แนวทางการปฏิบัติการป้องกันและดูแลผู้รับบริการตกเลือดหลังคลอด (Postpartum hemorrhage)


แนวทางการปฏิบัติการป้องกันและดูแลผู้รับบริการตกเลือดหลังคลอด (Postpartum hemorrhage)

การจัดการความรู้ : แนวทางการปฏิบัติการป้องกันและดูแลผู้รับบริการตกเลือดหลังคลอด (Postpartum hemorrhage)

งานตามภารกิจ : การพัฒนาคุณภาพการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง

เป้าหมาย : เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในมารดาและทารก

เหตุผลที่เลือกองค์ความรู้ : การตกเลือดหลังคลอด (Postpartum hemorrhage:PPH) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของมารดา อีกทั้งยังก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น Postural hypotension, ภาวะซีด และอาการอ่อนเพลียซึ่งอาจมีผลต่อการดูแลบุตร ภาวะซีดหลังคลอดทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้น ส่วนผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคเนื่องจากตกเลือดรุนแรงอาจเกิดภาวะ Anterior pituitary ischemia (Sheehan syndrome)ซึ่งทำให้น้ำนมไม่ไหลหรือไหลช้า ภาวะตกเลือดหลังคลอดที่เกิดหลัง 24 ชั่วโมง (Late postpartum hemorrhage) ส่วนใหญ่เกิดจากรกค้างหรือมีรอยแผลที่ตำแหน่งรกลอกตัว จากการตอบสนองของร่างกายที่ทนต่อการเสียเลือดน้อยกว่าร้อยละ 30 ทำให้สัญญาณชีพอาจจะปกติ จึงทำให้การวินิจฉัยภาวะนี้อาจผิดพลาดหรือล่าช้า ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะจากภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นการรักษาได้ผลดีที่สุดคือการตระหนักถึงเมื่อมีปัจจัยเสี่ยง การเฝ้าระวังอันตรายจากการตกเลือดทั้งในระยะก่อนคลอด ขณะคลอดและหลังคลอดจะช่วยลดการอัตราการตกเลือดหลังคลอดและภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวได้

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม : 1. นางไพรินทร์ เถื่อนวรรณา 2. นางบุษรา ใจแสน 3. นางสาววิราวรรณ์ วัชรขจร 4. นางวารุณี พู่พิสุทธิ์ 5. นางปราณี สุวัฒนพิเศษ 6. นางมลิ บวบทอง 7. นพ. นพพล ลีลายุวัฒนกุล 8. พญ. ธีรดา ชิตามระ

หมายเลขบันทึก: 435078เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2011 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท