พรหมวิหารธรรมกับการพัฒนาคุณภาพ HA


เมื่อเรามีพรหมวิหาร 4 โลกของเราย่อมมีความสุข

     จากความงามในความหลากหลาย ของจุดเน้นการประชุม HA National Forum ครั้งที่12 ที่ผ่าน หลายๆท่านที่ได้เข้าร่วมประขุมคงมีความรู้สึกลึกๆว่าแล้วเราจะทำได้หรือไม่ จะก่อให้เกิดรูปธรรมที่จะส่งผลที่ดีแก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติให้มีความรู้สึกมีความสุขในการทำงาน ไม่ตึงเครียดจากที่ต้องทำเรื่องคุณภาพที่ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และฟันฝ่าไปที่จุดที่ทุกคนมุ่งหวังไว้ ในส่วนผู้รับบริการเองหรือผู้ป่วยก็ได้รับบริการที่ดี มีคุณภาพ ปลอดภัยและที่สำคัญมีความรู้สึกว่าได้รับบริการด้วยหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ จากสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง จากการเข้าร่วมประชุม ทำให้ผมนึกถึงพระธรรมของพระศาสดาที่ว่าด้วยเรื่องพรหมวิหารธรรม หรือพรหมวิหาร 4 ที่จะสามารถตอบคำถามบางอย่างต่อการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ีที่ให้ผู้บริการกับผู้ป่วย หรือระหว่างเจ้าที่กันเอง ในอันที่จะนำไปสู่การผสมผสานระหว่างหลักการที่ต้องปฏิบัติและความงาม ความเอาใจใส่ที่จะดูแลผู้ป่วย 

เมตตา(ความเมตตาต่อผู้อื่น) : การดูแลผู้ป่วยต้้องมีความเมตตาเป็นอย่างสูง ทั้งในส่วนที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่เราต้องให้ความเมตตา ให้ความรัก ปฏิบัติต่อเค้าด้วยสิ่งที่เรียกว่า เอาใจเขามาใส่ใจเรา หมายถึงการที่ผู้ป่วยมาหาเราแล้วต้องการอะไรนั่นคือสิ่งที่เราต้องการในยามเจ็บป่วย พูดดีๆ ให้กำลังใจ เป็นต้น ในส่วนของเจ้าหน้าที่เราก็ปฏิบัติต่อกันด้วยความรัก หนักนิดเบาหน่อยก็ให้อภัยกัน ไม่เก็บมาเป็นอารมณ์ เพราะสิ่งที่ทุกคนกระทำคือเป้าหมายเดียวกันนั่นคือผู้ป่วยที่เข้ามาหาเรา

กรุณา(หวังให้ผู้อื่นมีความสุข): ความสุขในด้านผู้ป่วยคือหายจากโรคภัยไข้เจ็บ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ไม่เกิดความเสี่ยงจากการให้การรักษา นำความรู้และแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานมาใช้กับผู้ป่วย รวมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการรักษาทั้งร่างการและจิตใจ ในส่วนของเจ้าหน้าที่ก็ต้องช่วยกันประคับประคองและบรรเทาทั้งในความทุกข์ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่และการทำงานในขั้นตอนต่างๆเพื่อให้เจ้าหน้าที่มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน

มุทิตา(ยินดีที่ผู้อื่นมีความสุข): มีความรู้สึกยินดี และให้กำลังใจกับผู้ป่วยในยามที่ผู้ป่วยร้องขอไม่ว่าเรื่องใดตามความสามารถที่เราทำได้ ในส่วนของเจ้าหน้าที่ควรมีความยินดีร่วมกันเมื่อหน่วยงานใดหน่วยงานหนี่งประสบความสำเร็จไม่ว่าเป็นเรื่องอะไรและพร้อมที่จะนำมาเป็นแบบอย่างในการที่เราจะก้าวไปด้วยกัน

อุเบกขา (ความเป็นกลาง): ไม่ได้หมายถึงไม่ทำอะไร แต่เป็นการที่เราผู้ปฏิบัติหน้าที่เมื่อเผชิญกับความทุกข์ยากหรือลำบาก ล้มเหลว หรือไม่ประสบความสำเร็จในเรื่องใดอย่าได้ท้อแท้ แต่ควรวางจิตใจให้นิ่งและทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปสู่การแก้ไข และปรับปรุงให้สามารถดำเนินการและก้าวไปสู่สิ่งที่มุ่งหวัง  ถ้าประสบความสำเร็จก็อย่าดีใจเกินไปและไม่ทำอะไรเพิ่มเติมและอย่าใช้เวลาชื่นชมกับความสำเร็จให้นานเกินไป แต่ควรคิดว่าเราจะทำอะไรต่อเพื่อให้การปฏิบัติงานหรือการดูแลผู้ป่วยได้รับการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ

ดังนั้นแล้วไม่ว่าเราจะเป็นอะไรหรือทำหน้าที่อะไร ก่อนเริ่มทำงานลองเอาหลักธรรม พรหมวิหาร 4 มากำกับในใจ เพื่อเป็นเข็มทิศในการดำเนินชีวิตในการทำงานของเราครับ

คำสำคัญ (Tags): #SHA SHA SHA
หมายเลขบันทึก: 431994เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2011 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท