การศึกษาผลของการประเมินตนเองของนิสิตทันตแพทย์ต่อประสบการณ์การทำงานชุมชนในคลินิกทันตกรรมชุมชนโดยใช้แบบสะท้อนความคิด


แบบสะท้อนความคิดเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการแสดงประสบการณ์การเรียนรู้ในการเรียนรู้คลินิกชุมชน

การศึกษาผลของการประเมินตนเองของนิสิตทันตแพทย์ต่อประสบการณ์การทำงานชุมชนในคลินิกทันตกรรมชุมชนโดยใช้แบบสะท้อนความคิด 

Dental Students’ Self-Evaluation on Their Community-Base Experince in Dental Public Health Clinic : The Use of Self-Reflective Learning Log

 

ณัฐวุธ  แก้วสุทธา , เสรีนา สิรรัตน์ สกุลณะมรรคา, กิตติธัช  มงคลศิวะ 

ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็กและทันตกรรมป้องกัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

บทคัดย่อ


วัตถุประสงค์ :

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของเครื่องมือ ที่ใช้ประเมินนิสิตในคลินิกทันต        สาธารณสุขชุมชน โดยอาศัยทฤษฎีการประเมินด้วยตนเอง โดยการวิจัยในส่วนแรกเป็นการศึกษาผลของประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้แบบสะท้อนความคิดในการเรียนรู้คลินิกชุมชน และในส่วนที่สองเป็นการศึกษาผลของการประเมินการมีส่วนร่วมในการทำงานที่ประเมินด้วยตนเองและเพื่อนร่วมกลุ่มเป็นผู้ประเมินโดยใช้แบบประเมินการมีส่วนร่วม

วิธีการศึกษา 

รวบรวมข้อมูลจากข้อมูลของนิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 5 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ  จำนวน 60 คน  จากแบบสะท้อนความคิดในการเรียนรู้คลินิกชุมชน และแบบประเมินการมีส่วนร่วม โดยในส่วนของแบบสะท้อนความคิด จะรวบรวมประเด็นที่น่าสนใจและจัดหมวดหมู่ข้อมูลที่ได้ตามความสอดคล้องของข้อมูลจากการเขียนบรรยายของนิสิตแต่ละคน จากนั้นจะทำการวิเคราะห์เพื่อหาความเกี่ยวข้องของข้อมูลที่ได้กับวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน  สำหรับในส่วนของแบบประเมินการมีส่วนร่วมในการทำงาน จะวิเคราะห์ความแตกต่างของผลการประเมินการมีส่วนร่วมในการทำงานด้วยตนเองและผลการประเมินจากสมาชิกในกลุ่ม  จากนั้นทดสอบความแตกต่างของค่าที่วัดได้จาก 2 กลุ่มโดยใช้สถิติ paired t-test  และทดสอบความสอดคล้องของระดับการมีส่วนร่วมจากการประเมินโดยตนเองและสมาชิกในกลุ่มโดยใช้สถิติ Pearson Correlation โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป ที่ระดับความเชื่อมั่น95%


ผลการศึกษา  

จากแบบสะท้อนความคิดพบว่า นิสิตได้เรียนรู้แตกต่างกันตามขั้นตอนของการปฏิบัติงานในชุมชน    โดยพบว่านิสิตได้เรียนรู้ในขั้นตอนของการเข้าชุมชนมากที่สุด รองลงมาเป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหา และการวางแผนการปฏิบัติงานทันตสาธารณสุขในชุมชนตามลำดับ แต่ไม่พบการบรรยายของนิสิตในส่วนขั้นตอนของการประเมินผลโครงการ

สำหรับในส่วนแบบประเมินการมีส่วนร่วม พบว่าสามารถจัดระดับการมีส่วนร่วมสำหรับการประเมินด้วยตนเองได้ดังนี้ คือ มีส่วนร่วมมาก 8 คน (13.3%), มีส่วนร่วมปานกลาง 41 คน (68.3% ) และมีส่วนร่วมน้อย 11 คน(18.3%)  ขณะเดียวกันการประเมินจากสมาชิกในกลุ่ม สามารถจัดระดับการมีส่วนร่วมได้ดังนี้ คือ มีส่วนร่วมมาก 12 คน (20%), มีส่วนร่วมปานกลาง 34 คน (56.7%)  และมีส่วนร่วมน้อย14คน(23.2%) ซึ่งผลการทดสอบทางสถิติไม่พบความแตกต่างของระดับการมีส่วนร่วมระหว่างการประเมินทั้งสองรูปแบบ และมีความสอดคล้องกันในแต่ละระดับการมีส่วนร่วม


สรุป:

แบบสะท้อนความคิดเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการแสดงประสบการณ์การเรียนรู้ในการเรียนรู้คลินิกชุมชน
และแบบประเมินการมีส่วนร่วมสามารถใช้ประโยชน์ในการประเมินการมีส่วนร่วมในการทำงาน โดยใช้หลักการประเมินด้วยตนเองได้


คำหลัก : การสะท้อนคิดด้วยตนเอง, คลินิกทันตสาธารณสุขชุมชน, การเรียนรู้ด้วยตนเอง

 ****************************

Abstract

 ************************

Objective:

This study objective is to see how effective tools that use to evaluate Dental student in community basses by used of Self-Evaluation theory. First part of the study is study by Experience the use of Self-Reflective Learning Log from community. Second part of the study is Self-Evaluation and Group-Evaluation.

 

Process:

Compile data from 60 students of 5th Year Dental student at Srinakharinwirot University .From Self-Reflection Learning Log theory and Participatory Appraisal. The Self-Reflection Learning log theory will raise important keystone and categories the Dental Students’ lecture data. Then analysis relation between data and objective for organize learning and teaching. The Participatory Appraisal will analyze the differentiate result of evaluations of the Self-Evaluation and the Group-Evaluation. Then test differentiate these two evaluations by uses paired t-test and Pearson Correlation statistic. Preparations by use the instant program that can be 95% reliability test.

 

Result:

Dental students’ learn difference steps of public health. The result found that most of students learn to adapt to the community then how to analyze problems then plan out working process in order. But there is no lecture of Dental Student record step by step in evaluation structure.

Found that survey can rank Self-Evaluation in 3 difference levels:  High Participate 8 person (13.3%), Middle Participate 41 person (68.3%) and Low Participate 11 person (18.3%). In the same time Group-Evaluation results as: High Participate 12 person (20%), Middle Participate 34 person (56.7%) and Low Participate 14 person (23.2%). Results have show that Self-Evaluation and Group-Evaluation are similar in people participate and conform in each level of participate.

 

Conclusion:

The use of self-reflective Learning Log is an effective tool for Experience in Dental Public Health Clinic. And both of the Evaluations have beneficial working process.

 

Keyword:

Self-Reflective Learning Log, Dental Public Health Clinic, Self-Learning

หมายเลขบันทึก: 439817เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2011 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ทัตกรรมกับชุมชนงานเชิงรุก  หนึ่งอำเภอหนึ่งชมรมผู้สูงอายุสุขภาพช่องปาก  ที่พัทลุง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท