การฝากเด็ก


การจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

                 การฝาก  เป็นคำหนึ่งที่มีมาในสังคมไทย ในระบบอุปถัมภ์ และมักใช้กับบุคคลหรือส่งของ หากเป็นบุคคล อาจหมายถึงการฝากฝัง ฝากอุปการะ ฝากให้ดูแลยามที่ตนไม่อยู่ ฝากผีฝากไข้  เป็นต้น ส่วนการฝากสิ่งของ อาจเป็นการฝากของให้ หรือให้ของฝาก เพื่อเป็นการเคารพ ระลึกถึง หรือฝากเพื่อเป็นปริศนา ก็ตามที

                 การฝากที่เป็นเรื่องของบุคคล จึงอยู่คู่กับสังคมไทย ทั้งราชการและเอกชนในเมืองไทย  และดูแล้วเป็นการรับค่านิยมหรือใช้แนวทางมาจากของสังคมจีน ที่มองเห็นได้ชัดในยุคของศักดินา และในภาพยนต์จีน จะมีระบบเหล่านี้ ในการอุปถัมภ์บุคคลให้เติบโดในตำแหน่งทั้งระบบราชการและเอกชน ที่เป็นรูปบริษัท รวมทั้งการแต่งตั้ง เลื่อนตำแหน่งในราชการที่สูงขึ้น ระบบการฝากดูจะเป็นระบบที่ใช้กันในระบบอุปภัมภ์และใช้มาถึงเมืองไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

                 การฝากเข้าทำงาน ที่หวังจะให้ผู้ที่รู้จักได้ช่วยเหลือ ในการให้สอบได้ เลื่อนตำแหน่ง หรือช่วยเหลือเมื่อมีเหตุที่อาจถูกลงโทษ แต่ถ้ามีการฝาก ก็จะมีการช่วยเหลือตามมา และดูแล้ว การฝากจะเป็นไปในทาง "คุณ"มากกว่าที่จะฝากให้ "โทษ"กับคนอื่น ซึ่งมักไม่นิยมทำกัน ยกเว้นในหมู่ทุจริตชนหรือ "โจร"ทำกัน

                 สังคมไทยได้นำหลัก "ธรรมาภิบาล"มาใช้เพื่อลดการฝาก ในเรื่องต่างๆในสังคมไทยให้ลดลง แต่ดูแล้วมันจะแก้ไขได้ในระดับหนึ่ง เพราะสังคมไทยเป็น"ระบบอุปภัมภ์ " ที่ต้องช่วยเหลือกัน และต้องหาวิธีที่จะเลี่ยง กฎ ระเบียบ หรือหลีกเลี่ยงกฏหมาย ไปแบบข้างๆคูๆ  เพราะเมืองไทยเป็นประเทศที่มี "ศรีธนนชัย" อยู่ในประเทศ จึงวินิจฉัยหลายอย่างแบบน้ำขุ่นๆ

                การฝากเด็ก  ดูเป็นนโยบายที่รัฐมนตรีและผู้ใหญ่ทุกท่านถือเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้สังคมไทยได้ใช้ความเป็นธรรม ความไม่เอาเปรียบกัน รวมทั้งตัดขบวนการหากินกับการรับฝากเด็ก เพื่อหาผลประโยชน์ ซึ่งวันนี้เรามีการฝากเด็กตั้งแต่เข้าอนุบาล เข้าประถม เข้ามัธยม เข้ามหาวิทยาลัย และฝากเข้าทำงาน สอบบรรจุ  ฝากเลื่อนตำแหน่ง และฝากตอนที่จะเกษียณก่อนกำหนด ซึ่งหมายถึงบางคนใช้กระบวนการฝากมาทั้งชีวิต

                การฝากเด็กให้มีที่เรียน ที่เบียดคนอื่นหรือแย่งสิทธิคนอื่นถือเป็นสิ่งน่ารังเกียจในสมัยนี้ แต่ถ้าฝากเพื่อช่วยเหลือคนลำบาก ช่วยคนดี คนเก่ง ไม่มีที่เรียน ให้ได้ที่เรียน ไม่มีใครเดือดร้อน ไม่ผิดระเบียบ กฎ กติกา ถือว่าเป็นสิ่งที่น่ากระทำ และสมควรได้รับการยกย่อง

                ดูก็แล้วกันว่า  เราจะฝากเด็กในกรณีไหน   ดูทิศทางกันให้ดี

 

คำสำคัญ (Tags): #การฝากเด็ก
หมายเลขบันทึก: 432477เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2011 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท