สนามหลวง : โอกาส ความเสมอภาค เท่าเทียม แห่งการเรียนรู้


“....หนังสือดีดี การเรียนรู้ดีดี สิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่คนทั่ว ๆ ไป เขาเรียนรู้ เขาอ่านกัน ฅนสนามหลวงจะมีโอกาสได้อ่าน ได้เรียนรู้กับเขาได้มั้ย ??”

 

....หนังสือดีดี การเรียนรู้ดีดี สิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่คนทั่ว ๆ ไป เขาเรียนรู้ เขาอ่านกัน ฅนสนามหลวงจะมีโอกาสได้อ่าน ได้เรียนรู้กับเขาได้มั้ย ??

 

หลายคนที่ เข้ามามีส่วนร่วมในความพยายามที่จะสร้างโอกาสให้แก่ สนามหลวงและปริมณฑล โดยเฉพาะ กลุ่มคนขายบริการ ทั้งชายและหญิง ที่ใช้พื้นที่รอบ ๆ สนามหลวงและบริเวณใกล้เคียง เป็นที่ทำมาหากิน อย่างที่เคยเล่าแล้วในครั้งก่อน ๆ

บางคนแม้จะมีความตั้งใจดี ที่เกิดขึ้นจริง ๆ หรือความตั้งใจดี และตั้งใจจริง ตามหน้าที่ที่รับผิดชอบก็ตามที แต่ ที่สำคัญสิ่งที่แสดงออกมา ควรจะถือคติที่ว่า น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก อะไรที่ ขุ่นข้องหมองใจ หรือ ไม่สบอารมณ์ หรือ ไม่ตรงกับสิ่งที่ตัวเองคิด ที่คุ้นเคย อาจจะต้องเก็บไว้บ้าง เพราะหาก ไม่รู้จักสงวนจุดต่างอาไว้ การทำงานในพื้นที่นี้อาจจะก่อให้เกิดการสร้างสิ่งที่เรียกว่า ซ้ำเติมขึ้นได้ ต้องค่อย ๆ ปรับตัวกันไป

หน่วยงานของราชการที่มีความคิดเชิงก้าวหน้า ในการทำงานกับคนด้อยโอกาส โดยเฉพาะ ฅนสนามหลวง สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ทัศนคติ และความเชื่อ ที่ต้องปรับกันขนานใหญ่ สิ่งที่ต้องสร้างก่อนอันดับต้น ๆ คือ ความเชื่อในศักยภาพของคนที่มีเท่าเทียมกัน ต้องเชื่อว่า เขามีความสามารถ และมีโอกาสที่จะเปลี่ยนได้ ที่สำคัญ ในเรื่องของการเข้าถึง รัฐสวัสดิการ ที่เท่าเทียมกัน ต้องให้ความสำคัยเป็นอันดับต้น ๆ ของการทำงาน และต้องไม่เอาเปรียบ ไม่ว่าจะในเรื่องของข้อมูล หรือ การให้บริการ โดยหน้าที่ ก็ต้องให้ อย่างเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ คนที่มีอายุมากกว่า ก็ควรแสดงความอ่อนน้อมในฐานะ ที่เขามีอายุที่มากกว่า ไม่ใช่ เลือกที่จะเคารพฐานะทางสังคมเท่านั้น อย่างนั้น ไม่ต้องเหยียบย่างกรายเข้ามาในสนามหลวงเลย นะครับ เพราะ มันไม่ได้สร้างโอกาสหรือความเคารพในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ให้แก่เขาเลย

คุณเชื่อมั้ยว่า การไหว้ ฅนสนามหลวงของอาสาสมัคร ที่อิสรชน เป็นผู้พาลงในพื้นที่ ทั้งที่เป็นนักศึกษา และคนทำงาน ทำให้ ฅนสนาหลวงหลายคนเริ่มมีความคิดจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง จากการได้รับการไหว้ และหนังสือดีดีเพียงไม่กี่เล่ม

อิสรชน เลยเกิดความเชื่อมั่นในความเท่าเทียมกันในเรื่องของโอกาส ที่ว่าหากเพียงได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกัน ทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของตัวเองได้ แม้กระทั่ง ฅนสนามหลวง ที่ใครต่อใครหลายคน ตั้งแง่ ไว้ในใจก็ตาม และได้พยายามเสนอแนวคิด ในเรื่องของการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อคนเร่ร่อน คนไร้บ้านมาโดยตลอด ให้เขาอยู่ในพื้นที่อย่างเกื้อกูล และ ดูแลรักษาพื้นที่ ที่เขาอยู่ และใช้ประโยชน์อย่างดูแลปกป้องคุ้มครอง และอย่ามอง คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน เป็นปัญหา แต่ต้องมองให้เห็นโอกาสในการ ส่งเสริมการอยู่ร่วมกัน ของ คนและพื้นที่อย่างเท่าเทียมกัน ที่ครั้งหนึ่ง เคยตั้งคำถามในใจว่า

....หนังสือดีดี การเรียนรู้ดีดี สิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่คนทั่ว ๆ ไป เขาเรียนรู้ เขาอ่านกัน ฅนสนามหลวงจะมีโอกาสได้อ่าน ได้เรียนรู้กับเขาได้มั้ย ??

มาถึงวันนี้ คำตอบนั้น ก็ ได้ออกมาว่า หาก คนหยิบยื่นสิ่งนั้นให้ เห็นโอกาส และศักยภาพที่เท่าเทียม การพัฒนาก็จะเกิดขึ้น แต่ ต้องเชื่อใจ และเชื่อมั่น ในกลุ่มเป้าหมายที่คุณทำงานอยู่ด้ยก่อน นะ

หมายเลขบันทึก: 43432เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2006 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท