การประเมินสุขภาพ:ใบงานชิ้นที่ ๑ คำศัพท์เกี่ยวกับการตรวจร่างกาย


ให้นักศึกษาท่องคำศัพท์เหล่านี้ให้ได้ทุกคำ

ศัพท์เกี่ยวกับการตรวจร่างกาย

การตรวจศีรษะ ใบหน้า ตา หู จมูก

1. alopecia

ผมบางลง ผมร่วง

2. pattern alopecia

ผมร่วงหายไปเป็นหย่อมๆ

3. diffuse alopecia

ผมร่วงทั่วไป

4. hair texture

ลักษณะของเส้นผมที่ได้จากการใช้นิ้วคลำ

5. conjunctiva

เยื่อบุตา

6. eyelids

เปลือกตา

7. eyelashes

ขนตา

8. eyeball

ลูกตา

9. eyebrow

ขนคิ้ว

10. extraoccular movement   การเคลื่อนไหวของลูกตา/การกลอกลูกตา

11. visual acuity

สายตา/ความสามารถในการมองเห็น /การอ่าน

12. visual field

ลานสายตา/ความสามารถในการมองเห็นเป็นบริเวณ 180  องศา

13. arcus senilis

วงกลมสีขาวอยู่รอบๆตาดำ

14. ear wax

ขี้หู

15. nasal septum

ผนังกั้นรูจมูก

16. septal deviation

การคดของ/ผนัง /กระดูกอ่อนที่กั้นจมูก

การตรวจระบบหัวใจและไหลเวียน

1. central cyanosis                 ผิวหนังเขียวหรือม่วง บริเวณหนังตา ลิ้น และริมฝีปาก เพราะขาดออกซิเจนในเลือด

2. peripheral cyanosis            ผิวหนังเขียวหรือม่วง บริเวณปลายมือปลายเท้า ซึ่งเกิดจากการมีออกซิเจนไปเลี้ยงไม่เพียงพอ

3. bulging                              โป่งนูน

4. clubbing of finger              นิ้วปุ้ม

5. P.M.I. (Point of maximum impulse)  ตำแหน่งที่คลำรู้สึกได้/ฟังได้/หัวใจเต้นแรงที่สุด

6. murmur

 เสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนขณะมีการไหลของเลือดผ่านรูเปิดของลิ้นหัวใจขณะลิ้นหัวใจปิด

7. S1 (first heart sound)

 เสียงที่เกิดจากการปิดของ mitral และ tricuspid valve

8. S2 (second heart sound)  เสียงที่เกิดจากการปิดของ pulmonic และ aortic valve

9. thrill                                   ความรู้สึกสั่นสะเทือนเหมือนมีคลื่นมากระทบที่ฝ่ามือ

10. pitting edema                  มีอาการบวมแล้วกดบุ๋ม

11. nonpitting edema            มีอาการบวมแล้วกดไม่บุ๋ม

12. hepatojugular reflux        การตรวจว่าผู้ป่วยมีภาวะหัวใจวายหรือไม่ โดยใช้มือกดที่ตับนาน ½ - 1 นาที แล้วสังเกตพบ

                                              เส้นเลือดดำที่คอโป่งพอง

13. neck vein engorgement   หลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง

14. M.C.L. (midclavicular line) เส้นแบ่งกึ่งกลางไหปลาร้า

15. A.V.A. (aortic valvular area)  ตำแหน่งของลิ้นหัวใจ aortic อยู่ที่ช่องซี่โครงที่ 2 ทางด้านขวาชิดกับ sternum

16. P.V.A. (pulmonic valvular area) ตำแหน่งของลิ้นหัวใจ pulmonic อยู่ที่ช่องซี่โครงที่ 2 ทางด้านซ้ายชิดกับ sternum

  การตรวจระบบหัวใจและไหลเวียน (ต่อ)

17. M.V.A. (mitral valvular area)   ตำแหน่งของลิ้นหัวใจ mitral อยู่ที่ช่องซี่โครงที่ 5 ทางด้านซ้ายบริเวณ midclavicular line

18. T.V.A. (tricuspid valvular area) ตำแหน่งของลิ้นหัวใจ tricuspid อยู่ที่ช่องซี่โครงที่ 5 ทางด้านซ้ายชิดกับ sternum

19. palpitation  

ใจเต้นแรง  / ใจสั่น

20. anemia       

โลหิตจาง

21. edema, swelling       

ภาวะบวม

 

 

 

การตรวจระบบทางเดินหายใจ

1. tactile fremitus

การตรวจความสั่นสะเทือนที่ส่งผ่านจากปอดมายังผนังทรวงอกเมื่อผู้ป่วยออกเสียงพูด โดยใช้ความรู้สึกสั่นสะเทือนที่ได้ผ่านฝ่ามือ

2. auditory fremitus

การตรวจความสั่นสะเทือนที่ส่งผ่านจากปอดมายังผนังทรวงอกเมื่อผู้ป่วยออกเสียงพูด แล้วใช้หูฟัง

ฟังเสียงขณะที่ผู้ป่วยพูด

3. breath sound

เสียงหายใจ

4. adventiteous sound

เสียงหายใจที่ผิดปกติ   เกิดจากลมผ่านช่องแคบหรือทางเดินของลมหายใจที่ถูกกีดขวาง หรือ

ถูกอุดกั้นเป็นบางส่วน

5. deminished breath sound    เสียงหายใจเบากว่าปกติ

6. kyphosis

หลังโกง

7. increased lordosis

หลังแอ่น

8. scoliosis

หลังคด

9. kyphoscoliosis

หลังคดและหลังโกง

10. pigeon chest

อกนูนเหมือนอกไก่

11. funnel chest

อกบุ๋ม

12. pursed lip breathing

การห่อ/ เผยอ ปากขณะที่ผ่อนลมหายใจออก

13. paradoxical breathing

การหายใจที่มีลักษณะทรวงอกขยายตัวแต่ท้องแฟบลง

14. crepitation sound or crackles sound

เสียงกรอบแกรบ เกิดจากลมผ่านความชื้นหรือน้ำในทางเดินหายใจหรือถุงลม หรือเกิดจากมีการเปิดขยายของถุงลมปอดที่แฟบอีกครั้ง มักจะ     ได้ยินชัดตอนหายใจเข้า

15. wheezing sound       

เสียงวี๊ด มีลักษณะเป็นเสียงสูง เกิดจากลมหายใจผ่านหลอดลมขนาดเล็กที่มีเยื่อเมือกหรือผนังหลอดลมบวม หรือมีการหดเกร็ง จะได้ยินทั้งช่วงหายใจเข้าและหายใจออก

16. rhonchi sound                      

เสียงวี๊ด มีลักษณะเป็นเสียงต่ำ เกิดจากลมหายใจผ่านหลอดลมขนาดใหญ่ที่มีเยื่อเมือกหรือผนังหลอดลมบวม หรือมีการหดเกร็ง จะได้ยินทั้งช่วงหายใจเข้าและหายใจออก

17. pleural friction rub   

เสียงเสียดสีกันระหว่างเยื่อหุ้มปอด

การตรวจระบบประสาท

1. consciousness  

ความรู้สึกตัว

2. alert

รู้สึกตัวดี

3. drawsiness

ซึมลง แต่ยังพูดรู้เรื่อง

4. delirium

เอะอะอาละวาด

5. stupor

ซึมมาก

6. coma

หมดสติ ไม่รู้สึกตัว

7. paresis

อ่อนแรง เป็น อาการขั้นแรกของอัมพาต

8. paralysis

อัมพาต

9. quadriplegia

แขนและขาเป็นอัมพาตทั้งหมด

10. flaccid paralysis

เป็นอัมพาตแบบอ่อนปวกเปียก

11. spastic paralysis

เป็นอัมพาตแบบแข็งเกร็ง

12. flexor or decorticate posturing ท่าทางในลักษณะงอข้อแขนข้อขาเข้าหาลำตัว

13.extensor or decerebrate posturing ท่าทางในลักษณะเหยียดข้อแขนข้อขาออกจากลำตัว

14. extensor plantar response or Babinski’ s sign

การทดสอบ superficial  reflex โดยการเอาของแข็งปลายแหลมพอควรขีดฝ่าเท้าจากด้านข้างโค้งมาทางนิ้วหัวแม่เท้า

15. pupil

รูม่านตา

16. numbness, tingling, pins and needles ชา เหน็บ รู้สึกเหมือนมีมดไต่ รู้สึกเหมือนเข็มทิ่ม

17. stiff neck

คอแข็ง

18. Kernig’ s sign

การตรวจ meningeal signs โดยให้ผู้ป่วยนอนหงาย จับขาผู้ป่วยให้สะโพกและหัวเข่างอ แล้วค่อยๆสลัดขาออก ผู้ป่วยจะยืดขาตรงไม่ได้  มักทำการตรวจในผู้ป่วยเด็ก

19. Brudzinski’ s neck sign

การตรวจ meningeal signs โดยให้ผู้ป่วยนอนหงาย ขาเหยียดตรง ยกศีรษะผู้ป่วยให้คางชิดอก สังเกตดูว่ามีอาการคอแข็ง เจ็บปวดหรือไม่ หรือผู้ป่วยงอสะโพกหรืองอเข่าขึ้นหรือไม่

20. Brudzinski’ s leg sign            การตรวจ meningeal signs โดยยกขาผู้ป่วยให้สะโพกและเข่างอ    ขาอีกข้างหนึ่งจะงอตามมาด้วย

21. headache                

ปวดศีรษะ

22. neuralgia                 

ปวดเจ็บเนื่องมาจากปัญหาของเส้นประสาท

23. tremors, choreiform movement, spasm

กระตุกหรือสั่น  การเคลื่อนไหวของแขนขาที่ผิดปกติ  โดยไม่รู้ตัว /บังคับไม่ได้

24. convulsion, fits        

ชัก

25. ataxia

เดินโซเซ   ยืนโงนเงน

26. peripheral neurilia

ตอดแปล๊บๆตามแขนขาหรือตามตัว บางทีรู้สึกเหมือนมดหรือไรไต่ตามผิวหนัง

การตรวจระบบทางเดินอาหาร

1. angular stomatitis

โรคปากนกกระจอก

2. atrophic glossitis

ลิ้นเลี่ยน

3. macroglossia

ลิ้นโต

4. abdominal distention

หน้าท้องโต /  นูนกว่าปกติ

5. bowel sound

เสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้

6. splashing sound

เสียงกระฉอกของน้ำในกระเพาะอาหาร

7. shifting dullness

เสียงเคาะทึบย้ายที่เพี่อวินิจฉัยการมีสารเหลวในช่องท้อง

8. fluid thrill

การกระเพื่อมของน้ำในช่องท้อง

9. tympanic sound

เสียงโปร่ง


10. hyper - tympanic sound

เสียงโปร่งมาก

11. hypo - tympanic sound หรือ dull

เสียงทึบ

12. localised tenderness

กดเจ็บเฉพาะที่

13. generalised tenderness

กดเจ็บทั่วไป

14. rebound tenderness

อาการกดเจ็บ และเจ็บมากจนสะดุ้ง เมื่อปล่อยมือที่กดออกโดยเร็ว

15. guarding

การเกร็งทั่วท้องของกล้ามเนื้อหน้าเมื่อถูกกด /คลำ พบในผู้ป่วยมีการอักเสบของช่องท้อง

16. rigidity

การเกร็งแข็งกดไม่ลงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง พบในผู้ป่วยมีการอักเสบของช่องท้อง

17. Murphy’ s sign

การตรวจภาวะถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน โดยใช้มือกดบริเวณถุงน้ำดีเมื่อผู้ป่วยหายใจเข้า

18. swelling of abdomen

ท้องบวม ท้องโต

19. constipation

ท้องผูก

20. diarrhea

ท้องร่วง ท้องเดิน

21. flatulence               

ท้องอืด

22. anorexia      

เบื่ออาหาร

23. difficulty in swallowing or dysphagia กลืนลำบาก

24. thirst

กระหายน้ำ

25. nausea

คลื่นไส้

การตรวจระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

1. deformity

ผิดรูปร่าง / พิการ

2. range of motion

ความสามารถในการเคลื่อนไหวของข้อแต่ละข้อ

3. crepitation  of  bone

เสียงกรอบแกรบที่เกิดจากเสียดสีของกระดูก /แสดงว่ามีกระดูกหัก

4. stability 

ความมั่นคง /ยึดมั่น /ไม่คลอนแคลน

5. abduction

การกางของข้อหัวไหล่/ข้อสะโพก ออกจากแนวกลางของร่างกาย

6. adduction

การหุบข้อหัวไหล่/ข้อสะโพก เข้าหาแนวกลางของร่างกาย

7. flexion

การงอข้อ เช่น ข้อศอก ข้อมือ  ข้อเข่า ข้อเท้า

8. extension

การเหยียดออก  เช่น ข้อศอก ข้อมือ  ข้อเข่า ข้อเท้า

9. rotation

การหมุนของข้อ เช่น ข้อไหล่    ข้อสะโพก

10. internal rotation

การหมุนของข้อไหล่  ข้อสะโพก เข้าหาแนวกลางของร่างกาย

11. external rotation

การหมุนของข้อไหล่  ข้อสะโพก ออกจากแนวกลางของร่างกาย

12. circumduction

การหมุนข้อโดยรอบ 360 องศา  เช่น ข้อไหล่   ข้อมือ

13. muscle tone

ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ

14. muscle power

กำลังของกล้ามเนื้อ

15. muscle strength

ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

16. stiffness  of  joint

ข้อติดแข็ง

17. weakness

อ่อนแรง

 

หมายเลขบันทึก: 441028เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2011 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียนอาจารย์

ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้นะคะ localised / generalised น่าจะเขียน localized / generalized ไหมคะ

และ  Murphy's sign น่าจะกดใต้ชายโครงขวา ขณะผู้ป่วยหายใจออก มากกว่าหายใจเข้า ไหมคะ เพราะตอนหายใจเข้า

อวัยวะจะเคลื่อนขึ้นหนีมือ หายใจออกจะเคลื่อนลงต่ำมาถูกมือที่กด แล้วผู้ป่วยเจ็บมาก จึงแปลผลว่า positive

ด้วยความเคารพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท