ปลุกชีพ"ศึกษานิเทศก์


การจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

                ศึกษานิเทศก์ เป็นตำแหน่งหนึ่งที่มีมาก่อนการปฏิรูปการศึกษา หรือปรับเปลี่ยนโครงสร้างการศึกษาของประเทศ ในอดีต ประเทศไทยมีศึกษานิเทศก์ทั้งในระดับกรม เขตการศึกษา จังหวัดและอำเภอ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ได้ ปรับให้ศึกษานิเทศก์ไปประจำที่เขตพื้นที่การศึกษา โดยยุบศึกษานิเทศก์กรม เขตการศึกษา จังหวัดและอำเภอ โดยให้ไปประจำที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแห่งเดียว และทำงานด้านวิชาการภายในเขตพื้นที่การศึกษาเพียงอย่างเดียว 

               ข่าว ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ได้มีแนวคิด ปัดฝุ่นบทบาทศึกษานิเทศก์ หลังโดน สพท.กลืน เตรียมตั้งศูนย์ส่วนกลาง หวังทำหน้าที่ประสานงานเครือข่ายทั้งใน กทม.และต่างจังหวัด เชื่อหากพัฒนาดีๆ มีส่วนช่วยเร่งรัดคุณภาพการศึกษาได้เร็วขึ้น ขณะที่อดีตนายกสมาคมศึกษานิเทศก์แห่งประเทศไทยบ่น สพฐ.ทำไมเพิ่งคิดทำ

              นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เมื่อเร็วๆ นี้ว่า สพฐ.เตรียมฟื้นความเข้มแข็งให้กระบวนนิเทศก์ ที่เคยมีบทบาทอย่างมากในช่วงก่อนเปลี่ยนเข้าสู่โครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ใหม่ เพราะโครงสร้างใหม่นั้นแบ่งออกเป็นส่วนกลางเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียน แต่ไม่มีกลุ่มงานศึกษานิเทศก์ในส่วนกลางโดยเฉพาะอีก โดยโอนศึกษานิเทศน์ไปอยู่ตามสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทำให้กระบวนการศึกษานิเทศก์ในปัจจุบันอ่อนแอลงอย่างมาก เพราะไม่มีแผนนิเทศก์จากส่วนกลาง และไม่มีการประสานงานระหว่างศึกษานิเทศก์ที่ถูกกระจายไปอยู่ตามเขตพื้นที่การศึกษาต่างๆ

              กระบวนการนิเทศก์มีส่วนอย่างมากในการพัฒนา ปรับปรุงการสอนของครู การจัดการศึกษาของสถานศึกษา ทำหน้าที่ออกไปติดตามผลตามสถานศึกษาจะสะท้อนจุดอ่อนในการสอนของครูแต่ละ รร. แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนพัฒนาอบรมครู พัฒนาสื่อการสอน ช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นหากกระบวนการศึกษานิเทศก์อ่อนแอลง โรงเรียนก็ต้องพึ่งตัวเอง ซึ่งบาง รร.ไม่มีศักยภาพที่จะพัฒนาตัวเองได้ ขณะที่องค์ความรู้ในการนิเทศก์ก็หยุดอยู่กับที่ด้วย ดังนั้น สพฐ.จึงจะตั้งหน่วยงานกลางเพื่อเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบงานนิเทศก์การศึกษา และจะมีการตั้งคณะกรรมการพัฒนานิเทศก์ โดยศูนย์ดังกล่าวจะมีฐานะเทียบเท่าสำนักงานขนาดเล็กหรือเป็นฝ่ายเลขานุการ ส่วนในระดับจังหวัดและ กทม. ก็จะมีเครือข่ายศึกษานิเทศก์ระดับจังหวัด ทั้งนี้คาดหวังว่า เมื่อกระบวนการนิเทศก์การศึกษากลับมาเข้มแข็งเหมือนเดิม จะช่วยทำให้การพัฒนาการสอนของครูมีประสิทธิภาพมากขึ้น

              เราอยากเห็นครูของครู ที่ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ทำหน้าที่โดดเด่นงานวิชาการควบคู่กับการศึกษาของชาติในอนาคต 

อ้างอิง ไทยโพสต์ 17 มีนาคม 2554

คำสำคัญ (Tags): #ศึกษานิเทศก์
หมายเลขบันทึก: 431863เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2011 19:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ ท่าน ผอ.

  • นับว่าเป็นสิ่งที่ดีนะคะ ถ้าจะมีการปัดฝุ่นบทบาทของ ศึกษานิเทศก์
  • จำได้ว่าสมัยก่อน ศึกษานิเทศน์มีบทบาทมาก  โดยเฉพาะศึกษานิเทศก์อำเภอ
  • สมัยที่ยังมี สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ
  • ยังจำได้อีกว่า ครูอิงบรรจุครูครั้งแรก ที่โรงเรียนห่างไกลความเจริญมาก ๆ
  • ศึกษานิเทศก์ไปนิเทศโรงเรียน ก็ต้องนอนค้างที่โรงเรียน มีกิจกรรมร่วมกันกับครู ทำงานด้วยกันแม้ยามค่ำคืน รู้สึกสนุกมากจริง ๆ ค่ะ
  • และครูกับศึกษานิเทศก์ก็สนิทสนมกันดีเหมือนพี่เหมือนน้อง  เย็นก็เล่นวอลเลย์บอลกันบ้า  เตะตะกร้อบ้าง  ร่วมวงทานอาหารมื้อเย็น  สนุกสนาน
  • บรรยากาศแบบนั้นคงยากที่จะกลับคืนมา น่าเสียดายจริง ๆ ค่ะ
  • ขอบพระคุณนะคะ สำหรับบันทึกนี้ ขอเอาใจช่วยท่านดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ให้ท่านปลุกชีพ "ศึกษานิเทศก์" ได้สำเร็จด้วยค่ะ

อยากให้การปลุกชีพ...ทำสำเร็จค่ะ

อยากให้การปลุกชีพ...ทำสำเร็จค่ะ

  • สวัสดีค่ะท่านผอ.
  • อยากให้ทำเช่นนี้มาตั้งนานแล้วค่ะ
  • ขอบคุณท่านที่นำข่าวดีมาบอก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท