วิชาหุ่นยนต์


คาดว่าสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.น่าจะจัดพิมพ์เอกสารวิชาเพิ่มเติมวิชาหุ่นยนต์บังคับมือ และวิชาหุ่นยนต์อัตโนมัติ แจกโรงเรียนต่าง ๆ สังกัด สพฐ.ได้นำไปใช้จัดสอนให้กับนักเรียน เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิด โดยเฉพาะความคิดสร้างสรรค์ และกการคิดแก้ปัญหา รวมทั้งกระบวนการเทคโนโลยีให้กับนักเรียนของเรา

          ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.ได้ให้โอกาสผมไปเข้าร่วมจัดทำหลักสูตรเพิ่มเติมวิชาหุ่นยนต์บังคับด้วยมือ และหุ่นยนต์อัตโนมัติ ร่วมกับคณะครูที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการสอนหุ่นยนต์ให้กับนักเรียนของเรา พอศึกษาลึก ๆ จะเห็นได้ว่า การสร้างหุ่นยนต์ของนักเรียน นักเรียนต้องใช้ความรู้ทุกวิชาที่เรียน ร่วมกับความรู้ภายนอกอีก มาบูรณาการกัน กว่าจะได้หุ่นยนต์ที่มีสมรรถภาพตามความต้องการ และกระบวนการสร้างหุ่นยนต์ นักเรียนได้ใช้กระบวนการเทคโนโลยีอย่างครบถ้วนโดยที่นักเรียนอาจจะไม่ทราบว่าได้ใช้กระบวนการเทคโนโลยีมาสร้างหุ่นยนต์เข้าแข่งขัน และแสดงความสามารถ สมควรอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมให้นักเรียนได้เล่นหุ่นยนต์ จะได้ใช้เวลาว่างมาสร้างผลงานที่ให้ประโยชน์แก่ตนเองและสังคม และดีใจที่มีส่วนในการสร้างหลักสูตรวิชาเพิ่มเติม หุ่นยนต์บังคับมือ และหุ่นยนต์อัตโนมัติ แต่ละเล่ม มีผลการเรียนรู้ เนื้อหาสาระที่ใช้สอนอย่างละเอียดเพียงพอพร้อมภาพประกอบ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ รวมทั้งเกณฑ์ระดับคุณภาพที่ใช้ประเมินตามผลการเรียนรู้ที่กำหนด ที่ครูสามารถนำไปใช้สอนนักเรียนได้ โดยอาจจะไม่ต้องหาเนื้อหาสาระเพิ่มเติมก็ได้ เอกสารนี้ ได้ผ่านการตรวจสอบและเพิ่มเติมโดยคณาจารย์ที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการสอนหุ่นยนต์ให้แก่นักศึกษาระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา คาดว่ากระบวนการตรวจสอบคุณภาพทางวิชาการน่าจะเสร็จเรียบร้อยก่อนปีการศึกษา ๒๕๕๔ และสำนักพัฒนานวัตกรรมฯ สพฐ.น่าจะจัดพิมพ์เอกสารที่สมบูรณ์ได้ในปีการศึกษา ๒๕๕๔ เพื่อให้โรงเรียนได้ใช้ ซึ่งครูสามารถนำเนื้อหาสาระในเอกสารบางส่วนไปจัดเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หรือเป็นหน่วยการเรียนรู้ในวิชาพื้นฐาน หรือจัดเต็มรูปแบบ เป็นรายวิชาเพิ่มเติมก็ดีครับ ลองติดตามข่าวนะครับ

หมายเลขบันทึก: 431086เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2011 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
นายไพทูลย์ แสนเสนา

อยากเห็นหลักสูตรออกมาเร็วเพราะการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยการใช้หุ่นยนต์ทำให้ผู้เรียนได้แสดงออกทุกด้าน เด็กไทยจะได้เหมือนญี่ปุ่น เกาหลี มีทักษะกระบวนการคิดที่ดี ตลอดจนสร้างระเบียบวินัย ความอดทนในการทำงาน การแก้ปัญหาและเกิดปัญญานะครับ

ก่อนหน้านี้ คณะทำงานก็เร่งตรวจสอบความถูกต้อง และแก้ไขแล้ว น่าจะได้เห็นเร็ว ๆ นี้ครับ ผมเห็นด้วย เพราะการให้เด็กได้สร้างหุ่นยนต์ เป็นการบูรณาการความรู้ทุกด้าน มาสร้างเครื่องมือ(หุ่นยนต์) เพื่อใช้ให้ทำงานตามต้องการ และเป็นการใช้กระบวนการเทคโนโลยี ๗ ขั้นตอนอย่างสมบูรณ์ที่สุด และกระบวนการเทคโนโลยีนี้ก็เป็นกระบวนการที่ใช้ในการทำงานเป็นปกติ เพียงแต่เราไม่ได้คิดว่า กระบวนการที่เราทำ เป็นไปตามหลักวิชาที่ว่าไว้ ผมได้เขียนการประเมินกระบวนการเทคโนโลยีไว้ที่บล๊อกของผมด้วย ถ้าอยากทราบเปิดอ่านนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท