เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แก้ปัญหาที่ต้นเหตุไม่เสียค่าใช้จ่ายสูง


นโยบายหยุดกิจกรรมทำนา หยุดการปล่อยน้ำให้ชาวนา หยุดอาชีพชาวนาก็เท่ากับหยุดรายได้ หยุดชีวิตของชาวนาที่จะมีโอกาสลืมตาอ้าปาก

ข่าว การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลรู้สึกว่าจะมีหลายระลอกคล้ายกับเหตุการณ์สึ นามิและแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นและในหลายๆประเทศแถบเอเชียเพราะยังมี การระบาดที่ต่อเนื่องและลุกลามขยายออกไปในหลายพื้นที่ก่อเกิดความเสียหายแก่ ผลผลิตของเกษตรกรชาวนาอีกทั้งต้องเสียสตางค์นำไปซื้อหาผลิตภัณฑ์การเกษตร ทั้งในรูปแบบจุลินทรีย์ชีวภาพและสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงเพื่อหวังทำลายเจ้า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลให้สูญสิ้นไปจากแปลงนา  

แต่ก็เป็นได้แค่ความหวังลมๆ แล้ง ๆ เพราะความจริงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลก็ยังคงอยู่ คอยหลบเลี่ยง หลีกเร้นไปตามพืชอาศัยในท้องถิ่นนั้นๆ เช่นอยู่ตาม ผักปอด ผักตบ พังพวย ป่ากล้วย กอดงพงหญ้าหรือแปลงนาที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยว ดังนั้นการใช้นโยบายหยุดกิจกรรมทำนา  หยุดการปล่อยน้ำให้ชาวนา หยุดอาชีพชาวนาก็เท่ากับหยุดรายได้ หยุดชีวิตของชาวนาที่จะมีโอกาสลืมตาอ้าปากได้บ้าง เพียงหวังตัดวงจร “เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล” ให้หมดไป   การหยุดกิจกรรมต่างๆนั้นจะไม่ได้ผล ไม่สามารถหยุดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ เพราะยังมีพืชชนิดอื่นๆ อีกมากมายที่ให้วงจรชีวิตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลใช้หลบเป็นพืชอาศัยได้   ดังนั้นเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ประเภท ขี้ช้างจับตั๊กแตน หรือ จับหนูเพียงตัวเดียวโดยเผาไร่ทั้งไร่ หรือเผาป่าทั้งป่า

 

      เกษตรกรชาวนา คงต้องหันกลับมาพึ่งหลักพุทธธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากันอีกครั้ง ในเรื่อง “อัตตาหิ อัตตโน นาโถ” ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน โดยกลับมาทบทวนกระบวนการทำนากันอีกสักรอบสองรอบ (เหมือนแผ่นดินไหวและสึนามิบ้าง) ว่าน่าจะกลับมาสนใจเรื่องการเตรียมดินให้เหมาะสมต่อการกินปุ๋ยของต้นข้าว โดยปรับปรุงสภาพดินให้มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (พีเอช)อยู่ระหว่าง 5.8 – 6.3 (กรดอ่อนๆ) และตรวจสอบประวัติการใส่ปุ๋ยให้ให้ข้าวกินอาหารให้ครบทั้งธาตุหลัก ธาตุรองและเสริม อนุรักษ์สัตว์หรือแมลงธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ให้คงความสม ดุลย์ด้วยการไม่ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูอย่างเด็ดขาด สร้างภูมิคุ้มกัน สร้างความแข็งแรงให้กับผนังเซลล์ของต้นข้าวให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอด้วยการ ใช้หินแร่ภูเขาไฟ  หินลาวา หินเถ้าภูเขาไฟ (มีซิลิก้าที่ละลายน้ำได้ H4Sio4 ต้นข้าวสามารถดูดกินนำไปใช้ได้) ใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ ป้องกันกำจัด ควบคุมไข่และตัวอ่อนมิให้เกิดการขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น เพียงเท่านี้เกษตรกรชาวนาก็ไม่ต้องไปเสียเงินเสียทองในการนำไปแก้ปัญหาที่ปลายเหตุได้อย่างสบายหายห่วง

 

เขียนและรายงานโดย : นายมนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

คำสำคัญ (Tags): #ข้าวปลอดสารพิษ
หมายเลขบันทึก: 433776เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2011 08:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ใช้หินแร่ภูเขาไฟ  หินลาวา หินเถ้าภูเขาไฟ (มีซิลิก้าที่ละลายน้ำได้ก H4Sio4 หาได้จากแหล่งไหนครับ

ประเทศไทยเราก็มีหินแร่ภูเขาไฟ อยู่หลายสิบลูกเหมือนกันครับ  แต่เราอาจจะไม่ค่อยจะคุ้นเคยสักเทาไร พอๆ กับเรื่องที่  ประเทศของเรามีการค้นพบ ไดโนเสาร์ ในแถบภาคอีสาน เช่น กาฬสินธุ์ และจังหวัดอื่นๆ ใกล้เคียง บางครั้งเราก็อาจจะลืมๆ ไปว่ามันมีอยู่จริง  ส่วนลิงค์นี้คือภาพแผนที่แสดงชนิดหินในประเทศไทย ของกรมทรัพยากรธรณีครับ http://www.thaigreenagro.com/aticle.aspx?id=4297

อยากให้ทางบริษัทของท่ามาสาธิตเพราะขนาดนี้เพลี้ยระบาดหนัก หมู่6 บ้านนา มหารราช อยุธยาและอยากทราบว่าถ้าเราจะสั่งซื้อสินค้าท่านราคาเท่าไรและจะส่งให้เราทางใหนภายในกี่วัน

ด้วยความยินดีนะครับ อยากให้คุณอดิศร ช่วยแจ้งเบอร์โทรมาทางอีเมล์ เพื่อที่จะได้ให้เจ้าหน้าที่ชมรมฯ ประสานกลับไป email : [email protected] หรือ โทรแจ้งมาที่ 081-313-7559 นะครับ

ราคาของ จุลินทรียกำจัดเพลี้ย "ทริปโตฝาจ" (เชื้อราบิวเวอร์เรีย และ เมธาไรเซียม) ราคาซอง 120 บาท/500 กรัม สามารถใช้ผสมน้ำฉีดพ่นได้ครั้ง 200 ลิตร

เรียนพี่มนตรี

มีแนวทางมาเเลกเปลี่ยนกับการป้องกันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ครับ

"เปียกสลับเเห้ง แกล้งข้าว " ครับ ต้นทุนต่ำ ทำเองได้

น่าจะเอาเรื่อง C/N ratio มาอธิบายต่อได้ ครับ

http://gotoknow.org/blog/supersup300/436181

ขอบคุณมากๆ เลยครับ คุณต้นกล้า ได้ความรู้และเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรมากครับ

ขอนแก่นก็ประสบปัหาเพลี้ยกระโดดเหมือนกันครับ ผมฉีดยาใกล้จะตายแล้ว ช่วยแนะนะด้วย

เข้ามา หรือ โทรศัพท์สอบถามที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 02-9861680-2 หรือ www.thaigreenagro.com

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท