ประกันสังคม


การศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

                การประกันสังคม ได้เข้ามาในสังคมไทยมาหลายปีแล้ว และปัจจุบันเป็นที่รู้จักของลูกจ้างกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะสวัสดิการที่ได้รับ จะช่วยให้ผู้ใช้บริการได้ประโยชน์มากมาย

                ลูกจ้างในส่วนของสถานศึกษา สพฐ.ถือว่าเป็นนายจ้าง ได้โอนเงินมาให้แล้ว แต่ลูกจ้างจะต้องหักเงินสมทบอีก เท่ากับ สพฐ.โอนมาให้เพื่อเข้าประกันสังคม โดย เงินสมทบ ระบุไว้ใน พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.  ๒๕๓๓  และได้แก้ไขเพิ่มเติม  ดังนี้

                มาตรา  ๔๖  ให้รัฐบาล  นายจ้าง  และผู้ประกันตนตามมาตรา  ๓๓  ออกเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ  กรณีตาย  และกรณีคลอดบุตร  ฝ่ายละเท่ากันตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง  แต่ต้องไม่เกินอัตราเงินสมทบท้ายพระราชบัญญัติ และ                

                มาตรา  ๔๗  ทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้างให้นายจ้างหักค่าจ้างของผู้ประกันตนตามจำนวนที่จะต้องนำส่งเป็นเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนตามมาตรา  ๔๖  และเมื่อนายจ้างได้ดำเนินการดังกล่าวแล้วให้ถือว่าผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบแล้วตั้งแต่วันที่นายจ้างหักค่าจ้าง

                ให้นายจ้างนำเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนที่ได้หักไว้ตามวรรคหนึ่ง  และเงินสมทบในส่วนของนายจ้างส่งให้แก่สำนักงานภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่มีการหักเงินสมทบไว้พร้อมทั้งยื่นรายการแสดงการส่งเงินสมทบตามแบบที่เลขาธิการกำหนด

                ถ้านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างตามกำหนดเวลาที่ต้องจ่าย  ให้นายจ้างมีหน้าที่นำส่งเงินสมทบตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสอง  โดยถือเสมือนว่ามีการจ่ายค่าจ้างแล้ว

                 มาตรา  ๔๗  ทวิ  ในกรณีที่นายจ้างไม่นำส่งเงินสมทบหรือนำส่งไม่ครบตามกำหนดเวลาในมาตรา  ๔๗  วรรคสอง  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำเตือนเป็นหนังสือให้นายจ้างนำเงินสมทบที่ค้างชำระและเงินเพิ่มมาชำระภายในกำหนดไม่น้อยกว่าสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้น  ถ้านายจ้างได้รับคำเตือนดังกล่าวแล้วแต่ยังไม่นำเงินสมทบที่ค้างชำระและเงินเพิ่มมาชำระภายในกำหนด  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินเงินสมทบและแจ้งเป็นหนังสือให้นายจ้างนำส่งได้  ดังนี้

                (๑)  ถ้านายจ้างเคยนำส่งเงินสมทบมาแล้วให้ถือว่าจำนวนเงินสมทบที่นายจ้างมีหน้าที่นำส่งในเดือนต่อมาแต่ละเดือนมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบในเดือนที่นายจ้างได้นำส่งแล้วเดือนสุดท้ายเต็มเดือน

                (๒)  ถ้านายจ้างซึ่งมีหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้แต่ไม่ยื่นแบบรายการตามมาตรา  ๓๔  หรือยื่นแบบรายการตามมาตรา  ๓๔  แล้ว  แต่ไม่เคยนำส่งเงินสมทบหรือยื่นแบบรายการตามมาตรา  ๓๔  โดยแจ้งจำนวนและรายชื่อลูกจ้างน้อยกว่าจำนวนลูกจ้างที่มีอยู่จริง  ให้ประเมินเงินสมทบจากแบบรายการที่นายจ้างเคยยื่นไว้  หรือจากจำนวนลูกจ้างที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบแล้วแต่กรณีโดยถือว่าลูกจ้างแต่ละคนได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนในอัตราที่ได้เคยมีการยื่นแบบรายการไว้  แต่ถ้าไม่เคยมีการยื่นแบบรายการหรือยื่นแบบรายการไม่ครบถ้วน  ให้ถือว่าลูกจ้างแต่ละคนได้รับค่าจ้างรายเดือนไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานที่ใช้บังคับอยู่ในท้องที่นั้น  คูณด้วยสามสิบ

                ในกรณีที่มีการพิสูจน์ได้ภายในสองปีนับแต่วันที่มีการแจ้งการประเมินเงินสมทบตามวรรคหนึ่งว่าจำนวนเงินสมทบที่แท้จริงที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องนำส่งมีจำนวนมากกว่าหรือน้อยกว่าจำนวนเงินสมทบที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินไว้ตาม  (๑)  หรือ  (๒)  ให้สำนักงานมีหนังสือแจ้งผลการพิสูจน์ให้นายจ้างทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบผลการพิสูจน์เพื่อให้นายจ้างนำส่งเงินสมทบเพิ่มเติมภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง  หรือยื่นคำขอต่อสำนักงานเพื่อขอให้คืนเงินสมทบ  ถ้านายจ้างไม่มารับเงินดังกล่าวคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ทราบผลการพิสูจน์ให้เงินนั้นตกเป็นของกองทุน

               หลายคนสงสัยว่าทำไม ต้องจ่ายประกันสังคม ความจริงแล้วก็เพื่อตัวเอง "ประกันตัวเอง"ครับ

คำสำคัญ (Tags): #ประกันสังคม
หมายเลขบันทึก: 432827เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2011 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 12:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท