เครือข่ายทางสังคมของแรงงานรับจ้างชาวกัมพูชาในพื้นที่วัฒนธรรมชายแดนไทย-กัมพูชา อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว


ความสัมพันธ์ชายแดนไทย-กัมพูชา

วัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่ชาวกัมพูชาจะต่อต้านไว้ได้ บ้างก็ยอมจำนน บ้างก็ขัดขืน บ้างก็รับมาปรับเปลี่ยนโดยหลงเหลือความเป็นดั้งเดิมไว้บ้างก็มี สิ่งเหล่านี้ได้ถูกผลิตซ้ำออกมาทางการแต่งตัว การบริโภคเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นต้น

ในวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปยังซุกซ่อนไว้ซึ่งความความยากจนที่ติดตัว ความยากจนอาจจะเป็นหนึ่งปัจจัยที่นำพา ผลักดันให้แรงงานกัมพูชาต้องแสวงหาความอยู่รอดปลอดภัยจากระบบเศรษฐกิจของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน

เมื่อความต้องการสินค้าที่มีมากแต่จำนวนแรงงานที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับกระบวนการในการผลิตสินค้า และแรงงานคนไทยที่มีอยู่ก็ไม่ต้องการที่จะทำงานประเภทนี้ด้วย จึงเป็นปัญหาหลักของผู้ประกอบชาวไทยที่จะต้องหาแรงงานจากชาติพันธุ์อื่นมาเพิ่มเติม แรงงานกัมพูชาที่มีข้อได้เปรียบในเรื่องอัตราค่าแรงที่ถูกกว่าแรงงานไทย จึงเป็นตัวเลือกที่ผู้ประกอบการไทยได้เลือกมาเติมเต็มในส่วนที่ขาดอย่างลงตัว

ผลการวิเคราะห์ ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นได้มาซึ่ง องค์ความรู้ใหม่ในเรื่องการปรับตัวเพื่อเอาตัวรอดของแรงงานรับจ้างชาวกัมพูชาไม่ว่าจะเป็น การปรับตัวในเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหารของกลุ่มตนในการเข้าถึงด้วย”รถพุ่มพวงเล็ก” และการเอาตัวรอดเมื่อครั้งเกิดการขาดแคลนแรงงานด้วยวีการแลกแรงงานกันซึ่งผู้วิจัยให้คำจำกัดความว่า”แชร์แรงงาน”และสุดท้ายการบริหารจัดการสวัสดิการแก่กลุ่มแรงงานรับจ้างชาวกัมพูชาในกลุ่มใครกลุ่มมันด้วยการมี ”ผู้จัดการแรงงาน” ที่ทำหน้าที่รับงาน รับเงิน เก็บเงิน ผูกเงื่อนไขกับร้านค้าในชุมชน เป็นต้น ซึ่ง ”ผู้จัดการแรงงาน” นี้จะเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดนายจ้างไทยและมีรายได้จากการหัก”ค่าหัวคิว” กับแรงงานรับจ้างชาวกัมพูชาที่อยู่ในการควบคุมของตัวเอง

หมายเลขบันทึก: 431040เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2011 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ คุณวันชัย  'คนกลาง'(ผู้จัดการแรงงาน) มีมาช้านานแล้ว จนทำให้ร่ำรวยเป็นเจ้าของที่ทำกินมากมายจนถึงทุกวันนี้ ผิดกันที่แรงงานสมัยก่อนเป็นคนไทยแต่สมัยนี้แรงงานเป็นคนต่างชาติ แต่ที่เหมือนกันคือ ความเอารัดเอาเปรียบ !!! และความเป็นคน!!!

 

ขอบคุณมากครับ ดร.พจนา ที่ท่านได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม บทความที่ผมนำมาลง เป็นเพียงสิ่งที่ผมลงไปเก็บข้อมูลในพื้นที่เพื่อหาข้อสรุปในหัวข้อการทำดุษฏีนิพนธ์ครับ อาจารยืมีอะไรเพิ่มเติมในส่วนขององค์ความรู้เรื่องแรงงานกัมพูชา ท่านอาจารย์เสนอแนะได้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท