การจัดอันดับมหาวิทยาลัย (University Ranking) ตอนที่ 3


การจัดอันดับหรือจัดระดับของมาหวิทยาลัยในประเทศไทยไม่ควรเทียบเคียงกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยด้วยกันเองเท่านั้น เพราะท้ายที่สุดการที่ประเทศไทยจะสามารถพัฒนาให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ การศึกษาของไทยเองก็ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สามารถแข่งขันกับการศึกษาในประเทศอื่นๆได้เช่นกัน ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่มหาวิทยาลัยในประเทศไทยจะต้องพัฒนาให้สามารถแข่งขันกับมหาวิทยาลัยอื่นในระดับภูมิภาคและระดับโลกให้ได้เช่นกัน

 

 

 

นอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) แล้วยังมีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่ได้จัดการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยในปี 2550 ไว้อีกด้วย โดยได้แบ่งระดับการประเมินออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับ 5 ดีมาก, ระดับ 4 ดี, ระดับ 3 ปานกลาง, ระดับ 2 ควรปรับปรุง, และระดับ 1 ต้องปรับปรุงโดยด่วน

โดยใช้ตัวชี้วัด 3 ตัว ได้แก่

1.ความสามารถเฉลี่ยของอาจารย์ในการผลิตผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เทียบเท่ากับระดับนานาชาติ

2.ความสามารถของอาจารย์ในการผลิตผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีคุณภาพในด้านการได้รับการอ้างอิง

3.ความสามารถของหน่วยงานในการผลิตผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เทียบเท่ากับวารสารระดับนานาชาติ

ซึ่งผลการจัดระดับคณะ/สาขาที่ได้รับผลประเมินระดับ 5 ในตัวชี้วัดที่ 1

คือคณะ/สาขาที่ความสามารถเฉลี่ยของอาจารย์ในการผลิตผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เทียบเท่ากับระดับนานาชาติ อยู่ในระดับดีมาก ได้แก่

•วิศวกรรมศาสตร์: สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ม.ธรรมศาสตร์

•วิทยาศาสตร์: สถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ ม.มหิดล, คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล, สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ม.สุรนารี

•เกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร/ประมง/ทรัพยากรธรรมชาติ: คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.สงขลานครินทร์, คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.สงขลานครินทร์

•เทคโนโลยี/พลังงาน/วิทยาการสารสนเทศ: บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มท.พระจอมเกล้าธนบุรี, คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มท.พระจอมเกล้าธนบุรี

•แพทยศาสตร์/เวชศาสตร์เขตร้อน: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

•เภสัชศาสตร์: คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล

•วิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ส่วนคณะ/สาขาที่ได้คะแนนระดับ 5 ในตัวชี้วัดที่ 2

คือคณะ/สาขา ที่ความสามารถของอาจารย์ในการผลิตผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร วิชาการระดับนานาชาติที่มีคุณภาพในด้านการได้รับการอ้างอิง อยู่ในระดับดีมาก:

•วิศวกรรมศาสตร์: สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ม.ธรรมศาสตร์

•วิทยาศาสตร์: สถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ ม.มหิดล

•เกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร/ประมง/ทรัพยากรธรรมชาติ: คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.สงขลานครินทร์

•เทคโนโลยี/พลังงาน/วิทยาการสารสนเทศ: บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มท.พระจอมเกล้าธนบุรี

•แพทยศาสตร์/เวชศาสตร์เขตร้อน: คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล

•เภสัชศาสตร์: คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล

•วิทยาศาสตร์การแพทย์: คณะเทคนิคการแพทย์ ม.มหิดล

คณะ/สาขาที่ได้คะแนนระดับ 5 ในตัวชี้วัดที่ 3

คือคณะ/สาขาที่ความสามารถของหน่วยงานในการผลิตผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เทียบเท่ากับวารสารระดับนานาชาติ อยู่ในระดับดีมาก:

•วิศวกรรมศาสตร์: สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ม.ธรรมศาสตร์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

•วิทยาศาสตร์: คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล, คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

•เกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร/ประมง/ทรัพยากรธรรมชาติ: คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.สงขลานครินทร์

•เทคโนโลยี/พลังงาน/วิทยาการสารสนเทศ: คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มท.พระจอมเกล้าธนบุรี

•แพทยศาสตร์: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

•เภสัชศาสตร์: คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล

•วิทยาศาสตร์การแพทย์: คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

 

          เป็นที่น่าสังเกตว่าข้อมูลที่ทั้งสามหน่วยงานนำมาใช้ในการสำรวจครั้งนี้ ได้มาจากแต่ละมหาวิทยาลัยที่เป็นผู้ให้ข้อมูล ซึ่งก่อให้เกิดการตั้งคำถามว่า จะเชื่อมั่นได้อย่างไรว่าข้อมูลที่ทางมหาวิทยาลัยแจ้งแก่หน่วยงานในการให้คะแนนเพื่อจัดอันดับหรือจัดระดับนั้นมีความถูกต้องตามความจริง เพราะเกรงว่าบางมหาวิทยาลัยอาจให้ข้อมูลที่บิดเบือนออกไปเพื่อเป็นการทำให้มหาวิทยาลัยของตนได้คะแนนเพิ่มในบางตัวชี้วัด ซึ่งหากเกิดกรรีดังกล่าวก้จะส่งผลต่อความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของผลการจัดอันดับและการจัดระดับด้วยเช่นกัน

 

       นอกจากหน่วยงานทั้งสามที่มีการจัดระดับและอันดับของคณะ/สาขา ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยแล้ว ยังมีองค์กรหรือหน่วยงานอื่นที่ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนเพื่อใช้ในการจัดอันดับสาขาวิชา ที่มีการเรียนการสอนในบางมหาวิทยาลัย  เช่น เวบไซต์ www.urank.info ที่ทำการสำรวจความคิดเห็นของบุคคลทั่วไปต่อความนิยม และความเชื่อมั่นในคุณภาพการเรียนการสอนของคณะและสาขาในแต่ละมหาวิทยาลัยและมีการจัดอันดับจากคะแนนที่ได้มาจากผลสำรวจความคิดเห็นดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีนิตยสาร BrandAge ที่ทำการสำรวจและจัดอันดับ Thailand’s Most Admired Brand ตั้งแต่ ปี 2002 โดยมีหัวข้อที่สำรวจและจัดอันดับเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยระดับ MBA ที่น่าเชื่อถือที่สุดไว้ด้วย โดยในปี 2011 นั้น หลักสูตร MBA ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นอันดับที่สอง นิตยสาร Reader’s Digest เองก็ได้ทำการสำรวจ Reader's Digest Asia Trusted Brands Survey ในด้านต่างๆ มีการแบ่งรางวัลจากผลสำรวจออกเป็นสองระดับคือ ระดับ Platinum ซึ่งเป็นระดับสูงสุดและระดับรองลงมาคือ Gold ซึ่งหัวข้อหนึ่งเกี่ยวกับด้านองค์กรที่ให้การบริการก็มีการจัดระดับมหาวิทยาลัยไว้ในหัวข้อนี้ด้วย โดยในปี 2010 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับรางวัลในระดับ Platinum และมีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับรางวัลในระดับ Gold ซึ่งก็ถือว่าเป็นการจัดระดับมหาวิทยาลัยที่มาจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อความเชื่อถือในคุณภาพของมหาวิทยาลัยนั่นเอง

     การจัดอันดับหรือจัดระดับของมาหวิทยาลัยในประเทศไทยไม่ควรเทียบเคียงกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยด้วยกันเองเท่านั้น เพราะท้ายที่สุดการที่ประเทศไทยจะสามารถพัฒนาให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ การศึกษาของไทยเองก็ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สามารถแข่งขันกับการศึกษาในประเทศอื่นๆได้เช่นกัน ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่มหาวิทยาลัยในประเทศไทยจะต้องพัฒนาให้สามารถแข่งขันกับมหาวิทยาลัยอื่นในระดับภูมิภาคและระดับโลกให้ได้เช่นกัน ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นการสำรวจเพื่อประเมินคุณภาพและจัดระดับ/อันดับของมหาวิทยาลัยในประเทศเท่านั้น การจัดอันดับมหาวิทยาลัยยังมีการจัดอันดับกันในระดับภูมิภาคและระดับโลกอีกด้วย ซึ่งการจัดอันดับดังกล่าวจะทำให้ทราบว่ามหาวิทยาลัยของไทยนั้นอยู่ในอันดับที่เท่าไหร่ของโลก และจะสามารถแข่งขันกับมหาวิทยาลัยในประเทศอื่นๆได้หรือไม่ และมหาวิทยาลัยของไทยจะต้องมีการพัฒนาในด้านใดอีกบ้างนั้น จำเป็นต้องอาศัยตัวชี้วัดจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกเข้ามาเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยด้วย

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 440909เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2011 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท