Disclosure of HIV/AIDS status to children


บรรยากาศการลปรร.ที่ล้วนมากด้วยผู้มีประสบการณ์ ทำให้ผู้เกี่ยวข้องที่ยังประสบการณ์น้อยได้เรียนรู้มากมาย

วันนี้8 สค.49 ประชุมทั้งวัน 

         Workshop " Disclosure of HIV/AIDS status to children" โดยทีมวิทยากร ม.เชียงใหม่ นำทีมโดย ผศ.ดร.พญ. เพณณินาท์ โอเบอร์ดอร์เฟอร์      เริ่มด้วยการทำกิจกรรมเพื่อทำความรู้จักกันให้ผ้เข้าประชุมจับคู่ผู้ที่นั่งข้างๆและถามถึงความคิดฝันว่าอยากจะเป็น และให้แต่ละคนพูดถึงสิ่งที่เพื่อนได้บอกกล่าว หลังจากนั้นทีมวิทยากรได้แจกแบบสอบถามเพื่อดูประสบการณ์เกี่ยวกับ  Disclosure อย่างไรบ้าง พร้อมทั้งความคาดหวังในการทำ  Workshop ครั้งนี้ และให้ผู้ร่วมประชุมยก case study เพื่อแลกเปลี่ยน ก่อนเข้าส่เนื้อหา Disclosure of HIV/AIDS status to children หลังเบรคเช้าเป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการตายของเด็ก รวมทั้งจะช่วยผู้ปกครองอย่างไรในการเปิดเผยสภาวะการติดเชื้อเอชไอวี ทำงานกลุ่ม และทำ case study และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จนถึง 15.30 น.

 

AAR

สิ่งที่คาดหวัง

                ยังงงๆอยู่ค่ะเพราะได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมเมื่อวานนี้เอง ก็ เลยคิดว่าเข้าไปสังเกตการณ์ละกัน

สิ่งที่ได้

                  1.ได้ความรู้ (หลังออกจากการเป็นหัวหน้าตึกเด็กมา 3 ปี)

     5 stages oF disclosure   

                           stage 1 Information gathering  &trust building

                           stage 2 Education

                           stage 3 Determining when the time is right  for disclosure

                           stage 4 The actual  event

                           stage 5 The monitoring

                  2.เข้าใจปัญหาเด็ก ครอบครัว และผู้ดูแล การมีส่วนช่วยเหลือ โดยผ่านการเป็นสมาชิกชมรมกัลยาณมิตรพิชิตทุกข์ และให้ความอนุเคราะห์เป็นรายคนตามแต่โอกาส(นอกเหนืองบภาครัฐ) เป็นสิ่งที่พวกเราทำได้ และคนบำราศฯหลายๆคนทำกันอยู่

                  3.คิดประเด็น R2R  1 เรื่อง ว่าเราน่าจะศึกษาเปรียบเทียบว่ากลุ่ม Disclosure และไม่ Disclosure มี Adherence ต่างกันอย่างไร

                  4.เข้าใจเหตุปัจจัยที่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุม(เฉพาะตน)

ความแตกต่าง

                  ประทับใจทีมผู้ที่เข้าร่วมอบรมประกอบด้วยหมอเด็ก (5-6 คน)  เภสัชกร พยาบาล  นักสุขศึกษา นักสังคมสงเคราะห์ และผู้ให้คำปรึกษา ซึ่งทั้งหมดเป็นทีม PCT เด็ก หาได้ยากที่จะเห็นหมอเข้าร่วมได้มากขนาดนี้ ยืนยันถึงความเข้มแข็งของทีม PCT เด็กจริงๆ บรรยากาศการลปรร.ที่ล้วนมากด้วยผู้มีประสบการณ์ ทำให้ผู้เกี่ยวข้องที่ยังประสบการณ์น้อยได้เรียนรู้มากมาย(โดยเฉพาะดิฉัน)

                 สิ่งที่ประทับใจ อีกเรื่องคือเห็นทีมสุขภาพใส่ใจและให้ความสำคัญกับการcouselling  เป็นสิ่งที่บอกว่าเราใส่ใจสุขภาพองค์รวม โดยผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง

  สิ่งที่ได้เรียนรู้

               บทบาทผู้ประสานงานพัฒนาคุณภาพ เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร                 

                        

คำสำคัญ (Tags): #couselling#aar#disclosure#hivaids#children
หมายเลขบันทึก: 43465เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2006 18:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ขอบคุณที่เล่าให้ทราบ     กำลังสนใจเรื่องนี้และคิดว่ามีประโยชน์มาก
  • ประโยชน์หรือคุณค่าของการประชุมครั้งนี้อย่างน้อยที่สุดคือ
  • คุณค่าของการประชุมอย่างมากที่สุดคือการดูแลเด็กติดเชื้ออย่างครบองค์รวม 
  • อีกประการที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันคือ เพิ่มคุณค่าให้สมกับการเป็นโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรอง HA และการส่งเสริมสุขภาพ
  • น่าภูมิใจในความเข้มแข็งของ PCT เด็ก

ขอบคุณที่ได้ทราบเรื่องราวที่ดีๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท