จดหมายถึงครู l การทำงานกับการรักษาศีล


 

วันจันทร์ ที่ ๒๑ เดือนมีนาคม ๒๕๕๔

กราบสวัสดีค่ะครู

 วันนี้วันจันทร์ตื่นขึ้นมา รีบลุกขึ้นมาจัดการสิ่งที่ค้างคาใจคือ หนังสือให้น้อง ๆ ร..สาวะถี อดทนตั้งใจทำจนเสร็จ แต่ไปทำงานสาย เหมือนตอนนั้นโดนภายในบีบว่า “แกต้องเลือก จะเลือกทำงานให้เสร็จ (ศีลข้อสี่) หรือไปทำงานให้ทัน (ศีลข้อสอง) สุดท้ายก็เลือกทำงานให้เสร็จ” พอเสร็จสรรพในเรื่องการจัดรูปแบบ อาบน้ำไปทำงาน วันนี้รถติดมาก ๆค่ะครูทั้ง ๆที่ก็สายแล้ว สำรวจไปที่ภายในใจแว๊บแรกรู้สึกขุ่นมัวบ้าง แต่พอมองไปที่รถคันข้าง ๆ เห็นเขาขุ่นมัว แล้วมองย้อนมาที่ตนเองเห็นความขุ่น แล้วก็ดำรงอยู่ว่า “ก็เป็นธรรมดา ก็คงมีอะไรเป็นเหตุให้รถติด มันจึงมีผลแบบนี้” ภายในก็เลยเลิกดิ้น พอไปถึงที่ทำงานสายกันหลายคนเพราะซ่อมอุโมงค์และมี รมต.กระทรวงศึกษามาที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงทำให้เข้าใจ พอมาถึงที่ทำงานก็หยิบงานมาทำต่อ จัดแจงให้น้อง ๆ ช่วย วันนี้น้องฟิล์มมีน้ำใจเอาหมูยออุบลกับขนมมาฝาก ตอนที่รับมาในหัวคิดแต่เรื่องงาน ติ๋วหมกหม่นกับความคิดจนลืมปัจจุบัน พอเดินกลับมาที่ห้อง พึ่งมารู้สึกว่า “ลืมขอบคุณน้อง” รู้สึกหิว ๆ กันจึงแกะขนมและหั่นหมูยอทาน แล้วก็เดินกลับไปขอบคุณน้อง

แค่เผลอสตินิดเดียวดูเหมือนว่า “เราพร้อมจะทำให้คนอื่นบาดเจ็บได้เลยนะคะครู” แต่พอสำนึกได้ก็รีบจัดการแก้ไข แบบรู้ปุ๊บ ก็แก้ไขปั๊บ

ในห้องทำงานเต็มไปด้วยของและเรื่องราว เหมือนฟุ้งกระจายเต็มพื้นที่ค่ะครู พี่หัวหน้ามอบหมายงานให้วิเคราะห์อีกสามตัวอย่างที่ค้างอยู่ในมือแกมานาน แรก ๆ พี่อ้อรู้สึกขุ่นมัวมาก เพราะตัวอย่างถูกลูกค้าโทรมาทวงหลายครั้งแล้ว แต่พี่เขายังไม่มอบหมายใคร สำหรับติ๋วหากพี่เขาไม่มอบ ติ๋วก็จะขอทำอยู่แล้ว ด้วยการกริยาคล้ายกัน แต่คนละความคิดทำให้เห็นว่า “มนุษย์ตอบสนองต่างกัน” พอหายขุ่นมัวพี่อ้อก็ทำงาน

ติ๋วไปเร่งดำเนินการเรื่องเอกสาร สำเนา ก่อนลงไปโรงเรียนสาวะถีพิทยาสรรพ์ในวันนี้ เหมือนไปให้กำลังใจ กับการที่น้อง ๆ ต้องมาเตรียมตัวนำเสนอผลงานในช่วงปิดเทอมให้ผู้ใหญ่ดู กว่าจะได้ออกไปก็เที่ยงกว่าค่ะครู กว่าจะถึงก็บ่าย ก่อนออกไปก็โทรหาอาจารย์ที่จะมานิเทศน์ฝึกงานน้องนัดหมายเวลาแบบกะว่า “กลับมาทัน” ไม่รู้ทำไมเหมือนกันค่ะครู มันรู้สึกขึ้นมาว่า “ต้องรับผิดชอบ” ก่อนขับรถออกไปพอพี่หัวหน้าทราบว่า “ติ๋วจะไปสาวะถี” ท่านเอ่ยด้วยน้ำเสียงขุ่นมัวว่า

แล้วอาจารย์ที่จะมานิเทศน์งานหล่ะ”

รับรู้ว่าท่านเป็นห่วงกังวล แต่ก็ตอบแบบให้ความมั่นใจท่านว่า “บริหารจัดการได้ค่ะ กลับมาทัน”

พอไปถึงโรงเรียนสภาพเหมือนกำลังเก็บของ จึงเข้าไปหาอาจารย์และท่านผู้อำนวยการ ทราบความว่า

ผู้ใหญ่ไม่มา ให้โรงเรียน ผู้ปกครองและนักเรียนเตรียมการรอเก้อ”

รู้สึกเห็นอกเห็นใจทุกคนค่ะครู เหมือนวันนี้ได้ไปให้กำลังใจ เพื่อนร่วมทุกข์ที่โรงเรียน แค่นี้ก็พอ เป็นการเรียนรู้ว่า “การให้กำลังใจกันและกันเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่ายามสุขหรือทุกข์”

กลับมาถึงก่อนอาจารย์นิเทศน์งานสักห้านาทีได้ แบบก้นกำลังจะแตะเก้าอี้ก็ได้รับโทรศัพท์แจ้งว่า “อาจารย์มาแล้ว”

พี่ ๆ แซวยิ้ม ๆ ว่า “ได้พักหายใจไหมหล่ะติ๋ว”

ติ๋วยิ้มแล้วก็ทำเป็นสูดหายใจแรง ๆ แล้วก็บอกว่า “เหนาะสงสัยช่วงนี้มันต้องเรียนรู้แบบนี้ จะว่าไปก็เป็นแบบนี้ ชีวิตแน่น ๆ แบบนี้มาสองสามเดือนละ”

ไม่ใช่ไปอยู่กรุงเทพสามเดือนนี่ ติ๋วจะได้พักเหรอ”

รึว่า มันจะหนักยิ่งกว่าเดิม” พี่ ๆที่ห้องสองคนแซวไปขำไป

เข้าใจพี่ ๆว่า “เห็นใจ”

ถ้าถามว่า “เหนื่อยไหม” กายมันก็เหนื่อยอยู่นะคะครู แต่ใจมันก็รู้ตัวว่าไหวแบบเป๋ ๆอยู่ แต่ยอมรับกับตนเองว่า

ข้างในมันไม่เลิกสั่ง สิ่งที่ทำกับตนเองคือ หายใจ มีสติ น้อมรับมาพิจารณา แล้วค่อยลงมือทำ”

พอคุยกับอาจารย์ที่มานิเทศน์ ก็สนุกดีค่ะ เหมือนได้เจอเพื่อนที่มาแบ่งปันความสุข คุยกันแบบสบาย ๆ แล้วก็ให้น้อง ๆได้คุยกับอาจารย์ นานเหมือนกันค่ะ

แล้วก็มาโทรประสานพื้นที่ ๆ จะไปพรุ่งนี้ ก่อนคุยก็ทำความรู้กับตนเอง พอได้คุยเสียงใส ๆ ของพี่ กับเสียงหัวเราะของติ๋วแทบประสานเป็นเสียงเดียวกัน ได้รับคำแนะนำและอำนวยความสะดวกกับพื้นที่เป็นอย่างดี เสร็จพี่กุ๊ฝากซื้อของไปจัดประชุมที่มุกดาหาร น้อมรับโอกาส ค่ะครู แต่ก็ต้องทำหลังทุกอย่างเสร็จสิ้น กำลังจะไปทำ Lab น้องขึ้นมาตามบอกว่า “อาจารย์ขอคุยด้วย” ครานี้ก็ลงมาคุย เฮฮา แบบมีสาระ ถึงบทบาทของศูนย์ที่จะเชื่อมต่อกับคณะอย่างไร เพื่อเข้าไปทำงานในชุมชน เป็นอีกหนึ่งรูปแบบแห่งการทำงาน แล้วก็แยกกันไป ติ๋วเดินไปทำ Lab มีน้อง ๆ อยู่ จึงสอนไปด้วยกัน และมอบหมายให้น้องช่วยต่อ ช่วงสอนเหมือนติ๋วรีบค่ะครู แทนที่จะใช้คลอโรฟอร์ม กลับใช้เอททิลอะซิเตรต แทน การแยกชั้นจึงผิดปกติ แต่พอมองถึงเหตุและปัจจัยแล้วก็ลงมือแก้ไขใหม่ ยอมรับว่า ผิดพลาดแล้วก็ ลงมือแก้ไข การที่ไม่ตรวจสอบให้ดีก่อนว่าทำอย่างไร มีโอกาสผิดพลาดได้ง่าย เป็นแบบนี้หลายครั้งแต่ไม่ค่อยเห็น จนพลาดก่อนแล้วต้องมาแก้ไขอยู่บ่อย เสร็จ Lab ให้น้องกลับติ๋วก็ไปซื้อของต่อ

กับสิ่งต่าง ๆ ถามว่าติ๋วเหนื่อยไหม” ก็เหนื่อยอยู่นะคะครู แต่มันก็พอมีสติให้หล่อเลี้ยง การทำงานมาก ๆ ทำให้เข้าใจ ทุกข์ของคนทำงาน แต่เป็นความรู้สึกลึก ๆ ว่า

เมื่อเข้าใจ แล้วใจจะวางเอง แสดงว่าตอนนี้ยังไม่เข้าใจ มันยังโง่อยู่ มันจึงต้องทำจนกว่าจะเข้าใจ”

ตอนมันรู้สึกว่า เรื่องราวเรียง ๆ เข้ามาแล้วอยากจะวิ่งหนี ใจก็ระลึกถึงครูว่า

ตั้งแต่รู้จักครูมา ครูไม่เคยหนี ไม่ว่าอะไร ครูตั้งสติ อดทน น้อมรับและเรียนรู้”

เหมือนมันสอนตัวเองโดยให้ครูเป็นตัวอย่างค่ะ

รับรู้ว่า “งานที่ติ๋วทำแค่ขี้เล็บของจักรวาล แต่รับรู้ว่า ต้องฝึก ๆ ฝึกไปเพื่ออะไรก็ไม่รู้ แต่ต้องทำไปเรื่อย ๆ ทำเพื่อทำ ไม่ได้ทำเพื่อเป้าหมายอันใด”

ว่าด้วยเรื่ององค์แห่งศีล กับคำว่า “รักษาศีล” ครูค่ะมันคือ การ “รักษา” จริง ๆ พอพูดอะไรไว้ รับปากอะไรไว้แล้วต้องทำ ศีลข้อนี้มันคอยดีดขึ้นมา ว่า “รักษาคำพูดรึยัง” มานึกย้อน ทั้งการทำหนังสือให้โรงเรียนสาวะถี แวะไปหาครูที่โรงเรียนสาวะถี มาเจออาจารย์นิเทศน์น้องฝึกงาน สอนน้อง วิเคราะห์ตัวอย่าง ไปซื้อของจัดประชุม สิ่งเหล่านี้แหละคือ การรักษาศีล ที่ยึดมั่นกับตนเองคือ สิ่งที่ต้องเป็นหลักให้รักษา ยึดให้มั่น เกาะให้แน่นคือ ศีล พอรักษาศีลได้ ศีลก็จะรักษาเราเองเป็นเช่นนี้เอง

ที่ดูเหมือนมันเยอะ ๆ เช่นนี้เพราะจิตนี้มันดีดดิ้น ฟุ้งซ่านให้ทำเรื่องนั้น โน้น  นี้ ค่ะครู ได้แต่น้อมรับ เพราะมันไม่ปล่อย มันทุกข์เช่นนี้เอง ….................รักและเคารพครูค่ะ

ปล. แม้มีเสียงสั่งให้ทำนั่นโน่นนี่ตลอดเวลา แต่มันก็มีอีกเสียงที่ดังว่า "ฉันเหนื่อยแล้วนะติ๋ว เมื่อไหร่แกจะเลิกทำซะที" มันเป็นเช่นนี้ค่ะครู แล้วตัวที่บอกว่าฉันเหนื่อยมันจะพาให้คร่ำครวญ หากรู้ไม่ทัน ได้แต่ อดทน

หมายเลขบันทึก: 432212เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2011 07:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

ชอบบันทึกที่เขียนออกมาจากความรู้สึกอย่างแท้จริงของตนเอง

สบายดีนะครับ

ขอบพระคุณค่ะพี่ Ka-Poom และพี่ ทิมดาบ สบายดีค่ะ เป็นการเรียนร้และดำรงอยู่กับวิถีชีวิตที่ดำเนินไป (^_^)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท