ผลการสอบโอเนต...ใครได้ประโยชน์


การศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

              ทุกครั้งและทุกปีที่ผลการสอบโอเนตออกมาสู่สาธารณชน ต่างมีการวิพากษ์วิจารณ์ไปในแง่มุมต่างๆทั้งที่สร้างสรรค์และไม่สร้างสรรค์ ต้นสังกัดและสถานศึกษาก็มาวิเคราะห์ผลและใช้ผลไปในการพัฒนาในอนาคต บางสถานศึกษาเฉยๆและบางสถานศึกษาเร่งหามาตรการเพื่อการพัฒนาในอนาคต

              ผลการสอบสูงหรือต่ำ ตัวที่สำคัญคือ"กระบวนการ"ทั้งกระบวนการสอน กระบวนการสอบ ถือว่าสำคัญที่สุด เพื่อที่จะได้ผลออกมา การเน้นการสอน มากกว่าการสอบ หรือการเน้นการสอบ มากกว่าการสอน ก็แล้วแต่ ตัวเองที่ออกมาคนที่รู้ดีคือ"ครูผู้สอน" เพราะเด็กที่ตัวเองสอน ครูจะรู้ดีว่าเป็นอย่างไร

            ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)วันที่ 24 พ.ค.ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาการยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบโดยใช้ผลการทดสอบแบบทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ หรือ โอเน็ต เป็นเครื่องมือ ซึ่งได้มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำที่ท้าทายแต่สามารถทำได้ คือ ในปีการศึกษา 2554 นักเรียนในช่วงชั้นที่ 2 คือ ป.6 ทุกคนจะต้องทำคะแนนโอเน็ตในวิชาภาษาไทยได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 และคณิตศาสตร์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 35 โดยได้มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ทุกแห่งไปเตรียมจัดทำแผนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละเขตพื้นที่ที่ต้องไปเอกซเรย์ว่า มีโรงเรียนที่โอเน็ตต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ต้องเร่งส่งเสริมและติดตามอย่างไรบ้าง เชื่อว่าหากสามารถทำได้ตามเกณฑ์ ดังกล่าวจะส่งผลให้การประเมินผลระดับนานาชาติ หรือ พิซ่า ขยับขึ้นอย่างแน่นอน

              เลขาธิการ กพฐ. ระบุว่า อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ครูและผู้บริหารที่จะใช้โอเน็ตเป็นเครื่องมือในการยกระดับคุณภาพการศึกษา สพฐ.จะเชื่อมโยงผลการปฏิบัติงานไปสู่ความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ ทั้งในส่วนของการพิจารณาความดีความชอบประจำปี ทั้งนี้ สพฐ.จะเสนอรับรองรายชื่อรางวัลทั้งในระดับนานาชาติ ระดับประเทศ และระดับต้นสังกัดที่เทียบเท่าระดับประเทศให้แก่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) พร้อมทั้งจะเสนอรางวัลโอเปค อวอร์ด ซึ่งเป็นรางวัลสุดยอดผลงานของ สพฐ.ที่มีคุณภาพใน 3 ด้าน ได้แก่ วิชาการ การบริหารจัดการ และนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ทั้งนี้ได้มอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปกำหนดขอบเขตของงานที่สมควรจะได้รับรางวัลแล้ว ส่วนเกณฑ์มาตรฐานโอเน็ตขั้นต่ำระดับชั้นม.3 และ ม.6 นั้นยังไม่มีการกำหนด เพราะที่ประชุมเห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่ และจุดเริ่มต้นที่ควรจะเน้นคือ ชั้น ป.6 ก่อน.

              ครูจะเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุด

คำสำคัญ (Tags): #โอเนต
หมายเลขบันทึก: 440846เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2011 06:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท