เพลงขึ้นพลับพลา เพลงกุหลาบหอม เพลงกุหลาบงาม และเพลงโศก


เพลงขึ้นพลับพลา (หรือเพลงขึ้นพลับพลานอกหรือเพลงสามไม้นอก) เป็นเพลงอัตราจังหวะ ๒ ชั้น (อัตราจังหวะปานกลาง) หน้าทับปรบไก่ (วรรคหนึ่งมี ๘ ห้องเพลง) ใช้บรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงโขนละคร (เพลงในชุดขึ้นพลับพลาประกอบไปด้วยเพลงขึ้นพลับพลานอกหรือเพลงสามไม้นอก เพลงขึ้นพลับพลากลางหรือเพลงสามไม้กลาง และเพลงขึ้นพลับพลาในหรือเพลงสามไม้ใน อ้างอิงจากเอกสารของราชบัณฑิตยสถาน) 

ขึ้นพลับพลา น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น หน้าทับปรบไก่, สามไม้นอก หรือ ขึ้นพลับพลานอก ก็เรียก
ขึ้นพลับพลากลาง น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น หน้าทับปรบไก่, สามไม้กลาง ก็เรียก
ขึ้นพลับพลาใน น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น หน้าทับปรบไก่, สามไม้ใน ก็เรียก

ทำนองเพลงขึ้นพลับพลา

 

---- ---ซ ---ล ซซซซ -รํดํล -ซ-ม รดรม -ซ-ล
---- ---- -ดํ-ซ -ล-ดํ ---รํ มํรํดํล ---ซ -ลซม
---- -ร-ม -ร-ซ ---- -มํซํรํ มํรํดํล ซมซล -ดํ-รํ
---- ---- มํรํมํดํ -รํ-มํ -ซ-ล -ซ-ม ---ร ---ด

 

 

เพลงกุหลาบหอม

เพลงกุหลาบหอม คำร้องโดยขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์ พ.ศ. ๒๔๔๐ – ๒๕๒๓) ดัดแปลงทำนองเพลงขึ้นพลับพลาโดยแปลงเอื้อนตอนหนึ่งเป็นสร้อย “นะน้องเอ๋ย” แต่ที่เหลือยังคงขับร้องแบบไทยเดิม เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง "หลงทาง"  ซึ่งขุนวิจิตรมาตราได้ประพันธ์เรื่อง กำกับการแสดง และประพันธ์เพลงเองทั้งหมด ออกฉายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ แม่น ชลานุเคราะห์ (พระเอกของเรื่องหลงทาง) ขับร้องเพลงกุหลาบหอมเป็นคนแรก

 

“สีสดสวยทรงงามเมื่อยามเห็น (นะน้องเอ๋ย)

ใครจะเว้นเด็ดได้กุหลาบหอม

ถึงหนามยอกเนื้อยับก็จำยอม (นะน้องเอ๋ย)

ขอให้เด็ดดอกดอมให้ชื่นแด

อันกลิ่นหอมดอกเหี่ยวเดี๋ยวก็หาย (นะน้องเอ๋ย)

แต่ทิ้งรอยหนามร้ายนานเป็นแผล

ถึงกระนั้นฉันก็ไม่อาลัยแล (นะน้องเอ๋ย)

ด้วยจิตแน่ในกุหลาบเหลือปราบเอย”

 

 

เพลงกุหลาบงาม

เพลงกุหลาบงาม คำร้องโดยสมศักดิ์ เทพานนท์ ดัดแปลงทำนองเพลงกุหลาบหอม (ขึ้นพลับพลา) ของขุนวิจิตรมาตรา เป็นแบบไทยสากลแท้ (โดยไม่มีเอื้อนเหลืออยู่) สมศักดิ์ เทพานนท์ ขับร้องคู่กับ ชวลีย์ ช่วงวิทย์ ต่อมาวินัย จุลละบุษปะ ขับร้องคู่มาริษา อมาตยกุล   

                                                                     

“(ช) สีสดสวยทรงงาม
(ญ) งามแท้กุหลาบงาม งามสวยงามอร่าม
(ช) เมื่อยามเห็น (นะน้องเอ๋ย) ใครจะเว้นเด็ดได้
(ญ) หากแม้นเด็ดจริงไซร้ มินานคงได้
(ช) กุหลาบหอม
(ญ) ระวังหนามเรียวคม
(ช) ถึงหนามยอกเนื้อยับ
(ญ) แม้เนื้อยับหนามยอก ยอกหัวใจระกำ
(ช) ก็จำยอม (นะน้องเอ๋ย) ขอให้เด็ดดอกดอม
(ญ) คำหวานช่างยั่วย้อม น้อมอารมณ์รื่น
(ช) ให้ชื่นแด
(ญ) ยามเฉาใครจะมอง
(ช) อันกลิ่นหอมดอกเหี่ยว
(ญ) ใครเขาจะแลเหลียว คงทิ้งไว้แดเดียว
(ช) เดี๋ยวก็หาย (นะน้องเอ๋ย) แต่ทิ้งรอยหนามร้าย
(ญ) หากแม้นพี่กลับกลาย หนามจงทำร้าย
(ช) กลายเป็นแผล
ญ) ดีแท้คนใจดำ
(ช) ถึงกระนั้นพี่ก็ไม่
(ญ) ไปหวังอื่นใช่ไหม ไปซิไปคงได้
(ช) อาลัยแล (นะน้องเอ๋ย) ด้วยจิตแน่ในกุหลาบ
(ญ) ถึงชีพดับไปพลัน รักมั่นในกุหลาบ
(ช) เหลือปราบเอย”

 

สมศักดิ์ เทพานนท์ - ชวลีย์ ช่วงวิทย์ http://www.youtube.com/watch?v=wfADOSPVz4U

 

เพลงโศก

เพลงโศก นำคำร้องมาจากนิราศเดือนของนายมี ดัดแปลงทำนองจากเพลงขึ้นพลับพลาโดยสง่า อารัมภีร โดยแปลงเอื้อนตอนหนึ่งเป็นสร้อย “นะน้องเอ๋ย” เช่นเดียวกับเพลงกุหลาบหอม ต้นฉบับ ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ ขับร้อง

“จะว่าโศกโศกอะไรที่ในโลก (นะน้องเอ๋ย)
ไม่โศกเท่าใจหนักเหมือนรักสมร
จะว่าหนักหนักอะไรในดินดอน (นะน้องเอ๋ย)
ถึงสิงขรก็ไม่หนักเหมือนรักกัน
จะว่าเจ็บเจ็บแผลพอแก้หาย (นะน้องเอ๋ย)
ถ้าเจ็บกายแล้วชีวาแทบอาสัญ
แต่เจ็บแค้นนี่แหละแสนจะเจ็บครัน (นะน้องเอ๋ย)
สุดจะกลั้นสุดจะกลืนฝืนอารมณ์”


ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ ขับร้อง http://www.4shared.com/audio/6Gyv7aii/_-__.htm 

 

วิพล นาคพันธ์

๕ พฤษภาคม ๒๕๕๔

 

หมายเลขบันทึก: 438220เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2011 17:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2022 08:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ดุษฎี สว่างวิบูลย์พงศ์

ไม่ทราบเอาข้อมูลมาจากไหนครับ ขึ้นพลับพลาใน ขึ้นพลับพลากลาง ขึ้นพลับพลานอก มีด้วยเหรอครับ เท่าที่ทราบมีแต่เพลงสามไม้ใน สามไม้กลาง และสามไม้นอก ส่วนเพลงสามไม้นอกเรียกอีกชื่อว่าขึ้นพลับพลา(เฉยๆ ไม่มีคำว่า "นอก") อันนี้ล่ะไม่ผิด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท