แท้จริงอำนาจอธิปไตย (อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ)……ใครเป็นเจ้าของ ?


แท้จริงอำนาจอธิปไตย (อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ)……ใครเป็นเจ้าของ ?
จากคำถามชวนหาคำตอบที่กล่าวมาและเมื่อจะต้องตอบนี้ ก่อนอื่นก็ต้องทำความเข้าใจถึงอำนาจอธิปไตยเสียก่อนว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ซึ่งก็จะทำให้พบได้ว่า ในประเทศใหญ่ๆ เช่น ประเทศอังกฤษ หรือประเทศสหรัฐอเมริกา และหรือประเทศฝรั่งเศส อำนาจอธิปไตยนั้น จะมีที่มาจากการวิวัฒนาการทางสังคมของมนุษย์ ที่มาอยู่ร่วมกัน และมีผู้หนึ่งผู้ใดที่ตั้งตนหรือถูกยอมรับว่าสมควรเป็นหัวหน้า หรือเป็นผู้ทำหน้าที่ปกครอง ซึ่งจะกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ของสังคมให้กับสมาชิกในสังคมได้ปฏิบัติตามเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการปกครองในระยะแรกๆ เป็นเรื่องของความเชื่อในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติว่าเกิดจากการกระทำของเทพเจ้า ระบบการปกครองในช่วงแรกจึงเป็นระบอบเทวสิทธิ หรือระบอบเทวาธิปไตย และจากนั้นต่อมา ได้มีการพัฒนาการปกครอง เนื่องจากการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ เริ่มมีจำนวนมากขึ้น มีอาณาเขตและดินแดนเป็นของตนเอง ที่รวมตัวกันในระยะเวลาต่อ ๆ มา และเกิดเป็นรัฐขึ้นโดยได้มีการพัฒนาระบบการปกครองจากระบบเทวาธิปไตย มาเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีผู้ปกครองสูงสุดที่เรียกว่า “กษัตริย์” และลักษณะการปกครองในระบอบนี้ของทุกรัฐหรือประเทศ จะคล้ายกันอย่างหนึ่งก็คือ “ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ และไม่สามารถควบคุม ตรวจสอบการใช้อำนาจปกครองให้อยู่ในความเหมาะสม และพอดีได้ ทำให้เกิดปัญหาของการใช้อำนาจของผู้ปกครอง และในที่สุด ได้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยนักปราชญ์ที่ชื่อว่า มงเตสกิเออ Montesquieu” ก็ได้เสนอแนวทางแก้ไข คือ การนำหลักการแบ่งแยกอำนาจมาใช้ ซึ่งได้แก่ การแยกอำนาจของผู้ปกครอง หรืออำนาจอธิปไตยนั่นเอง ให้ออกเป็น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ โดยอำนาจทั้งสามนี้ จะไม่อยู่ที่คน ๆ เดียว เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน รวมทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้อำนาจใดอำนาจหนึ่ง ใช้อำนาจเกินสมควร และทำให้เกิดความเดือดร้อนและเสียหายแก่ประชาชนได้ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าความมุ่งหมายของมงเตสกิเออ ในการแบ่งแยกอำนาจ ก็เพื่อที่จะคุ้มครอง และให้หลักประกันสิทธิ และเสรีภาพแก่ประชาชนนั่นเอง

ฉะนั้น เมื่อจะกล่าวว่าอำนาจอธิปไตย มีใครเป็นเจ้าของ นั้น จึงกล่าวได้ว่าโดยแท้จริงแล้ว อำนาจอธิปไตยนั้น ประชาชน ก็คือผู้เป็นเจ้าของนั่นเอง

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #อิศรา
หมายเลขบันทึก: 43771เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2006 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท