บันทึกบทเรียน RT


การนิเทศ/การประเมิน

           ก่อนจะเปิดเทอมและคงจะประเมินต่อขอบันทึกบทเรียน (lesson learned)ในที่นี้เป็น How To ที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติจริงและพร้อมจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "ตาสว่าง" เป็นศึกษานิเทศก์ที่รักอาชีพนี้ ศึกษานิเทศก์เป็นวิชาชีพที่มีการรับรอง จะไม่เสียเวลา อธิบายบทบาทหน้าที่แต่บันทึกหน้านี้จะขอเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาศาสตร์ทางการนิเทศ ด้วยบันทึกจาก Roving Team

 

      อ่านคำทำนายสนุกๆ (ต่อจากเรื่องรวมจุดอ่อนตอน1-2)ก่อนนะคะถ้าทำนายถูกบอกด้วย สำหรับคนที่เกิดวันที่...ทำนายว่า

26 เป็นคนมีวิสัยทัศน์ก้าวไกล เหมาะกับการเป็นผู้นำ

27 เป็นคนไม่ชอบเอาเปรียบใครและไม่ชอบให้ใครเอาเปรียบ รักความยุติธรรม

28 เป็นคนใจเย็นใช้ชีวิตเรื่อยๆ ไม่ชอบเร่งรีบ

29 เป็นคนรักเดียวใจเดียว ไม่เจ้าชู้

30 เป็นคนดื้อเงียบ ไม่ถียงไม่บ่นแต่ไม่ทำตามถ้าไม่เชื่อ

31เป็นคนมั่นใจในตัวเอง ไม่กล้าตัดสินใจ ต้องการกำลังใจจากคนอื่นเสมอ

                    บันทึกจาก ROVING TEAM

ก่อนอ่านบันทึก 

              โรงเรียนในฝัน “การพัฒนาทั้งระบบโรงเรียนเพื่อคุณภาพนักเรียนเป็นสำคัญ” โครงการมีเจตนาที่จะนำเสนอการพัฒนาทั้งระบบโรงเรียนที่เป็นต้นแบบได้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำหรับบันทึกจาก Roving Team ฉบับนี้เป็นอีกบทเรียน (Lesson learned) จากการดำเนินงานโครงการโรงเรียนในฝัน และจัดทำเพื่อแนวทางในการพัฒนาการนิเทศการศึกษา และขอเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาศาสตร์ทางการนิเทศการศึกษา โดยปรับปรุงจากเอกสาร “Roving Team เพื่อนคู่คิด” (สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ปีการศึกษา 2552) ซึ่งเป็น การถอดบทเรียนการนิเทศโรงเรียนในฝัน นอกจากนี้ได้บันทึกแนวทางการประเมินต้นแบบโรงเรียนในฝันที่ผ่านเพื่อเป็นกรณีศึกษา (Case Study) ทั้งนี้เพราะการประเมินเพื่อรับรองต้นแบบโรงเรียนในฝันนับว่าเป็นบทเรียนที่รอการพัฒนาต่อยอด

            หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบันทึกฉบับนี้จะเป็นประโยขน์ต่อการพัฒนาการทำงาน สำหรับผู้นิเทศและผู้สนใจขอขอบคุณ ชาวRoving Team ทุกท่านทั้งที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ และเคยมีบทบาทในฐานะ Roving Team ทุกท่านมีคุณค่าและมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการนิเทศเป็นอย่างยิ่ง                 

แนะนำ Roving Team ( RT)

          Roving Team (RT) หรือ หน่วยเคลื่อนที่เร็ว หมายถึง คณะบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะทาง  (สาระในการนิเทศ) มีทักษะและความเชี่ยวชาญการนิเทศ ตลอดจน มีความพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือผู้ต้องการรับการนิเทศอย่างรวดเร็ว ทันต่อความต้องการ ในที่นี้หมายถึงคณะบุคคลที่ทำหน้าที่นิเทศโรงเรียนในฝันระดับเขตตรวจราชการ ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหาร ครูผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะเรื่อง เฉพาะทาง คณะบุคคลดังกล่าวได้รับแต่งตั้งจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทำหน้าที่เป็นผู้นิทศ โรงเรียนในฝันในระดับเขตตรวจราชการ (Roving Team)  

แนวคิดหลัก  

          จากความหมายดังกล่าวข้างต้น สอดคล้องกับหลักการนิเทศการศึกษา โดยมีแนวคิดสำคัญที่เป็นพื้นฐานในการกำหนดรูปแบบการนิเทศดังนี้

          1.  การพัฒนาทั้งระบบโรงเรียนเพื่อคุณถาพนักเรียนโรงเรียนในฝัน“เป้าหมายที่จะเป็นต้นแบบ” จำเป็นต้องอาศัยการขับเคลื่อนพร้อมกันทุกระบบโรงเรียนสู่เป้าหมายเดียวกับคือคุณภาพนักเรียน และเพื่อการขับเคลื่อนที่รวดเร็ว บนพื้นฐานของโรงเรียนที่ต่างกัน มีความจำเป็นต้องอาศัยพลังขับเคลื่อน การพัฒนา ด้วยการนิเทศ

          2.  การนิเทศเป็นการพัฒนาผู้ปฏิบัติงาน (ผู้บริหาร ครู) ให้สามารถปฏิบัติงาน (บริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน) ที่ส่งผลต่อเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ (คุณภาพนักเรียน)

     3.   การนิเทศที่เกิดจากความต้องการของผู้รับการนิเทศ ซึ่งปฏิบัติงานในสภาพจริงและในสภาวะปกติ  การให้การนิเทศ  แนะนำ  ช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ ควรเป็นไปอย่างรวดเร็วทันต่อความต้องการ ของผู้รับความช่วยเหลือ                                         

    4. การดำเนินการเพื่อพัฒนาโรงเรียนในโครงการเพื่อเป็นต้นแบบ เป็นการปฎบัติการเชิงรุก ที่อาศัยการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย อย่างรวดเร็วทันท่วงทีเพื่อสร้างความตระหนักในความสำคัญของโครงการ สร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการพัฒนางาน เสมือนหนึ่งผู้ปฏิบัติงานมีเพื่อนคู่คิดอยู่เคียงข้าง

     5.  การนิเทศที่สามารถครอบคลุม กลุ่มเป้าหมายอย่างรวดเร็ว ต้องเกิดจากการประสานความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญหลายๆด้านตามความต้องการของผู้รับการนิเทศ และเป็นไปตามหลักการนิเทศแบบกัลยาณมิตร

      6.  จากแนวคิดด้านผู้นิเทศที่มาจากผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน  จึงพิจารณาผู้นิเทศเป็น 2 ส่วน คือศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบโครงการและเชี่ยวชาญการนิเทศ ผู้ปฏิบัติงาน (ผู้บริหารและครู) ที่ได้รับการพัฒนาและมีประสิทธิภาพในการทำงานสามารถเป็นต้นแบบได้  

       7.  ระยะแรกซึ่งเป็นการพัฒนาโรงเรียนในโครงการรุ่นที่ 1 เน้นการสร้างความเข้าใจและแสวงหาแนวทางการพัฒนาร่วมกันทั้งการบริหารจัดการ การเรียนการสอนให้สอดคล้องกับลักษณะสำคัญของนักเรียนโรงเรียนในฝัน ความต้องการขยายแหล่งเรียนรู้ โดยเฉพาะการใช้สื่อ ICT การใช้ Computer เพื่อการพัฒนาทั้งระบบโรงเรียน ประกอบกับโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวด้านการนิเทศระดับมัธมศึกษา ดังนั้นจึงมีศึกษานิเทศก์เขต (เขตการศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา) เป็นหลักใน Roving Team

                   จากแนวคิดหลักที่กล่าวถึงจึงนำมาประมวลเป็น คณะนิเทศโรงเรียนในฝันระดับเขตตรวจราชการหรือ Roving Team

ลักษณะสำคัญ  ลักษณะสำคัญและการขับเคลื่อนการนิเทศ

          1. คณะนิเทศ ประกอบด้วย

หัวหน้าคณะนิเทศ

หมายถึงผู้ที่ได้รับความไว้วางใจจาก Roving Team แต่ละคณะ นอกจากจะมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำแต่ละคณะแล้ว ยังมีบทบาทในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และวิธีดำเนินงานของ Roving Team

กลุ่มที่เป็นแกน

หมายถึงศึกษานิเทศก์จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 คน รับผิดชอบการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนในโครงการโดยตรง มีบทบาทสำคัญในการวางแผน และประสานการนิเทศกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่นอกเหนือจากบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้ง เข้าร่วมนิเทศ ในฐานะวิทยากร หรือที่ปรึกษา (ตามแต่ละคณะจะเห็นเหมาะสม) จำนวนบุคลากรในกลุ่มนี้จะมาจากศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละคณะอาจมอบหมายให้บุคลากรในกลุ่มนี้เป็นเลขานุการคณะนิเทศ

กลุ่มที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ หมายถึง ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหาร ครู อาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทำหน้าร่วมปฏิบัติการนิเทศในฐานะ Roving Team ซึ่งได้รับมอบหมายภาระกิจเฉพาะจากคณะนิเทศ

          2.  ลักษณะเฉพาะของคณะนิเทศแต่ละคณะ

               2.1 มีผู้มีความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญครบทุกสาระตามหลักสูตรและสอดคล้องกับคุณภาพนักเรียนโรงเรียนในฝัน

               2.2 มีผู้มีความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญด้าน ICT

               2.3 มีผู้มีความรู้ ความสามารถบริหารจัดการพัฒนาทั้งระบบโรงเรีย

     3.  การขับเคลื่อนการนิเทศ หมายถึง ปฏิบัติการนิเทศโรงเรียนในโครงการทุกโรงเรียนในเขตตรวจราชการที่แต่ละคณะได้รับมอบหมาย

               3.1 ศึกษานิเทศก์ กลุ่มที่เป็นแกน ขับเคลื่อนการนิเทศโดย การจัดทำข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน ออกแบบการนิเทศ จัดทำแผนการนิเทศ ประสานแผนการนิเทศระหว่างคณะนิเทศภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมายจัดทำแผนปฏิบัติการนิเทศ ประสานการดำเนินงานกับโครงการในส่วนกลาง

               3.2 กิจกรรมสำคัญสำหรับกลุ่มที่เป็นแกนการนิเทศ

                    1)  สร้างความเข้าใจและหรือซักซ้อมความเข้าใจในบทบาทหน้าที่กับ Roving Team                   

                  2) ร่วมกับโรงเรียนวางแผนพัฒนาและนิเทศโรงเรียน

                   3) ปฏิบัติการนิเทศตามแผนปฏิบัติการนิเทศ ตลอดจนการนิเทศตามความต้องการจำเป็นของโรงเรียนที่ไม่เป็นไปตามแผนการนิเทศ

                   4) ประสานการประเมินและร่วมเป็นกรรมการเพื่อรับรองต้นแบบโรงเรียนในฝันและประเมินความยั่งยืนความเป็นต้นแบบโรงเรียนในฝัน

                   5)   สรุปและรายงานผลการนิเทศ

                   6)   จัดทำรายงานการนิเทศ

วัตถุประสงค์  การนิเทศโดย Roving Teams มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ การติดตาม ดูแล ช่วยเหลือและพัฒนาโรงเรียนในฝันให้เป็นไปอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพทุกโรงเรียน                   

เป้าหมาย  การนิเทศโดย Roving Teams แต่ละคณะปฏิบัติการนิเทศโรงเรียนในฝันในเขตตรวจราชการที่ได้รับมอบหมายและนอกเขตตรวจราช ตามคำร้อง                                       

ภารกิจสำคัญ ภารกิจสำคัญสำหรับ Roving Team  การปฏิบัติการนิเทศโรงเรียนในฝัน Roving Team ทุกคณะ มีภารกิจสำคัญ ดังนี้

               1. ประสานเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการและ บทบาทของ Roving Teams

                2.  จัดทำข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนที่รับผิดชอบ ข้อมูลพื้นฐานของ Roving Team (ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ผลงาน)

               3.  ร่วมกับโรงเรียนวางแผนพัฒนาโรงเรียน

                        4.  แนะนำช่วยเหลือ ให้การสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

               5.    ประสานให้มีการนิเทศตามความต้องการของโรงเรียน                  

              6.  ประเมินความพร้อมเพื่อรับการประเมินรับรองต้นแบบโรงเรียนในฝัน

               7.   ประสานการนิเทศระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่เกี่ยวข้อง

               8. ประสานการนิเทศและการประเมินเพื่อรับรองตันแบบโรงเรียนในฝันกับส่วนกลาง

               9. ร่วมเป็นคณะกรรมการประเมินเพื่อรับรองตันแบบโรงเรียนในฝัน

               10. จัดทำรายงานการนิเทศ 

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ ปฏิบัติการนิเทศโดย Roving Team ที่ผ่านมานับว่าประสบผลสำเร็จระดับหนึ่ง และพบว่าปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จดังกล่าวมี ดังนี้

          1.  ปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขเฉพาะบุคคลและคณะ

                 1.1  Roving Team แต่ละคนมีความสามารถเฉพาะตัว

                1.2  มีความเสียสละโดยเฉพาะความสะดวกสบายส่วนตัว

                 1.3 ร่วมเป็นเพื่อนคู่คิดกับโรงเรียนตลอดเส้นทางการพัฒนา ร่วมยินดี ร่วมรับความบกพร่อง และร่วมปรับปรุงตลอดจนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

               1.4 สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับโรงเรียนและร่วมพัฒนาจนกระทั่งโรงเรียนประสบความสำเร็จ

       2.  ปัจจัยด้านการบริการจัดการโดยเฉพาะการ กำหนดบุคคลแต่ละคณะ

                         2.1  Roving Teams มีส่วนร่วมในการเลือกผู้ร่วมงาน(เลือก Roving Teams) การเลือกจะพิจารณาเลือกผู้ที่มีความเหมาะสม มีความเชี่ยวชาญ สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับการนิเทศและความต้องการของแต่ละคณะ

                        2.2  มีคำสั่งแต่งตั้ง Roving Team อย่างเป็นทางการพร้อมแจ้งให้โรงเรียนที่เกี่ยวข้องและทุกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบ

                        2.3  กำหนดบทบาท Roving Team อย่างชัดเจน

                        2.4  ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัดของ Roving Teamและสำนักงานเพขตพื้นที่การศึกษาที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี

         3.  ปัจจัยที่ทำให้ Roving team ได้รับการยอมรับจากโรงเรียนส่งผลให้การนิเทศโรงเรียนประสบผลสำเร็จ 

                        3.1 กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานกับโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อความเหมาะสมกับการร่วมพัฒนางานเชิงคุณภาพ ( 1-2 สัปดาห์ )

                        3.2 สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับโรงเรียน เช่น ในระยะแรก Roving Team บางคณะอาจพักค้างที่โรงเรียนเพื่อให้ความช่วยเหลือดูแล ร่วมแก้ปัญหา ร่วมสนับสนุน เช่น ช่วยสอนเมื่อขาดครู (Computer) ช่วยระดมทุน (จัดกิจกรรมหาทุน) ช่วยประสานงานกับหน่วยราชการ องค์กรท้องถิ่นในการ ช่วยทำหน้าที่นิเทศภายในโรงเรียน ฯลฯ ทำให้โรงเรียนในโครงการรุ่นที่ 1 มีความใกล้ชิด เข้าใจการทำงานในแนวทางการนิเทศโดย Roving Team และในเวลาต่อมา ผู้บริหาร ครู  (เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน) หลายคนในโรงเรียนรุ่นที่ 1 ได้รับเลือกเป็น Roving Team  

                        3.3 ประชุมครูเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะและนำผลการประเมินไปเป็นแนวทางในการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง                                                

                        3.4 เป็นวิทยากรในเรื่องที่มีความถนัดหรือประสานวิทยากรตามความต้องของโรงเรียน

                      3.5  ร่วมกับโรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่เกี่ยวข้องประเมินความพร้อมของโรงเรียนก่อนขอรับการประเมิน

                        3.6 ร่วมเป็นคณะกรรมการในการประเมินเพื่อรับรองต้นแบบโรงเรียนในฝัน

          4. การนำแนวคิด การนิเทศโดย Roving Team สู่การปฎิบัติการนิเทศอย่างเป็นรูปธรรมในระยะแรก (การนิเทศโรงเรียนในฝันรุ่นที่1) จนประผลสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ และพัฒนาต่อมาในการนิเทศโรงเรียนในฝันรุ่นที่ 2 รุ่นที่ 3 พบปัจจัยสำคัญ   อื่น ๆ นอกจากที่กล่าวข้างต้น ได้แก่    

                  4.1  คณะผู้บริหารโครงการส่วนกลางประสานการนิเทศโดยตรงกับผู้บังคับบัญชาของ Roving Team

                 4.2 คณะผู้บริหารโครงการส่วนกลางเป็นผู้พาทำ นำ Roving Team นิเทศ โดยนำ Roving Team เข้าเป็นคณะกรรมการการประเมินต้นแบบโรงเรียนในฝันเป็นการเรียนรู้งานจากการปฏิบัติจริง

              4.3 การประสานการนิเทศระหว่างคณะผู้บริหารโครงการส่วนกลางกับ Roving Team เป็นไปอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการให้เกียรติซึ่งกันและกัน

                 4.4. ปัจจัยเฉพาะตัวของ Roving Team  เมื่อศึกษาลักษณะเฉพาะตัวผู้นิทศก์ ซึ่งมีส่วนที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการแล้ว พบว่า

                        4.4.1   Roving Team  มีความรู้ ความสามารถ ในเรื่องที่รับผิดชอบเป็นอย่างดี

                        4.4.2  Roving Team มีประสบการณ์และมีความสามารถในการนิเทศ

                        4.4.3 Roving Team ได้รับการยอมรับจากคณะ และผู้รับการนิเทศ

                      4.4.4  Roving team เสียสละทุ่มเท โดยเฉพาะเสียสละความสะดวกสบาย ส่วนตัว ทุ่มเทเวลาเพื่อนิเทศนอกเวลาราชการ อดทนและพยายามที่จะสร้างความเข้าใจต่อผู้ร่วมงานในงานปกติ (ไม่ใช่งานโรงเรียนในฝัน) รวมถึงเสียสละใช้พาหนะ เงินส่วนตัว เพื่อให้การนิเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญ เสียสละอย่างจริงใจเพราะไม่เคยนำสิ่งที่ทุ่มเทไป มาเป็นข้อต่อรองเพื่อขอรางวัล หรืออภิสิทธิใดๆ

                        4.4.5  ผู้นิเทศ ช่วยผ่อนคลายกฎระเบียบบางประการ เช่น เมื่อทราบความต้องการรับการนิเทศ ดำเนินการนิเทศโดยไม่ต้องรอหนังสือเชิญจากโรงเรียนหรือไม่ต้องแจ้งความต้องการนิเทศอย่างเป็นทางการ เป็นต้น

กิจกรรมการนิเทศ

                  ตัวอย่างกิจกรรมการนิเทศสำหรับ Roving Team ได้แก่ การนิเทศ ON LINE ประชุมเชิงปฏิบัติการ สาธิตการสอน สาธิตการทำงาน  การให้ตัวอย่าง  ประเมินตนเองหาจุดพัฒนา เป็นผู้พัฒนาต่อ COACHING พัฒนาจากการเรียนรู้งานจากการปฏิบัติจริงในสภาวะการทำงานปกติ (on the job training)  การให้พบผู้เชี่ยวชาญ จัดให้เรียนรู้งานจากผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ

บทเรียนที่ต้องบันทึกต่อไป (ฝาก Roving Team บันทึกต่อ)

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

 

                                           

 

คำสำคัญ (Tags): #ศาสตร์การนิเทศ
หมายเลขบันทึก: 439420เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2011 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 23:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท