ข่าวสาร : ปลุกพลังผู้ผลิต ผู้บริโภค - บุกสหกรณ์ไฮเทค "เกาหลี-ญี่ปุ่น"


คุณภาพที่ทุกคน เป็นเจ้าของร่วมกัน

      เป็นข้อมูลข่าวสาร ที่คิดว่าเป็นประโยชน์และช่วยต่อยอดแนวทางการทำการเกษตรแบบครบวงจร ของกลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์ เพื่อการแข่งขันในตลาดการค้าเสรี  เคยนำเสนอเรื่องราวของ บทบาทสหกรณ์ บางส่วนไว้ใน

 

มองญี่ปุ่น :บทเรียนรู้ สังคมเกษตร และสังคมชนบท ญี่ปุ่น ภาคแรก (แจ่มๆ!!!)


บุกสหกรณ์ไฮเทค "เกาหลี-ญี่ปุ่น"

 

ข้อมูลจาก http://www.biothai.net/news/6672 

 

วันที่ 10-11 ธ.ค.53 นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์นำคณะทำงานด้านสหกรณ์ไปศึกษาดูงานสหกรณ์สร้างสรรค์ต้นแบบที่ สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในโครงการสหกรณ์สร้างสรรค์ในประเทศไทย ซึ่งจุดเด่นของทั้ง 2 โมเดลนี้คือ การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ มีการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าเกษตร มีระบบการตรวจสอบสารปนเปื้อน และตัดระบบพ่อค้าคนกลาง ทำให้สินค้าที่ผลิตจากไร่ ส่งตรงสู่มือผู้บริโภคโดยตรง และแข่งขันกับโมเดิร์นเทรดได้

 

"Nonghyup Hanaro Mart"

"Nonghyup Hanaro Mart" หรือ Korea Agricultural Cooperative Marketing Inc. เป็นสหกรณ์การเกษตรใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ ตั้งขึ้นเมื่อปี 2538 เพื่อทำธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งสินค้าเกษตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเกิดจากการรวมกลุ่มเกษตรกรในแต่ละชุมชน ในระยะแรกได้รับการสนับสนุนเงินลงทุนจากรัฐบาล และกำหนดนโยบายการควบคุมราคาของสินค้าเกษตรในประเทศจน สามารถดำเนินธุรกิจด้วยตนเอง มียอดขายเป็นอันดับ 1 ติดต่อกันอย่างต่อเนื่องถึง 11 ปี โดยในปี 2552 มียอดขายรวมถึง 1.4 ล้านล้านล้านวอน และมูลค่าการส่งออกไปอเมริกา ญี่ปุ่น 40 ล้านล้านวอน

 

นอกจากนี้ ยังมีการขยายกิจการถึง 13 สาขาในเกาหลีให้เป็นศูนย์การขายส่งสินค้าเกษตร และในรูปแบบฮานาโร่คลับ (Hanaro Clubs) จำนวน 34 แห่ง มีร้านขายของชำอีก 600 แห่ง มีการส่งเสริม การขายผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น ทีวีช็อปปิ้ง และการสั่งซื้อทางอินเทอร์เน็ต

โครงสร้างการบริหารงาน มีกรรมการ 15 คน คัดเลือกมาจากตัวแทนสหกรณ์ท้องถิ่น 4 คน อีก 11 คนเป็นบุคคลภายนอก มีพนักงานทั้งหมด 1,500 คน

 

สหกรณ์ฮานาโร่ มีระบบการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบการปนเปื้อนของสารเคมีในการเกษตร หากพบสารปนเปื้อนจะให้โอกาสในการปรับปรุง 3 ครั้งเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีอาหารมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างตราสินค้า (แบรนด์) และพัฒนาระบบการตลาดทั้งค้าปลีกและค้าส่ง เน้นการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และลูกค้าสามารถทราบ แหล่งผลิตของสินค้าเกษตรด้วย

 

ผู้บริหารฮานาโร่บอกว่า จุดแข็งในการทำธุรกิจคือ

1.เน้นสินค้าที่มีคุณภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า

2.ราคาเป็นธรรมต่อลูกค้าและผู้ผลิต (เกษตรกร) ไม่มีพ่อค้าคนกลาง จึงเป็นสินค้าที่ผลิตจากไร่และสู่มือลูกค้าโดยตรง

3.มีการสร้าง แบรนด์สินค้าเป็นของตนเอง

4.มีระบบ โลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ โดยมีบริษัทลูกของสหกรณ์ทำการขนส่งสินค้าจากไร่ สู่ฮานาโร่

เป้าหมายในอนาคตคือมุ่งสู่ ตลาดโลก "Go Global"


อีกจุดที่น่าสนใจ คือ Garak Agricultural and Marine Products Wholesale Market เป็นภาคเอกชนที่ทำธุรกิจศูนย์การกระจายสินค้าด้านการเกษตรและสัตว์น้ำที่ ใหญ่ที่สุดในเอเชีย มีพื้นที่ 543,451 ตารางเมตร มีการซื้อขายผ่านระบบการประมูลสินค้าทั้งในระบบปกติ (auction) และประมูลผ่านอินเทอร์เน็ต (E-auction) ปี 2552 มีการประมูลถึง 10 ล้านครั้ง

ปัจจุบันมีปริมาณการขาย 7,876 ตัน ต่อวัน มูลค่า 11.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าประมาณ 90% จำหน่ายในประเทศ และอีก 10% ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารทะเลไปจีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย อเมริกา รัสเซีย แอฟริกาใต้


 

Osaka-Izumi Co-op ญี่ปุ่น

สำหรับประเทศญี่ปุ่นสหกรณ์ "Osaka-Izumi Co-op" ก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2517 จำหน่ายสินค้านานาชนิด ตั้งแต่อาหารสด ผลิตภัณฑ์อาหารทั่วไป ข้าว เครื่องนุ่งห่ม ของใช้ภายในบ้าน และอื่น ๆ มีช่องทางการจำหน่าย 3 กลุ่ม คือ

1.การส่งสินค้าถึงบ้านลูกค้า มีสัดส่วน การใช้บริการถึงร้อยละ 75 มียอดขายสูงกว่า 4.672 หมื่นล้านเยน สามารถ เลือกสินค้าจากแค็ตตาล็อก และสหกรณ์จัดส่งให้เป็นรายสัปดาห์

2.การจำหน่ายในร้านค้า มียอดขาย 9.32 พันล้านเยน

3.การสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต มียอดขาย 3.11 พันล้านเยน ในปี 2552 มียอดขายรวมทั้งหมด 5.922 หมื่นล้านเยน กำไรสุทธิ 2.71 พันล้านเยน

มีสมาชิก 379,967 ครัวเรือน เงินลงทุน 1.228 หมื่นล้านเยน

จุดเด่นของที่นี่คือ สมาชิกสหกรณ์ ได้ลงขันกันจัดตั้งศูนย์ตรวจสอบคุณภาพสินค้า (Co-op Lab) ขึ้นมาโดยกำหนดมาตรฐานของสหกรณ์ที่สูงกว่ามาตรฐานของรัฐบาล ซึ่งจะมีการตรวจสอบสินค้าล่วงหน้าตั้งแต่ในฟาร์ม การสุ่มตรวจ หลังจากสินค้าส่งมาแล้ว และตรวจสอบสินค้าที่ได้รับการร้องเรียนจากสมาชิกอีกด้วย

ล่าสุดเมื่อ เดือน ก.ค. 2553 ได้เปิด ศูนย์ตรวจสอบแห่งใหม่ที่เมือง Izumi เป็นห้องแล็บทันสมัยและใหญ่ที่สุด ใช้เงินลงทุนราว 900 ล้านเยน สามารถตรวจสอบได้ ทั้งจุลินทรีย์ สารกัมมันตรังสีตกค้าง สารผสมอาหาร สารเคมีตกค้าง อาหาร ที่มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม และการตรวจสอบโลหะหนัก ห้องแล็บแห่งนี้เปิดให้สมาชิกสหกรณ์สามารถเข้าชมการตรวจสอบในห้องแล็บได้ ด้วย

สิ่งสำคัญคือ การสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคนั่นเอง ขณะที่ยอดขายของสหกรณ์ก็เติบโตขึ้นทุกปี


เป็นแนวทางที่น่าศึกษาและนำมาปรับใช้ในเมืองไทยอย่างกว้างขวาง  และต้องไม่ใช่ผักชี จะดีมากครับ

 

เพิ่มเติม ตามไปอ่านต่อ

 

มองชนบทญี่ปุ่น

 

ใต้กระแส : อรรถจักร สัตยานุรักษ์ ตอนที่ 1 - 2





หมายเลขบันทึก: 432824เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2011 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ฝันให้เกษตรกรไทยมีพลังใจ สู้ตลาดการค้าเสรี  ให้ได้...นะคะ

สวัสดีค่ะ

ไม่แปลกใจเลยที่ทำไมหลายๆประเทศในเอเซีย ที่ภาคเกษตรของเขาเกษตรกรไม่อับเฉาแบบไทยเรา ทั้งภาครัฐและเอกชนเขามีความจริงใจต่อผู้บริโภค มีจิตสาธารณะอย่างจริงใจ

ที่ประทับใจจากการไปอ่าน มองญี่ปุ่น เห็นความแตกต่างที่อยากให้มีในสำนึกไทยคือ...

  • เขารักที่จะปลูกผักปลอดสารเคมี เพราะอยากจะลงแรงผลิตสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่คนกิน
  • สูบบุหรี่แต่ไม่ทิ้งก้นบุหรี่ (ซึ่งใบยาอาจจะปนเปื้อนสารเคมี) ในบริเวณแปลงที่ผักกำลังเติบโต
  • ความสำเร็จนี้ได้ดึงเอาลูกชายให้สามารถทำงานร่วมกับครอบครัวต่อไปได้ ไม่ต้องออกไปทำงานนอกชุมชน (ต่างจากไทย ลูกต้องทำงานบริษัทดีๆ ในเมือง)
  • และมีการขบคิดอยู่ตลอดเวลาว่าจะทำกิจกรรมอะไรที่จะเอื้อประโยชน์ทั้งแก่สมาชิกและสังคม

จิตสาธารณะเขาปลูกฝังมาดีจริงๆ  และเชื่อว่าเขาไม่ปลูกผักชีมากแบบไทยๆ

สวัสดีค่ะ

เคยไปร่วมงานสังเคราะห์การวิจัยของประเทศเกาหลี  ทำให้ทราบว่าที่เขาเป็นแบบบันทึกนี้คือความมีจิตสาธารณะจริง ๆ เหมือนอาจารย์ mee_pole แสดงความเห็นไว้ค่ะ

น้องต้นกล้าค่ะ อาม่าขอนำไปเผยแพร่ในเฟสบุ๊คให้แฟนๆ ของอาม่าได้มีโอกาสไปเที่ยวกับอาม่าค่ะ หลายๆตา ย่อมดีกว่าตาคู่เดียวค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์ ว่าจะร่วมวง ถอดบทเรียนกลุ่ม"ลงแขกความคิด"ด้วยกัน น่ะท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท