หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

พลาสติก (๒๑) : ปลอดสี-มีสี


ความ ไม่มีสีของมัน ทำให้ปลอดภัยจากสารแต่งสีไปด้วย รู้กันมั๊ยค่ะว่าในสารแต่งสีนั้นมีโลหะหนักที่เป็นอันตรายอยู่ 2 ตัว สารคงตัวมีโลหะหนักที่พึงระวังอยู่ตัวหนึ่ง สาร อันตรายในสารแต่งสี คือ ตะกั่ว และแคดเมียม เรื่องการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม เคยมีเรื่องดังมาแล้ว สารตะกั่วที่ห้วยคลิตี้ จังหวัดกาญจนบุรี สารแคดเมียมที่ ห้วยแม่ตาว อ.แม่สอด จังหวัดตาก พลาสติกอย่าง PVC บางบรรจุภัณฑ์ ใส่สารทำให้คงตัว (stabilizers) ไว้ด้วย ในสารคงตัวอาจจะมีธาตุแบเรียมอยู่

เท่าที่รวบรวมมา ดูเหมือน PVC เป็นพลาสติกที่มีพิษมากที่สุดในโลก ความเจ็บป่วยที่จะเกิดขึ้นจากมัน ดูเหมือนเกิดได้ในทุกขั้นตอนของการนำมาใช้เลยนะ

มิน่าในวงการแพทย์ที่ฉันทำงานอยู่ จึงไม่มีการผลิตวัสดุที่มีสีจากพลาสติกมาใช้งานเลย สาเหตุเพราะกลัวเจ้าสารปรุงแต่งต่างๆ จะทำอันตรายให้กับคนไข้โดยไม่รู้ตัวกันนี่เอง

ด้วยวัสดุทางการแพทย์ที่ใช้กันอยู่ ส่วนใหญ่พึ่งพาต่างประเทศทั้งนั้น จึงจำเป็นต้องเชื่อข้อพิสูจน์ที่เขานำมาบอกกล่าว ว่าทดสอบแล้ว PVC ที่นำมาใช้ในวงการ มีผลกระทบเรื่องพาทาเลทต่ำมากๆ

ความไม่มีสีของมัน ทำให้ปลอดภัยจากสารแต่งสีไปด้วย รู้กันมั๊ยค่ะว่าในสารแต่งสีนั้นมีโลหะหนักที่เป็นอันตรายอยู่ 2 ตัว สารคงตัวมีโลหะหนักที่พึงระวังอยู่ตัวหนึ่ง

สารอันตรายในสารแต่งสี คือ ตะกั่ว และแคดเมียม  เรื่องการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม เคยมีเรื่องดังมาแล้ว สารตะกั่วที่ห้วยคลิตี้  จังหวัดกาญจนบุรี  สารแคดเมียมที่ ห้วยแม่ตาว อ.แม่สอด จังหวัดตาก

พลาสติกอย่าง PVC บางบรรจุภัณฑ์ ใส่สารทำให้คงตัว (stabilizers) ไว้ด้วย ในสารคงตัวอาจจะมีธาตุแบเรียมอยู่

เพราะมีสารอันตรายเหล่านี้อยู่นี่เอง หากนำ PVC ไปใช้อาหาร อาหารจึงสามารถปนเปื้อนโลหะหนักได้

ดังนั้นอย่าใช้ PVC ใส่ของกินได้เด็ดขาดเลยนะคะ

ตั้งแต่ติดตามเรื่องราวของ PVC ความสำคัญของวิธีทำลายก็เป็นหัวใจสำคัญ เผาให้สารไดออกซิน กรดเกลือ สารประกอบคลอรีน ในควัน เป็นอันตรายกับคน  อันตรายสูงสุดคือ เป็นมะเร็ง

ถ้าจะทำลายด้วยวิธีรีไซเคิล ระวังการบด การปั่นให้แหลกด้วยนะคะ วิธีเชิงกลอย่างนี้นั้น ทำให้สารเติมแต่งหลุดออกมาปนเปื้อนในอากาศ  ทำให้คุณภาพอากาศแย่ค่ะ

ตอนที่พบ PVC ครั้งแรก เขาพบว่า มันเกิดขึ้นเมื่อมีการต้องแสงแดดในกระบวนการเคมี นี่แหละวิธีฝังกลบจึงพอจัดการมันได้ไงค่ะ

เวลาชาวบ้านพูดถึงท่อน้ำ เขาจะเรียกมันว่า ท่อ PVC  การนำพลาสติกนี้มาใช้เป็นท่อน้ำ มาจากความคิดของคนเยอรมัน พวกเขาสร้างมันขึ้นมาใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อใช้ส่งน้ำ แทนท่อเหล็ก ส่วนผู้ที่กำหนดมาตรฐานท่อ PVC เป็นคนอเมริกันค่ะ กำหนดผ่านทางองค์กรที่เรียกตัวเองว่า The American Society for Testing and Materials (ASTM)

คนไทยใช้ท่อประปาพลาสติกเป็นมาไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปีแล้วละ บ้านเราก็มีการกำหนดมาตรฐานท่อขึ้นใช้นะคะ

มาตรฐานเหล่านี้เรียกกันว่า “มอก.”  ใช้สีเป็นตัวแบ่งแยกการใช้งาน กำหนดมาตรฐานไว้ทั้งท่อ และอุปกรณ์ต่อท่อ

ใช้กับเรื่องไฟฟ้า จะใช้สีเหลืองอ่อน (Primerose)  ท่อร้อยสายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ ใช้มาตรฐานนี้  (มอก. 216-2524)  มีคุณสมบัติไม่นำไฟฟ้า ใช้สำหรับในร่มหรือในอาคารเท่านั้น ไม่ใช้นอกอาคาร

ใช้กับน้ำดื่ม จะใช้สีน้ำเงิน (Arctic Blue) ท่อประปา ใช้มาตรฐานนี้ (มอก. 17-2523)  เวลาจะเลือกมาใช้ให้ทนแรงดันน้ำได้ก็มีมาตรฐานท่อขนาด PVC-8.5 หรือ PVC-13.5  จะใช้กับน้ำที่ไม่มีแรงดัน เช่น น้ำโสโครก น้ำทิ้ง ก็เลือกใช้มาตรฐานท่อขนาด PVC-5  ท่อมาตรฐานนี้ใช้เฉพาะในอาคารและที่ร่มเท่านั้น ไม่ควรใช้นอกอาคารหรือปล่อยให้สัมผัสแดด  พลาสติกมาตรฐานนี้แตกหักหรือฉีกขาดได้

ใช้กับงานอุตสาหกรรมและชลประทาน จะใช้สีเทา ท่อระบายน้ำทางการเกษตร ระบายน้ำสิ่งปฏิกูล ระบายน้ำในงานชั่วคราวที่ไม่ต้องรับแรงดันน้ำหรือ ไม่ต้องการความแข็งของท่อมากนัก จัดอยู่ในมาตรฐานนี้

กรณีใช้ระบายน้ำที่อาจมีสารเคมีหรือของมีพิษระบายออกมาด้วย จะใช้มาตรฐาน มอก. 999-2533

ท่อสีฟ้า PVC -13.5 หมายถึงท่อที่รับแรงดันในท่อได้ 13.5 ก.ก.ต่อตารางเซ็นติเมตร เมื่อมีความยาวต่อท่อน 4 เมตร

อายุการใช้งานของท่อสีฟ้าอยู่ที่ประมาณ 50 ปี  ใช้ได้กับน้ำธรรมดาอย่างเดียว ใช้เป็นท่อน้ำร้อนไม่ได้นะคะ

เดี๋ยวนี้มีท่อประปาที่ทำขึ้นจาก HDPE แล้วนะคะ  แต่ยังราคาแพงอยู่

ถึงแม้จะไม่ใช่ผู้ผลิตน้ำประปาโดยตรงก็ตาม เพราะว่าท่อประปามีสีนี่แหละ ระบบงานภายในรพ.จึงมีการเก็บน้ำบริโภคจากท่อประปา ไปตรวจการปนเปื้อนของโลหะหนักอย่างตะกั่ว กับแคดเมียมด้วย เพื่อไม่ให้ผู้ใช้น้ำทั้งบริโภคและอุปโภค ได้รับโลหะหนักจากน้ำที่จัดบริการ 

หมายเลขบันทึก: 440927เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2011 20:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท