดยกดแป้น Ctrl+O (ตัวอักษรโอ) เพื่อบันทึกค่า และตามด้วย Ctrl+X (ตัวอักษรเอกซ์) ออกจากโหมดแก้ไข

แก้ไขแฟ้มโดยใช้คำสั่ง pico /etc/resolv.conf เป็นตัวอย่างประมาณว่า
nameserver 203.146.15.10   กดแป้น Ctrl+O (ตัวอักษรโอ) เพื่อบันทึกค่า และตามด้วย Ctrl+X (ตัวอักษรเอกซ์) ออกจากโหมดแก้ไข

แล้วสั่งให้ network ทำงานใหม่ด้วยคำสั่ง sudo /etc/init.d/networking restart

ทดสอบว่า network ใช้งานได้แล้ว โดยลองปรับตั้งเวลากับสากลด้วยคำสั่ง sudo ntpdate pool.ntp.org

ถึงตอนนี้แสดงว่า server ของเราพร้อมแล้ว ให้ลอง ssh เข้าไปใช้งานดูได้เลย
หากลืมติดตั้ง ssh server ให้ติดตั้งใหม่ด้วยคำสั่ง sudo apt-get install openssh-server เมื่อต่อ network ใช้งานอินเทอร์เนตได้แล้ว ก็ให้ update package โดยใช้คำสั่ง apt-get update

ขอขอบคุณข้อมูลประกอบการติดตั้งจากเว็บ http://opensource.cc.psu.ac.th/%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87_ubuntu_10.04_server

พบกันตอนต่อไป เรื่องการปรับแต่งหลังติดตั้ง UbuntuServer

คำสำคัญ (Tags): #server#ubuntu10.04#ีubuntu
หมายเลขบันทึก: 441471เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2011 15:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท