ความสำเร็จในการเรียนของนักศึกษาชาวต่างประเทศที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง : วิธีการ ปัจจัยเสริม และวิธีการแก้ปัญหา(3)


“การเรียนเก่งไม่ได้อยู่ที่หัวดีอย่างเดียว ถ้าเราขยัน พยายาม มีวิธีการเรียนที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งมีโอกาสและสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยด้วย เราก็สามารถประสบความสำเร็จในการเรียนได้เช่นกัน...”

บทที่ 3 : เคล็ดลับสู่การเรียนรู้ 

 

          ในการดำเนินกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักศึกษาครั้งนี้ คณะกรรมการการจัดการความรู้ได้คัดเลือกนักศึกษาชาวจีนทั้งสิ้น 24 คน ประกอบด้วยนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจ จำนวน 12 คน และนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย จำนวน 12 คน โดยนักศึกษาทั้งหมดได้รับการยอมรับจากคณาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทยและการสื่อสารทางธุรกิจซึ่งได้จัดการเรียนการสอนนักศึกษาทั้งสองกลุ่มว่ามีศักยภาพในการเรียนรู้มากกว่านักศึกษาคนอื่นๆ จากการจัดกระบวนการเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้พบว่ามีประเด็นที่น่าสนใจอยู่ด้วยกันปลายประการ ดังจะได้นำเสนอเป็นลำดับต่อไปนี้

          1. วิธีการเรียนรู้ที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการเรียน

          “ความปรารถนาของนักศึกษาทุกคนก็หวังว่าการเรียนจะประสบความสำเร็จ แต่ไม่ใช่นักศึกษาทุกคนก็ได้สำเร็จ มีบางคนเรียนหนังสือพยายามและตั้งใจเรียนมาก จนกระทั่งไม่มีเวลาเป็นของตัวเอง ไม่ได้หลับ ไม่ได้นอน แต่สุดท้ายผลงานก็ไม่ดี บางคนเวลาเรียนก็ตั้งใจเรียน ทำสิ่งที่ตัวเองชอบ อย่างเช่น อ่านนิตยสาร เล่นเกม ไปเที่ยว แต่สุดท้ายคนนี้การเรียนกลับสำเร็จ และได้ความรู้มากไปจากบทเรียน ทุกคนก็อยากรู้ว่าทำไมอย่างนี้ บางคนก็คิดว่าถ้าเป็นอย่างนี้ ไม่ยุติธรรม ทำไมผลงานของคนที่ตั้งใจเรียนไม่ดีกว่าคนอื่น เพราะวิธีการเรียนผิด ผมรู้สึกว่าวิธีการเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเรียน เพราะวิธีการเรียนที่ดีนำพวกเราได้สำเร็จ ผมคิดว่าวิธีการเรียนที่ดีต้องสร้างแรงกระตุ้นในการเรียน ต้องสนใจและหาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียน สร้างสมาธิในการเรียน เวลาเรียนก็ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟัง ตั้งใจอ่าน ตั้งใจเขียน ตั้งใจพูด เมื่อเรียนเสร็จแล้ว ก็ทบทวนความรู้ของอาจารย์สอนให้”

          “การเรียนเก่งไม่ได้อยู่ที่หัวดีอย่างเดียว ถ้าเราขยัน พยายาม มีวิธีการเรียนที่มีประสิทธิภาพ  อีกทั้งมีโอกาสและสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยด้วย เราก็สามารถประสบความสำเร็จในการเรียนได้เช่นกัน ดิฉันรู้สึกว่าการสร้างวิธีเรียนที่มีประสิทธิภาพสำคัญมาก วิธีการเรียนมีมากมาย แต่ไม่มีวิธีการเรียนเหมาะสมกับทุกคน คนที่ต่างกัน วิธีการเรียนก็ต่างกัน  นักเรียนแต่ละคนควรจะผ่านการศึกษาและทางปฏิบัติ สรุปวิธีการเรียนที่เหมาะสมกับเอง วิธีการเรียนของฉันเป็นจะแบ่งเป็น 5 ขั้นตอนการเรียนรู้คือ 1. เตรียมการเรียนล่วงหน้า เราต้องอ่านหนังสือก่อนเรียน ต้องเตรียมปัญหาที่เราอ่านแล้วไม่เข้าใจ เมื่อเราไปเรียนก็ตั้งใจฟัง 2. เข้าฟังคำบรรยาย การเข้าเรียนจะทำให้ได้ฟังคำบรรยายที่ชัดเจนและเข้าใจง่ายกว่าที่จะอ่านตำราเอง เราเข้าเรียนต้องตั้งใจฟัง ถ้ามีอะไรไม่เข้าใจก็ถามอาจารย์ได้ 3. ทบทวนวิชาเรียน เมื่อเราเรียนเสร็จแล้วเราก็ต้องทบทวน เพราะว่าเราไปเรียนก็ได้ความรู้ใหม่ เราทบทวนเพื่อให้จำความรู้ใหม่ได้ 4. ทำการบ้าน การบ้านเป็นวิธีของการตรวจสอบเราเพราะจะได้รู้ว่ามีความรู้เท่าไร   5. สรุป ในการเรียนสุดท้ายก็คือสรุป เราต้องสรุปว่าเรียนแล้วเราได้อะไร อย่างไรก็ดี 5 ขั้นตอนการเรียนรู้นั้นไม่ยาก ทุกคนก็ทำได้ แต่มีไม่มีกี่คนยืนหยัดได้ ในการเรียนให้ประสบความสำเร็จจะต้องยืนหยัดให้ได้ เป็นสิ่งสำคัญมาก”

          “ดิฉันอยู่ที่ประเทศไทยเรียนภาษาไทยรวมการเรียนระยะสั้นมา 3 ปีแล้ว ดิฉันเห็นว่าการเรียนภาษาไทยในระยะสั้น และในปี 1 เป็นสิ่งสำคัญที่สุดนะคะ เพราะในช่วงนี้ เราเรียนหลักภาษาไทย เรียนหลักการออกเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ในภาษาไทย แต่เราต้องจำได้ให้แน่นะคะ เพื่อนๆ บางคนรู้สึกในช่วงนี้ค่อนข้างสบาย การเรียนไม่หนัก ก็ไม่ค่อยขยัน ทำให้จำหลักการพื้นฐานไม่ได้ หลังจากปี 1 ต่อไป การเรียนหนักแล้ว ยังอ่านไม่ได้ เขียนไม่ได้ พูดได้ และฟังไม่รู้เรื่อง ซึ่งเรามองข้ามพื้นฐานไม่ได้แน่นอนนะคะ ต้องลองหาคำศัพท์มาฝึกอ่าน ฝึกเขียน ไม่รู้จักความหมายไม่เป็นไร แล้วเริ่มท่องจำคำศัพท์ที่ใช้บ่อยๆ ในชีวิต ดูทีวี และฟังเพลงภาษาไทย ลองฟังคำศัพท์และประโยคที่ง่ายๆ ถ้าฟังคำไหนไม่รู้จักก็ไปหาความหมายในพจนานุกรมเลยค่ะ ต้องคุยกับคนไทย สังเกตขณะที่คนไทยพูดภาษาไทย ออกเสียงอย่างไร เคยชินใช้คำอะไร แต่งประโยคอย่างไร และชอบใช้คำเรียกและคำท้ายอะไร การสนทนาช่วยเราฝึกการพูด และการฟัง แต่เราต้องสังเกตอีกคือ เพื่อนนักศึกษาจีนบางคน พูดได้ ฟังรู้เรื่องภาษาไทยที่ง่ายที่ใช้บ่อยๆ ในชีวิต แต่อ่านไม่ได้ เขียนไม่ได้ สาเหตุนี่ก็คือไม่ค่อยอ่านหนังสือ ต้องท่องจำคำใหม่ๆ และฝึกเขียนรูปแบบประโยคในชีวิต ถ้าคนไทยพูดประโยคใหม่ หรือคำที่มีความหมายลึกจะไม่รู้เรื่องนะคะ และมีหลายคำเป็นหนึ่งคำมีหลายความหมาย หรือหนึ่งความหมายมีหลายคำ ถ้าไม่อ่านหนังสือไม่ท่องคำ จะไม่รู้เรื่องหรือเข้าใจผิด”

          “เพราะว่าทุกคนต้องการความสำเร็จในการเรียน เพราะฉะนั้นฉันรู้สึกว่าต้องมีวิธีการเรียนที่มีประสิทธิภาพ เช่น ต้องรู้ตัวเองเมื่ออะไรจะทำอะไร ทำกี่ชั่งโมง อย่างเที่ยวก็ให้สนุกจริงๆ เรียนก็ตั้งใจจริงๆ เช่น ช่วงเวลาที่แบ่งไว้อ่านหนังสือนั้นก็ต้องอ่านจริงๆ และกำหนดไว้วันไหนจะอ่านวิชาอะไร ไม่ใช่สักแต่ว่าอ่านให้ผ่านตา อ่านแล้วต้องอ่านให้เข้าใจ และแจ่มแจ้ง อันนี้ก็คือวิธีการเรียนที่หนึ่งเรียกว่าใช้เวลาให้เป็น แบ่งเวลาให้เป็น  เวลาเรียนก็ใส่ใจคิดติดตามไปในเนื้อหาวิชา สงสัยก็ถามครูอาจารย์ที่สอน อย่าเก็บความสงสัยไว้ด้วยความอาย หรือเพราะขี้เกียจถามเป็นอันขาด บอกตัวเองไว้ว่า ถ้ารู้อะไรต้องรู้ให้จริง อย่ามัวขี้เกียจรู้ ขี้เกียจถามอยู่เลย และต้องจดบันทึกมีหลักไว้ว่าฟังให้เข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วจึงจดไว้ในสมุดเพื่อเป็นเครื่องเตือนความจำ   ไม่ใช่สักแต่จดตามที่ครูพูดโดยไม่ได้ติดตาม ไม่รู้เรื่องในสิ่งที่กำลังเรียน  กำลังจด เพราะการที่จะประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมีการวางแผนเอาไว้อย่างรอบคอบรัดกุม เพื่อให้สามารถเดินทางตามเป้าหมายที่วางไว้ เป็นการลดความเสี่ยงต่อความล้มเหลวหรือการเดินออกนอกลู่ทาง การวางแผนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเรา เรียนแล้วต้องคำนึงอยู่เสมอว่า จุดหมายหลักของการเรียนคือ ให้เกิดการเรียนรู้ จงเรียนเพื่อให้รู้ นั่นคือรู้แจ้งเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน และฝึกเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานในอนาคต นอกจากเพื่อให้รู้จักคิดแล้ว ต้องคิดเป็นด้วยจึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง”

          “พูดถึงวิธีการเรียนภาษาไทย ที่สำคัญก็คือ ต้องจำหมดทุกตัวอักษรและทุกการผันเสียง เพราะช่วยให้ตนเองออกเสียงที่ถูกต้องสามารถติดต่อสื่อสารกับคนไทยได้ เสียงสำคัญในภาษาไทยมี 3 ประเภท ได้แก่ เสียงพยัญชนะ เสียงสระและเสียงวรรณยุกต์ต้องจำให้ได้”

          “สำหรับวิธีการของดิฉันมีวิธีการ 3 อย่างคือ 1. ต้องเข้าใจจุดประสงค์ของการเรียนรู้ เพราะจุดประสงค์เป็นปัจจัยที่ทำให้นักเรียนได้รับความสำเร็จ มันเหมือนกับเครื่องหมายนำทาง พานักเรียนเจริญก้าวหน้า ในการเรียนถ้าไม่มีจุดประสงค์ นักเรียนจะไม่รู้ไปทางอย่างไร การเรียนก็เสียจุดหมาย 2. การวางแผนการเรียนรู้ การวางแผนสามารถช่วยให้หายเกียจคร้านและเมื่อยล้า ถ้าทุกวันสามารถทำตามแผน จะรู้สึกว่าไม่เหนื่อย และได้ความรู้สึกมีความสุข การเรียนตามแผนสามารถช่วยประหยัดเวลา ได้รู้ความคืบหน้าการเรียนรู้ และ 3. ต้องเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆความรู้ทั่วไปไม่เพียงจากหนังสือ การร่วมกิจกรรม ไปรู้จักเพื่อนใหม่ มันจะช่วยเพิ่มความรู้ และเพิ่มประสิทธิภาพด้านสังคม”

          “สำหรับดิฉัน ขอสรุปวิธีการพัฒนาการเรียนรู้ของตัวเอง ดังนี้ 1. ชอบเปิดพจนานุกรมเป็นประจำ 2. เวลาว่างๆ อ่านพจนานุกรมหรือฟังข่าว 3. มีอะไรไม่เข้าใจก็ถามอาจารย์ 4. มีเวลาก็ไปหาเพื่อนคนไทยศึกษากัน”

          “สำหรับดิฉัน ถ้าพูดถึงอ่านหนังสือหรือทบทวนที่บ้าน มันเป็นเรื่องยาก อาจในใจตัดสินใจจะทำแล้ว แต่ทำได้ไม่กี่วันจริงๆ เพราะฉะนั้นดิฉันจึงตั้งใจฟังในเวลาเรียน โฟกัสในแค่ 3 หรือ 4 ชั่วโมง มันเป็นสิ่งที่ง่ายกว่า ถ้าคุณทำอย่างนี้ไปตลอด คุณจะได้เห็นว่าแค่ 3 , 4 ชั่งโมงนั้นมีประโยชน์มากกว่าอ่านหนังสือ 5 ชั่วโมงที่ห้อง นอกจากนี้แล้ว ในเวลาเรียนหรือเวลาว่าง ถ้าเห็นคำศัพท์ที่ไม่รู้จัก อย่าขี้เกียจเปิดพจนานุกรม เปิดทุกครั้งที่เมื่อคุณเห็น คุณจะสังเกตได้ว่าคำใดคำหนึ่งเราเปิดเช็คหลายรอบแล้ว จะช่วยเหลือในเรื่องการจำคำศัพท์ และทำให้มีคำศัพท์ที่รู้จักเพิ่มขึ้น”

          “ต้องมีการวางแผน เช่น จำคำให้ได้วันละ 5 คำ 1 ปีก็มี 1825 คำ แล้วก็ยืนหยัด 2 ปีขึ้นไป ก็เชื่อว่าภาษาไทยต้องดีมาก เวลาเรียนภาษาไทยต้องปฎิบัติตาม 4 หลักการคือ 1. การวางแผนต้องเป็นความจริง ต้องเรียนทุกวัน 2. ต้องมีจิตใจอันเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ไม่สั่นคลอน ห้ามเรียน 3 วัน หยุด 2 วัน 3. ต้องการมีสมุดบันทึก บันทึกไว้ถ้อยคำและกลุ่มคำ และทุกเวลาเอามาดู เอามาอ่าน จำให้ได้ในใจ 4. อย่าอาย อย่าตื่นเต้น ต้องกล้าหาญมาก คุยกันกับคนไทยทุกคน มีอะไรก็ถาม”

          “ดิฉันมีความคิดเห็นว่าคุณต้องมีความเชื่อใจกับการเรียนภาษาไทย ทำภาษาไทยเป็นเพื่อนๆของตัวเอง ต่อไปก็ต้องมีการวางแผนของการเรียนการสอน สื่อสารกับคนไทยบ่อยๆและในเวลาการเรียนก็สื่อสารกับอาจารย์พยายามตอบคำถามของอาจารย์ สนใจที่อาจารย์พูด ไม่เข้าใจก็ต้องถาม”

          “ต้องมีแผนการในหารเรียนรู้ที่จะช่วยให้เรียนรู้อย่างจริงจังและไม่ยอมแพ้ครึ่งหนึ่ง ในชั้นเรียนค่อยๆฟังครูแล้วจดบันทึก ถ้าพบคำไม่ทราบความหมาย ต้องเปิดพจนานุกรมแล้วจดบันทึกทันที ต้องทบทวนเนื้อหาการเรียน ให้ไปถามครูหากมีปัญหา ทำการบ้านของเราอย่างจริงจัง มีการตรวจสอบอย่างรอบคอบ ก่อนสอบเตรียมการอย่างเต็มที่ การไปห้องสมุดก็ช่วยการเรียนดีขึ้นได้”

          “วิธีการเรียนภาษาของตัวเองคือ การแบ่งเวลา การทำการบ้าน วิธีทบทวนบทเรียน ไปห้องสมุดอ่านหนังสือ การดูหนังสือเตรียมสอบ และการพัฒนาความจำเพื่อให้เรียนเก่ง”

          “ดิฉันยังรู้สึกว่าตัวเองไม่เก่ง แต่ก็มีวิธีการเรียนของตัวเอง เช่น เรียนภาษาไทยต้องมีกระบวนต่อไปนี้ คือ ต้องตั้งใจเรียน พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ไวยากรณ์และการใช้ประโยคต้องเรียนพื้นฐานของภาษาให้ไม่ลืมทุกวันให้ทบทวนความรู้ใหม่ ฝึกฟัง ฝึกเขียน ฝึกพูด ฝึกอ่าน ทุกวันต้องท่องคำศัพท์ให้เป็นความเคยชิน ถ้ามีอะไรไม่เข้าใจต้องไปถามอาจารย์และเพื่อนคนไทย จะให้ช่วยแก้ปัญหาได้ ไม่ต้องอาย ถ้ามีเวลาว่างต้องอ่านหนังสือไทยที่มีประโยชน์ด้วย อ่านหนังสือพิมพ์จะได้ฝึกอ่าน ต้องไปหาเพื่อนคนไทยจะได้ฝึกพูด  ฝึกฟังภาษาไทย ต้องแผนและเป้าหมายของการเรียนภาษาไทย ต้องพยายาม มีความมั่นใจ และเชื่อตัวเองว่าเรียนได้”

          “ต้องทำให้ตนเองมีความสนใจการเรียนภาษาไทย หาความรู้ที่ตนเองชอบเช่น ดูหนังไทย ฟังตามบทสนทนาในหนัง เมื่อการฟังเป็นตนเองน่าสนใจ หลังจากการฟังจะได้ประโยชน์และจะไม่เสียเวลาด้วย ต้องคุยกันกับเพื่อนคนไทยบ่อยๆ กล้าพูดภาษาไทย พูดผิดก็ไม่เป็นไรให้อาจารย์และเพื่อนๆ ช่วยแก้ไข ไม่จำเป็นต้องท่องจำคำศัพท์ แต่ในชีวิตประจำวันเมื่อเจอคำที่ตนเองจะใช้แต่ไม่รู้ ต้องบันทึกในสมุดเล็กๆ เพื่อจำง่ายๆ”

          “ดิฉันมีวิธีการเรียนแบบนี้ค่ะ คือ อ่านหนังสือเมื่อเรียนก่อน มาแล้วตั้งใจฟังอาจารย์สอนหนังสือ ตั้งคำถามและตอบคำถามด้วยในการเรียน มีความตั้งใจเวลาเรียน ต้องทบทวนบทเรียน และฝึกใช้ภาษาไทยเป็นประจำ หาหนังสือภาษาไทยที่ตัวเองสนใจมาอ่าน คบเพื่อนเป็นคนไทย ฝึกพูดภาษาไทย หาที่ฝึกงานเพื่อเพิ่มประสบการณ์ ต้องทำกิจกรรมและงานอื่นๆ ที่เกี่ยวกับภาษาไทย”

          “ต้องใส่ใจในการเรียน ฝึกอ่านออกเสียงภาษาไทยทุกวัน อ่านหนังสือไทยทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นหนังสืออะไรก็ตาม เมื่อมีเวลาว่างๆ อ่านข่าวหรือฟังข่าวทุกวัน หากไม่เข้าใจต้องรีบถาม เป็นคนช่างสังเกต เช่นสังเกตดูป้าย เพราะว่าบางคำเราไม่รู้ ต้องจดไว้ ฝึกเปิดพจนานุกรมเป็นประจำ และมีสมุดเล็กๆ ติดตัวตลอด เพราะว่าจะได้ใช้จดคำศัพท์ที่ไม่เข้าใจ”

          “กระบวนการเรียนรู้ภาษา มักได้แบ่งแยกเป็นสี่ส่วน ซึ่งได้แก่ การพูด การอ่าน การฟัง และการเขียน 4 ประเภทหลัก แต่ถ้าแบ่งออกให้ละเอียดให้ลึกอีก ผมคิดว่า ทักษะการใช้ภาษาทั้ง 4 ด้านนี้มีความต่อเนื่องกัน คือ การอ่านกับการเขียนสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง ส่วนการฟังกับการพูดก็เช่นเดียวกันเพราะฉะนั้น การเรียนรู้ภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จนั้น ผู้เรียนต้องมีความรู้ความสามารถทักษะการใช้ภาษาทั้ง 4 ด้านดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ ในกระบวนการเรียนรู้ภาษาไทย ผมเชื่อมั่นว่า มีกลุ่มผู้เรียนซึ่งไม่น้อยไม่รู้ว่าจะลงมือเริ่มจากขั้นไหนก่อนดี จากประสบการณ์อันเล็กน้อยของผมเอง ต่อไปผมจะแบ่งปันความรู้สึกที่ผมเรียนมา 4 ปีกับผู้ที่สนใจต่อการเรียนรู้ภาษาไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า สามารถมีส่วนช่วยต่อผู้ที่เรียนรู้อักษรที่มีกลิ่นอายสยามอย่างผมเอง  หากมีข้อผิดพลาดหรือขาดตกบกพร่องประการใดหวังว่าทุกท่านจะให้อภัยและโปรดให้คำชี้แนะ จะขอบคุณยิ่ง

          ไม่ว่าสิ่งใด ถ้าเราอยากประสบความสำเร็จในเรื่องนั้นที่เราจะทำ ก่อนทุกครั้งที่เราจะลงมือเริ่มปฏิบัติการ สิ่งแรกและถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่เราจำเป็นต้องคำนึงถึง คือ มีความสนใจหรือใจรักในเรื่องนั้นหรือไม่ สำหรับการเรียนภาษาไทยก็เช่นเดียวกัน ความใคร่อยากรู้ ความอยากเรียน เป็นคำตอบสุดท้ายสำหรับการเรียนภาษาทุกภาษา เมื่อมีความรักที่จะทำ ก็จะทำได้ดี และย่อมที่จะเรียนรู้ให้ทั่วทุกส่วนของภาษานั้น ๆ  เพื่อให้เข้าใจถึงภาพรวมของภาษา หากมีใจรักในการเรียนภาษาแล้ว เราจะเรียนอย่างมีความสุข ทุกวันที่ผมมีความสุขกับทุกวันที่เรียนภาษาไทย ผมเคยได้ยินบางคนบ่นว่า วันนี้ไม่อยากเรียนหรือเบื่อเรียน ในแง่มุมของบางคนอาจมีความคิดเห็นที่ว่า การเรียนรู้ภาษาเป็นสิ่งที่ไร้รสชาติมาก แต่สำหรับผมไม่มีความรู้สึกเหล่านั้น อาจจะมีเหนื่อยบ้าง ท้อบ้างในบางครั้ง แต่ถ้ามีสักวันหนึ่งที่เราสามารถใช้ภาษาที่เราได้เป็นกุญแจเปิดประตูสู่ประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรมที่อุดมของภาษาหรือประเทศนั้นๆ ความรู้สึกเหล่านั้นก็จะหายไปทันใด

          พจนานุกรมเป็นเครื่องมือติดข้างมือเสมอและขาดไม่ได้ในการเรียนรู้ภาษาทุกภาษา การเลือกพจนานุกรมที่เหมาะสมจะมีส่วนช่วยในการเรียนภาษาไทยให้ดียิ่งขึ้น ควรเลือกพจนานุกรมที่รวบรวมคำศัพท์เป็นจำนวนมากและทันสมัยทั้งเล่ม ไทย-จีนและจีน-ไทย ในโอกาสนี้ พจนานุกรมเล่มที่ผมจะแนะนำคิดว่าเป็นพจนานุกรมที่ดี คือ พจนานุกรมจีน-ไทยของ ศาสตราจารย์ เผย์ เสี่ยวรุ่ย จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ทฤษฏี บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด ภาษาดำเนินไปตามการพัฒนาของยุคสมัย จึงมีสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง พจนานุกรมก็จำเป็นต้องติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงนี้ให้ทัน พจนานุกรมเล่มนี้จึงสามารถตอบสนองความต้องการนี้ได้ เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการเรียนภาษาไทย  นอกจากนี้ เมื่อเรามีระดับทักษะการใช้ภาษาเบื้องต้นแล้ว ควรจะเพิ่มพจนานุกรมอีกเล่มหนึ่ง คือ พจนานุกรม ไทย-ไทย เพื่อพัฒนาการเรียนภาษาไทยให้ลุ่มลึกอีก ในโอกาสนี้ พจนานุกรมเล่มที่ผมจะแนะนำคิดว่าเป็นพจนานุกรมที่ดี คือ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต เป็นพจนานุกรมที่รวบรวมคำและมีเนื้อหาสมบูรณ์ที่สุดในเวลาปัจจุบัน

          สิ่งที่สำคัญไม่แพ้ ความสนใจหรือความรักในการเรียนอีกอย่างหนึ่ง คือ เวลาการเรียน ผมแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เวลาเรียนในห้องกับอาจารย์ผู้สอน และเวลาส่วนตัว เวลาเรียนในห้องกับอาจารย์ผู้สอนเป็นความรู้เบื้องต้นที่ผู้ศึกษามีความจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดี เริ่มจากเสียงพยัญชนะ 44 ตัว และเสียงสระ 22 ตัว นี่เป็นต้นกำเนิดของภาษาไทย ต้องท่องจำให้หมด มีผลกระทบต่อการส่งเสริมทักษาการใช้ภาษาทั้ง 4 ด้าน เพราะฉะนั้น ผู้เรียนจำเป็นต้องใช้เวลาการเรียนให้คุ้มค่าที่สุดเพื่อเกิดผลประโยชน์ต่อการเรียน  และนอกจากเรียนรู้ภาษาไทยจากอาจารย์ผู้สอนแล้ว อีกส่วนที่สำคัญซึ่งสำหรับผมเอง ผมคิดว่าการเรียนภาษาไทยที่ดีมาจากชีวิตประจำวัน อาจารย์ผู้สอนแค่นำทฤษฏีต่างๆมาถ่ายทอดกับเรา แต่เราจะนำมาประยุคใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไร นี่ก็ขึ้นอยู่กับผู้เรียนเอง ภาษาเป็นถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นการเรียนภาษาที่ดีนั้น ต้องสามารถใช้ภาษานั้นๆให้เกี่ยวพันธ์กับชีวิตประจำวันได้ เรียนรู้จากชีวิต และส่งผลกระทบต่อชีวิต”

          “เมื่อสี่ปีก่อนที่ฉันยังไม่มาเรียนที่เมืองไทย ฉันก็ไม่ได้นึกว่าจะมาเรียนภาษาไทย ตอนนั้นคุ้นเคยภาษาอังกฤษมากกว่าเพราะเมื่อสี่ปีก่อนที่ฉันตัดสินใจว่าจะมาเรียนที่เมืองไทยฉันก็เพิ่งจบจากโรงเรียนมัธยมตอนปลาย แต่ก่อนก็ไม่เคยเรียนภาษาไทยและตอนนั้นรู้สึกว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่ไกลชีวิตฉันมาก เพราะไม่ค่อยได้ใช้ คนที่อยู่รอบตัวก็แทบไม่มีใครเรียน ก่อนหนึ่งเดือนที่ฉันจะเดินทางมาเมืองไทย ฉันไปสมัครเข้าเรียนหลัดสูตรภาษาไทยซึ่งเป็นหลักสูตรที่สอนความรู้พื้นฐาน เพื่อนที่อยากมาเรียนที่เมืองไทยมักจะชอบถามเป็นระยะว่าภาษาไทยยากไหม ฉันก็มักจะตอบว่าไม่ยากเท่าไหร่หรอก ปัจจุบันนี้การที่มาศึกษาระดับอุดมศึกษาก็เป็นกระแสอยู่แล้ว แต่ผ่านการสังเกตจะเห็นชัดถึงข้อโต้แย้งอยู่ที่ว่ามาเรียนที่เมืองไทยจะใช้ภาษาไทยเรียนดีกว่าหรือภาษาอังกฤษ สำหรับคนที่เลือกเรียนหลักสูตรโดยใช้ภาษาไทย ความยากลำบากก็คือเมื่อก่อนไม่เคยเรียนรู้ความรู้ภาษาไทย ถ้าเทียบกับภาอังกฤษผู้คนอาจจะเกิดความคิดว่าภาษาไทยยากกว่าภาษาอังกฤษ แต่ความจริงเป็นเช่นนี้หรือเปล่า 

          ถ้าจะพูดว่าภาษาไทยไม่ยากก็จริง เพราะถ้าเปรียบเทียบไวยากรณ์ระว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ การที่ไม่มีกาลทำให้ภาษาไทยง่ายกว่าภาษาอังกฤษ ไวยากรณ์ภาษาไทยก็คลายกับไวยากรณ์ภาษาจีนเป็นส่วนมาก แต่ถ้าพูดว่าภาษาไทยเรียนยากก็จริง เพราะว่าชาวต่างชาติต้องใช้เวลาสักกี่เดือนหรือกี่ปีไปศึกษาความรู้ที่เป็นคนไทยเรียนรู้ตั้งแต่วัยเด็ก ผู้เรียนจะต้องได้รับความรู้ภาษาไทยอย่างมากและไว แต่ก็มีรุ่นพี่แค่ใช้เวลาประมาณห้าเดือนก็สามารถสื่อสารโดยใช้ภาษาไทยได้อย่างคล่อง ในช่วงเวลาอันแสนสั้นเรียนภาษาไทยให้ได้ดี อย่างน้อยสามารถสื่อสารเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน นี่อาจจะไม่ใช่ความฝัน 

          มีประโยคเคยกล่าวไว้ว่าความสนใจเป็นครูที่ดีที่สุดสำหรับการเรียน ดังนั้นผู้เรียนที่อยากเรียนภาษาไทยให้ดีอย่าไปคิดว่าภาษาไทยเรียนยาก ไปค้นหาวิธีการเรียนที่เหมาะกับตนเองต้องมีประโยชน์มากกว่านั่งบ่นถึงความยากการเรียนภาษาไทยแน่ ที่นี่ฉันจึงขอแนะนำวิธีการเรียนภาษาไทยของฉันเองหน่อยค่ะ อาจจะไม่เหมาะกับทุกคนแต่อย่างน้อยน่าจะมีส่วนช่วยกับผู้ที่กำลังเรียนภาษาไทยอยู่หรือผู้ที่วางแผนจะเรียน 

          สำหรับคนที่ยังอยู่ที่เมืองจีนยังไม่ได้เดินทางมาเมืองไทย สามารถสมัครเข้าเรียนหลักสูตรภาษาไทยได้ เพื่อทำความรู้จักภาษาไทยและเรียนรู้ความรู้พื้นฐานของภาษาไทย สำหรับคนที่เรียนภาษาไทยที่เมืองไทยก็ถือว่าโชคดีมาก เพราะว่าเมืองไทยก็พูดภาษาไทยอยู่แล้ว ไปถึงไหนก็คือห้องเรียน ในกรณีที่ผู้เรียนรู้จักพยัญชนะและเสียงสระของภาษาไทยได้ค้นเคยแล้ว สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มเรียนภาษาไทย ฉันขอแนะนำอุปกรณ์สองอย่างที่ต้องเอาไว้ติดตัว ได้แก่ 1.สมุดบันทึกขนาดเล็ก 2.ปากกา ในช่วงระยะเวลาเพิ่งเรียนภาษาไทย ผู้เรียนต้องเจอคำศัพท์ที่ไม่รู้จักเป็นจำนวนมาก ดังนั้นถ้าได้เจอหรือได้ฟังคำที่ไม่รู้จัก ก็สามารถจดไว้ในสมุดบันทึกแล้วค่อยท่องจำหรือเปิดพจนานุกรมทำความเข้าใจความหมายของคำที่หลัง 

          วิธีนี้ง่ายและมีประโยชน์มากต่อผู้เรียนในด้านการที่สะสมคำศัพท์ ทำตามเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จำนวนคำศัพท์ที่ผู้เรียนรู้จักก็จะเพิ่มขึ้นได้อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นภาษาใด พื้นฐานที่สำคัญที่สุดก็อยู่ที่จำนวนคำที่ผู้เรียนได้รู้จัก นี่เป็นเงื่อนไขสำคัญของการที่ใช้ภาษาสื่อสารกัน สำหรับการที่ท่องคำศัพท์ ฉันแนะนำว่าในขณะที่ท่องคำศัพท์ก็เขียนคำศัพท์ที่กำลังท่องอยู่ไปด้วยจะดีที่สุด อย่างนี้จะได้ทำให้ผู้เรียนจำคำศัพท์ได้มากที่สุดและไม่ค่อยจะได้ลืม อีกด้านหนึ่ง วิธีนี้ก็จะให้ผู้เรียนฝึกการเขียนด้วย 

          ในขณะที่ผู้เรียนสะสมคำศัพท์ ผู้เรียนสามารถลองใช้คำศัพท์หัดแต่งประโยค ผ่านกระบวนการนี้ ผู้เรียนจึงจะได้รู้จักไวยากรณ์ภาษาไทยเป็นอย่างไร เมื่อเราพูดภาษาไทย ประโยคจะเรียบเรียงอย่างไร ถ้าคุณแต่งประโยคได้ก็ต้องพูดได้ 

          ส่วนการพูด ก็ต้องฝึกพูดบ่อยๆ เมื่อไหร่ที่เราพูดผิดเราก็จะจำได้วิธีพูดที่ถูกต้องเป็นอย่างไร 
          มาถึงการอ่าน เมื่อผู้เรียนได้รู้จักคำศัพท์มากขึ้นก็สามารถอ่านเนื้อหาเท่าที่ผู้เรียนสามารถอ่านและเข้าใจได้ นอกจากเปิดปากฝึกพูดภาษาไทย การอ่านก็เป็นวิธีการเรียนที่ดีสำหรับผู้เรียนเพราะเนื้อหาการอ่านสามารถทำให้ผู้เรียนเข้าใจถึงไวยากรณ์ไทยโดยตรง ฉันมักจะเลียนแบบวิธีการเรียงคำศัพท์และประโยคจากหนังสือ การอ่านยังมีประโยชน์ที่สำคัญมากอีกหนึ่งประการคือว่า การอ่านสามารถพัฒนาทักษะการเขียนของผู้เรียนให้มากที่สุด นอกจากอ่านหนังสือตำรา ฉันชอบอ่านหนังสือที่สนุกกว่าตำรามากกว่า เช่นหนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน สารคดี หนังสือเหล่านี้เข้าใจไม่ยากสำหรับชาวต่างชาติ ขณะที่ได้เรียนรู้ภาษาไทยก็ไม่ไร้ความสนุก 

          ขณะที่อ่านหนังสือภาษาไทย ผู้เรียนสามารถขีดเสนใต้คำที่ไม่รู้จัก แล้ววิธีนี้ก็นำเราย้อนกลับไปถึงกระบวนการสะสมคำศัพท์ เห็นไหมว่า การเรียนภาษาก็เป็นกระบวนการซ้ำซึ่งมีรูปร่างลักษณะที่เหมือนกับวงกลม ตอนแรกเราสะสมคำศัพท์ ต่อมาเราก็พายายามหัดแต่งประโยคและเรียงคำศัพท์เพื่อพูดคุยสื่อสารกับคนอื่น เมื่อเรารู้จักคำศัพท์มากขึ้นเราก็อ่านได้ แล้วเราก็เรียนรู้วิธีการเขียนจากการอ่าน ในที่สุดถ้าเจอคำศัพท์ที่ไม่รู้จัก เราก็ต้องสะสมคำศัพท์อีก เป็นอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก นี่ก็คือวงกลมการเรียนภาษาไทยที่ฉันได้สังเกตจากประสบการณ์การเรียนจริง 

          คำศัพท์เป็นส่วนที่สำคัญสำหรับผู้เรียนภาษา บทความยาวขนาดไหนก็ต้องอาศัยคำศัพท์แต่ละคำเชื่อมต่อกันมา สะสมคำศัพท์และให้ความสำคัญกับคำศัพท์เป็นการเริ่มต้นที่ดีที่สุด มองกระบวนการการเรียนภาษาไทยเป็นวงกลม อาจจะสามารถลดความวุ่นวายของผู้เรียนที่เพิ่งเรียนภาษาไทย หวังว่าประสบการณ์ของฉันจะมีส่วนช่วยต่อผู้เรียนภาษาไทยที่กำลังมีปัญหาในตอนนี้”

          “วิธีการเรียนภาษาไทยในมุมมองกระผม กระผมมีข้อแนะนำ 3 ข้อจากความรู้สึกของตนเอง คือ    1.การออกเสียง 2.การฝึกจำคำศัพท์และประยุกต์ใช้ศัพท์ที่จำ และ3.การอ่านหนังสือภาษาไทย สำหรับผู้เรียนภาษาไทยมือใหม่ ควรเน้นการฝึกออกเสียง เมื่อพูดภาษาไทย พูดให้ช้าๆและชัดเจน บางทีความคิดเร็วกว่าการพูด เราต้องอดทนและปรับตัวสักหน่อย

          สำหรับผู้เรียนภาษาไทยระดับเข้าสู่ระบบแล้ว ควรเน้นการฝึกจำคำศัพท์และประยุกต์ใช้ศัพท์ที่จำ กระผมแนะนำว่า คำศัพท์ที่จำไว้ อย่างน้อยต้องพยายามใช้ในชีวิตประจำวัน 1 ครั้ง และสัปดาห์แรกที่หลังจากนี้ใช้อีก 1 ครั้ง เดือนแรกที่หลังจากนี้ใช้อีก 1 ครั้ง

          สำหรับผู้เรียนภาษาไทยระดับกลางอย่างเหมือนพวกกระผม ควรอ่านหนังสือภาษาไทยเรียนความรู้จากผู้เขียนต่างๆ เพื่อรู้จักสังคมไทยภาคอื่นๆที่ไม่ได้พบในที่อยู่อาศัยของผู้เรียน

          สุดท้าย กระผมมีความคิดเห็นว่า ภาษาไทยเป็นเครื่องมือการสื่อสารของเรา และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย เพราะฉะนั้นผู้เรียนภาษาไทยต้องเข้าไปในสังคมไทยเพื่อศึกษาความคิดของคนไทยและวัฒนธรรมไทย อันเป็นจุดหัวใจของการเรียนภาษาไทยด้วย”

 

          2. ปัจจัยเสริมที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จในการเรียน

          “ผมรู้สึกว่าปัจจัยที่สำคัญสำหรับนักศึกษาที่มาเรียนที่ประเทศไทย คือ พ่อ แม่ การแข่งขัน และคะแนน เพราะว่าค่าเล่าเรียนเป็นพ่อแม่ที่ให้เรา ถ้าเราไม่ตั้งใจเรียนก็เสียค่าเล่าเรียนเปล่าๆ ถ้าเราไม่ตั้งใจเรียนคะแนนก็ไม่ผ่าน ก็ต้องเรียนใหม่ อย่างนี้ก็เสียเวลา และการแข่งขันก็เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะการแข่งขันของสังคมเข้มข้นมาก เช่น ปัจจุบันนี้ ในประเทศจีน คนที่เรียนภาษาไทยมีจำนวนมาก ถ้าไม่ตั้งใจเรียนเราก็หางานยาก” 

          “ปัจจัยเสริมที่ทำให้นักศึกษาประสบความสำเร็จ ฉันรู้สึกว่าเป็นพ่อแม่เพราะว่าค่าลงทะเบียนเป็นพ่อแม่หามาให้เรา ถ้าเราไม่พยายามเรียนก็น่าเสียดายค่าลงทะเบียนที่พ่อแม่หามาให้ แล้วก็อาจารย์ก็เป็นปัจจัยส่วนหนึ่ง อาจารย์ใจดีมาก อาจารย์สอนเราเหนื่อยมาก เมื่อเรามีปัญหาแล้วอาจารย์ก็ช่วยเรา หาวิธีแก้ปัญหาให้เราด้วย นอกจากนี้ ฉันรู้สึกว่าการแข่งขันก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ ดังนั้นเราเรียนหนังสือก็ต้องขยัน ต้องมีพยายามด้วย

          “เราต้องรู้จักตัวเรา อยู่ในเมืองไทยใช้ภาษาไทยได้ก็เป็นแค่ทักษะหนึ่งอย่างของตัวเอง ในเมืองไทยคนไทยทุกคนก็ใช้ภาษาไทยได้อย่างดี นอกจากนี้มีหลายคนใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาจีนได้ ถ้าเพื่อนนักศึกษาจีนคนไหนเรียนภาษาไทยเก่งกว่าเพื่อนคนอื่น ไม่ต้องโอหัง ยังมีคนอื่นเก่งกว่าคุณ คุณยังไม่เก่งเหมือนคนไทย การสื่อสารในชีวิตเราต้องให้เข้าใจ ถ้าใครยังไม่ใช้ได้ดี ก็ไม่ต้องน้อยใจ ต้องกล้าคุยกับคนไทย ฝึกพื้นฐานบ่อย ๆ อย่ารู้สึกว่าใช้ภาษาไทยไม่เก่ง ก็ไม่ยอมสื่อสารกับคนไทย หรือเรียนวิชาอื่นไม่ได้ เราต้องมั่นใจและสร้างกำลังใจแก่เราเอง หากเราต้องยกเลิกการเรียนในรายวิชาภาษาไทย แต่ก็ยังมีวิชาอื่นๆหรือทักษะอื่นๆที่ต้องเรียนอีก นี่ก็คือความกดดันจากสิ่งแวดล้อมอีกอย่างหนึ่งทำให้เราต้องพยายามเรียน

           เมื่อเรียนในห้องเรียน ต้องตั้งใจฟังอาจารย์พูด และบันทึกความรู้ และพร้อมจะเปิดพจนานุกรมด้วย ไม่เข้าใจตรงไหนต้องถาม ในหอพักต้องทบทวน และอ่านหนังสือรวมหนังสืออื่นๆ การบ้านต้องทำเสร็จด้วยตัวเอง ถ้าไม่ไหวจริงๆ หาเพื่อนคนไทยช่วยแปลภาษาได้ แต่เราต้องคิดแผนการเรียนรู้ของตัวเราเอง ถ้าเป็นงานกลุ่ม ต้องร่วมคิด ร่วมทำด้วยกันจริงๆ ไม่ว่าเราไปเที่ยวที่ไหนในเมืองไทยเราก็จะได้เรียนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยด้วย ที่สำคัญคือเราต้องมีความคิดด้วย รู้จักจะสื่อสารกับคนไทย อาจารย์ กับเพื่อนๆก็จะช่วยเรา และเตือนให้ต้องตั้งใจ

          “ปัจจัยเสริมที่ทำให้ฉันประสบความสำเร็จ คือ ความกดดันของแข่งขัน และการคว้าโอกาสที่ดี ในสังคมปัจจุบัน หลายคนหลังจากเรียนจบรับปริญญาตรีก็ยังหางานทำไม่ได้ เพราะมีนักศึกษามากมายก็ได้รับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยทุกคนก็พยายามเรียนหนังสือแต่ไม่เคยได้รับประสบการณ์ ถ้าเข้าบริษัททำงาน แต่ไม่มีประสบการณ์ บริษัทก็คิดว่าต่อไปทำงานอาจจะทำไม่ได้และไม่ได้ผลงาน ดังนั้นนอกจากจะต้องขยันเรียนแล้วเราก็ต้องหาประสบการณ์ในการทำงานด้วย”

          “ปัจจ

หมายเลขบันทึก: 440136เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2011 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

นักศึกษาต่างชาติเขาคงอยากมาดูวัฒนธรรม คลังความรู้ของคนไทย คงได้อะไรกลับไปเยอะ และหวังว่าเขาจะประทับใจและอยากกลับมาอีก

ขอบคุณนะคะที่ไปร่วมแบ่งปันประสบการณ์...

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท