ท้องถิ่นผนึกสภาองค์กรชุมชน สร้าง ปชต.เข้มแข็ง


ส่วนกลางไม่จริงจังกระจายอำนาจ ท้องถิ่นผนึกชุมชน ผลักดันการกระจายอำนาจ และพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีคุณภาพ

  สรุปย่อ สัมมนา “สร้างประชาธิปไตยให้เข้มแข็งโดยชุมชนและท้องถิ่น

การสัมมนาสภาองค์กรชุมชน กับองค์กรปกครองท้องถิ่น ในเวทีวิชาการ ไทย-อเมริกา/ แคนาดา  วันที่ 30 มีนาคม 2554    ณ กระทรวงการต่างประเทศ

สภาพปัญหาปัจจุบัน

สันนิบาตเทศบาล และสมาคม อบต. รายงานว่า รัฐบาลมีนโยบายไม่ชัดในการกระจายอำนาจ   จัดสรรงบประมาณให้น้อย (ร้อยละ 26 ของงบประมาณแผ่นดิน) และยังนำดึงเงินกลับไปเป็นโครงการนโยบายของรัฐบาลและโครงการที่เสนอโดย สส.  เป็นที่มาของการทุจริต

รัฐบาล กระทรวงมหาดไทย และ ผู้ว่า  นายอำเภอ  ควบคุมแทรกแซงองค์กรปกครองท้องถิ่นทำให้ อปท.ไม่เป็นอิสระในการทำงาน  อปท.กลายเป็นเป็นเครื่องมือทุจริตของส่วนกลาง ถูกสังคมมองว่าไม่โปร่งใส

ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีสำนึกเป็นเป็นเจ้าของ อปท.  องค์กรปกครองท้องถิ่น กับ สภาองค์กรชุมชนยังเข้าใจไม่ตรงกัน

สำหรับ กทม. แม้ผู้ว่าฯ มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน  เพราะโครงสร้าง กทม.ใหญ่เกินไป ผู้อำนวยการเขตมาจากการแต่งตั้งสนองระบบราชการมากกว่าสนองประชาชน การบริการของ กทม.เมื่อเปรียบเทียบกับ อบต. เทศบาล  ก็ด้อยกว่า

ข้อเสนอเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนท้องถิ่น

แนวทาง - เสนอให้ท้องถิ่น ร่วมกับ ภาคประชาชนและสภาองค์กรชุมชน ผลักดันการกระจายอำนาจ และพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีคุณภาพ

 ภารกิจเฉพาะหน้า ผลักดันแก้ระเบียบจากส่วนกลางที่เป็นอุปสรรค 

ระยะกลาง เสนอกฎหมายท้องถิ่นใหม่  ระยะยาว ส่งเสริมให้ประชาชนเป็นเจ้าขององค์กรปกครองท้องถิ่น

กิจกรรมความร่วมมือ พ.ศ.2554

1)จัดเวทีวิชาการประสานงาน  ผนึกประสาน  องค์กรปกครองท้องถิ่น ภาคประชาชน  และองค์กรภาคี โดยกระทรวงการต่างประเทศอำนวยความสะดวก และเชื่อมต่อกับองค์กรต่างประเทศ

2)จัดทำโครงการสร้างประชาธิปไตยโดยชุมชนท้องถิ่น  โดยเผยแพร่แนวความคิด และทำพื้นที่ตัวอย่าง 

3)รวมประชาชน กทม.และท้องถิ่น  รวบรวมรายชื่อเสนอ กฎหมายท้องถิ่น   พรบ.กทม. และกฎหมายอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่น

ผลสะเทือนต่อสังคม

การผนึกพลังชุมชนท้องถิ่นจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันการกระจายอำนาจ  การต่อต้านทุจริต  และ การสร้างประชาธิปไตยจากฐานราก 

ชุมชนท้องถิ่นจะเป็นพลังสำคัญในการสร้างการพัฒนายั่งยืน อันเป็นภูมิคุ้มกันของประเทศไทยในการต่อสู้กับกระแสโลกาภิวัตน์

คณะประสานงานเวทีวิชาการชุมชนท้องถิ่น (ริเริ่ม)

1)สมพงษ์ พัดปุย (เครือข่ายท้องถิ่นไทย)     2) ชูชาติ ผิวสว่าง (สนง.สภาองค์กรชุมชนระดับชาติ)          3) ณัชพล  เกิดเกษม (สมัชชาสภาองค์กรชุมชน กทม.)   4)สันนิบาตเทศบาล     5) สมาคม อบต. 

6) สมาคม อบจ.   7) ผู้ทรงคุณวุฒิ    8) ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ   9) องค์กรภาคีอื่น

หมายเลขบันทึก: 435408เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2011 00:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ฝ่ายนโยบายและฝ่ายวิบาการพูดกันมาก เรื่องส่งเสริมชุมชนสร้างประชาธิปไตย และพัฒนาท้องถิ่นยั่งยืน ... แต่คนที่จะทำจริง คือ ชุมชนและองค์กรปกครองทัองถิ่นเท่านั้น

(ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีสำนึกเป็นเป็นเจ้าของ อปท. องค์กรปกครองท้องถิ่น กับ สภาองค์กรชุมชนยังเข้าใจไม่ตรงกัน)

ภาคไต้ ร่วมพัฒนา ปชต.ท้องถิ่น โดย สพมและ สภาองค์องกรชุมชน ผลิตนักศึกษา ป้องกันชุมชน (วปช.) มาสองรุ่นออกไปพิทักษ์ ท้องถิ่น

ขอบคุณข้อเสนอเพื่อสร้างความเข้มแข็งชุมชน ....ขอมาเรียนรู้ในโอกากาสต่อไป

ประชาชนจัดตั้งหลากหลาย กระจัดกระจาย เป็นจุดแข็ง แต่หากขาดการประสานก็กลายเป็น จุดอ่อน

อปท.กับภาคประชาชน จัดความสัมพันธ์ที่เหมาะสมก็จะเป็นจุดแข็งได้

อำนาจที่ติดตัวมากับชุมชนท้องถิ่น ก็คือ การบริโภค และ การที่จะไม่ทำตาม  ถ้ารู้จักใช้ก็เป็นอาวุธได้

ผมว่าโดยรูปแบบ บริบททางสังคม และเงื่อนไขแวดล้อมบนความแตกต่างกันมากในระดับท้องถิ่นต่างๆแล้ว กรณีของเกาหลี มาเลเซีย และอินเดีย น่าจะเป็นบทเรียนและตัวอย่างที่น่าศึกษา สอดคล้องกับสภาพสังคมไทยมากกว่าแคนาดาและอเมริกานะครับ

เนื่องจากเป็นงานของราชการ ใช้งบประมาณของกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ จึงทำงานอยู่ในกรอบตัวเอง

อย่างที่คุณพิชัย นวลนภาศรี เสนอ ปัญหาของไทยเป็นเรื่องหลักการ ที่รัฐบาลรวมศูนย์ ยังแก้ไม่ตก กระจายอำนาจจึงติดขัด

อย่างที่ นายวิระศักดิ์ นายก อบต.คลองสามว่า แก้ความขัดแย้งกับส่วนกลางคงยาก ชุมชนกับท้องถิ่นจะต้องทำกันเอง

ต้นเหตุปัญหาอยู่ที่ส่วนกลางไม่กระจายอำนาจ คนพอรู้แล้ว แต่ที่เรื่องยากกว่า กลายเป็นเรื่องง่ายใกล้ตัว คือ ภาคประชาชนจะร่วมได้จริงกับท้องถิ่นอย่างไร

มีการเล่าตัวอย่างดี ๆ ความร่วมมือกับท้องถิ่นจำนวนมาก แต่ก็เป็น "เรื่องเล่า" เรื่องจริงยังเป็น Secret รู้ได้เฉพาะคนทำ ซึ่งก็มีความคืบหน้า

งานวิชาการยังกว้างและล่องลอย จะต้องช่วยกันพัฒนา

 

สมพงษ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท