สุขน้อยๆ ทำให้อายุยืนนาน [EN]


สำนักข่าว Telegraph.co.uk ตีพิมพ์เรื่อง 'Feeling happy? Don't feel too smug as chances are you will die young' = "(รู้สึก)สุข(มาก)ไหม? อย่าชะล่าใจ เพราะคุณมีโอกาสตายเร็ว" = "สุขมากเสี่ยงตายเร็ว", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ 
  • [ smug ] > [ s - มั่ก ]http://www.thefreedictionary.com/smug > adjective = สบายใจ; คำนี้มาจากภาษาเยอรมันเก่า = adorn (verb) = ประดับ ตกแต่ง
  • วิธีจำศัพท์ภาษาต่างประเทศอย่างหนึ่ง คือ ให้ลองนึกถึงอะไรที่คล้ายๆ กัน และแต่งเรื่องเข้าหากัน... อย่างคำ "s - มั่ก" นี่ให้ลองนึกถึงคนชื่อ "สมัคร" ที่ท่านรู้จัก จะช่วยให้จำได้เร็ว
การศึกษาใหม่ (ตีพิมพ์ใน Perspectives on Psychological Science) พบว่า เด็กวัยเรียนที่ดูร่าเริง (cheerful) มากๆ มีแนวโน้มจะตายเร็วมากกว่าเพื่อนร่วมห้องที่ดูร่าเริงน้อย
.
กลไกที่เป็นไปได้ คือ คนที่มีความสุขมากๆ มีแนวโน้มจะใช้ชีวิตประมาท ขาดความรอบคอบ (careless) และใช้ชีวิตแบบเปลืองสุขภาพมากกว่าคนทั่วไป
.
นอกจากนั้นยังเสี่ยงปัญหาทางจิต-ประสาทมากขึ้น เช่น เสี่ยงเป็นโรคอารมณ์ 2 ขั้ว (bipolar depression = ซึมเศร้าสลับช่วงร่าเริงผิดปกติ) ซึ่งมักจะมีช่วงที่มีความสุขสุดๆ สลับกับเศร้าสุดๆ ฯลฯ
.
การมีอารมณ์ร่าเริงมากๆ โดยเฉพาะร่าเริงแบบไม่รู้กาละเทศะ อาจยั่วคนอื่นให้โมโห หรือหมั่นไส้ และเพิ่มเสี่ยงต่อการถูกทำร้ายได้ ปรากฏการณ์นี้พบมากในวัยรุ่นและหนุ่มสาวอายุน้อย (โบราณถึงได้เตือนให้ระวังชีวิตช่วงเบญจเพส หรือตอนอายุ 25 ปีให้มาก)
.
การศึกษานี้ทำโดยการวิเคราะห์ข้อมูลคนในช่วง 1920s = 1920-1925 = พ.ศ. 2463-2468 ติดตามไปจนถึงวัยสูงอายุ 
.
ศ.จูน กรูเบอร์ หนึ่งในทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเยลกล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้คนเรามีความสุขไม่ใช่เงิน (= ฐานะปานกลางก็ได้ ไม่ถึงกับต้องรวยมาก แต่ถ้าจนแบบอดมื้อกินมื้อ หรือมีหนี้มากจะทำให้ความสุขลดลงเสมอ) หรือการยอมรับจากสังคมว่า ดีพร้อมไปเสียทุกมิติ
.
1 ในปัจจัยที่ทำให้คนเรามีความสุข คือ สันโดษ - พอใจในสิ่งที่มีอยู่ หรือไม่คาดหวังอะไรที่ไกลจนเกินเอื้อม (แนวคิดนี้น่าจะได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา)
.
และไม่จำเป็นต้องทำตัวให้มีความสุขมากมายอะไร... ขอเพียงมีสุขบ้างทุกข์บ้างในแบบที่เป็นเรา นั่นก็ถือว่า มีความสุข (ทางใจ) มากพอแล้ว
.
วิธีคิดสำคัญที่จะทำให้คนเรามีความสุขได้ตอนนี้ คือ ไม่จำเป็นต้องดีเลิศ (no need to be best), ทว่า... ขอให้ทำใจในแบบที่เป็นเรา และยอมรับอะไรที่ "ดีรองลงไป (second best)" ให้ได้
.
ไม่ควรทำกิจกรรมคุณภาพกับชีวิตจริง โดยเปรียบเทียบหรือแข่งขันกับคนอื่น (benchmark) มากเกินไป
.
เรื่องสำคัญ คือ ขอให้โฟกัส หรือมีจุดมุ่งหมายสัก 2-3 เรื่องที่เรา "ชอบและทำได้ดี" เช่น กลับบ้านแล้วจะเดินเล่นกับน้องหมาให้ได้วันละ 15 นาที ตอนเดินจะคุยกับมันไปด้วย ฯลฯ, ใช้ชีวิตให้มีความหมายทุกวัน และปล่อยวางกับเรื่องที่เหลือบ้าง
.
เพราะอะไรที่เราพยายาม คือ อะไรที่ดีที่สุดในแบบที่เป็นเราแล้ว
.
คุณแม่คุณพ่อ ญาติสนิทมิตรสหาย หรือผู้ปกครอง มีส่วนช่วยให้เด็กๆ มีความสุขได้ โดยการเลิกเปรียบเทียบ "คนหนึ่งกับอีกคนหนึ่ง" เช่น เลิกเปรียบเทียบพี่กับน้องว่า ใครเก่งกว่า ฯลฯ
.
ผู้ใหญ่ก็ทำตัวเองให้ "ทุกข์น้อยลง" ได้ เช่น ไม่เปรียบเทียบตัวเองกับเพื่อนรุ่นเดียวกันว่า ใครรวยกว่า ลงทุนเก่งกว่า ชีวิตครอบครัวใครดีกว่า ลูกใครเก่งกว่า ฯลฯ
.
อาจารย์จิตแพทย์ท่านหนึ่งเขียนไว้นานแล้วว่า มีคนไข้ท่านหนึ่งปรึกษาว่า อยากฆ่าตัวตาย เพราะเพื่อนๆ มี 200 ล้าน, ตัวท่านมี 20 ล้าน... แบบนี้เป็นทุกข์เพราะเปรียบเทียบ
.
ฝรั่งมีสำนวนหนึ่ง คือ 'Fly high, Die young' = "บินสูง-ตายเร็ว" หรือคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตมากๆ ในช่วงสั้นๆ เสี่ยงตายเร็ว โดยเฉพาะอาชีพกลุ่มดารา นักร้อง นักแสดง และศิลปิน
.
เรื่องนี้คล้ายกับคำสอนจีนที่ว่า คนที่ประสบความสำเร็จมากตั้งแต่อายุน้อยเสี่ยงสูง เพราะโอกาส (ความสำเร็จ) กับวิกฤติ (ความเสี่ยง) มักจะมาคู่กันเสมอ
.
คนที่ประสบความสำเร็จตอนอายุน้อยเสี่ยงที่จะหลงตน ลืมตัว คิดว่า ข้าฯ แน่... ไม่ค่อยฟังคำทักท้วง ตักเตือน
.
ในอีกทางหนึ่งเราจะพบคนจำนวนมาก "บินสูง-ไม่ตายเร็ว" แถมยังบินสูงได้นาน เช่น คนที่ลงทุนศึกษาเล่าเรียน หาความรู้เพิ่มเติมตลอดชีวิต ฯลฯ หรือคนที่ "หัวสูง-ตีนต่ำ (ติดดิน ไม่ถือตัว ไม่ทำตัวฟุ้งเฟ้อ รับฟังความเห็นต่างจากคนรอบข้างได้)"
.
ชีวิตคนเราเลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือก "เป็น อยู่ คือ" ในแบบที่เป็นเราได้ อย่างน้อยก็ในระดับหนึ่ง
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 18 พฤษภาคม 2554.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
  • ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.
หมายเลขบันทึก: 440263เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2011 13:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

23-24 พค ผมไปที่ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานสาธารณสุขลำปาง คุณหมออยู่ไกลกันไหมครับ

ไกลนิดหน่อยครับ... คนละอำเภอ ห้างฉัตรอยู่ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 17-18 กิโลเมตร // ถ้าไปสำนักงานสาธารณสุขลำปาง, ขอให้ไหว้พระเจดีย์ฝั่งตรงข้าม เยื้องๆ กัน (เป็นวัดพม่าเก่า คือ วัดป่าฝาง) // ถ้ามีโอกาสไปลำปาง... เรียนเสนอให้แวะเกาะคา กราบพระธาตุลำปางหลวงงามๆ 3 ครั้งครับ --- // นึกถึงสำนักงานสาธารณสุขลำปางแล้ว ขอระลึกถึงพระคุณของท่านสาธารณสุขจังหวัด และอาจารย์นิเวศน์ ฝ่ายบุคคล มา ณ ที่นี้ด้วยความเคารพ...

  • ไปอบรมบล็อกกับคุณหมอนนทลี
  • ให้เจ้าหน้าที่ของลำปางครับ
  • จะแวะไปวัดนี้นะครับ
  • พระเจดีย์ฝั่งตรงข้าม เยื้องๆ กัน (เป็นวัดพม่าเก่า คือ วัดป่าฝาง)
  • จะแจ้ง
  • ท่านสาธารณสุขจังหวัด และอาจารย์นิเวศน์ ฝ่ายบุคคล ให้ครับ
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท