หญ้าแฝกกับโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย


การใช้สารละลายกับหญ้าแฝก

เมื่อนักศึกษากลับจากการลงพื้นที่บ้านโคกปรง จ. เพชรบูรณ์
ได้พูดคุย ฝึกทักษะกับกลุ่มแม่บ้าน
ที่ทำงานหัตถกรรมหญ้าแฝกด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน 
ซึ่งก็คือการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
ตาม“กรวยประสบการณ์”  (Cone of Experience ) ของเอดการ์ เดล (Edgar Dale) 

จากนั้นนักศึกษาแต่ละคนก็เริ่มมองเห็นปัญหาเกี่ยวกับหญ้าแฝก
ทางกายภาพ และเป็นรูปธรรม เช่น ความแข็ง ความคม 
ซึ่งเป็นปัญหาในการนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรม


นักศึกษาก็เริ่มคิด Project สู่โครงงานวิทยาศาสตร์ ของครูสุลี
(หนึ่งในทีมวัจัยที่สอนวิชาวิทยาศาสตร์)
เกิดคำถามวิจัยว่าจะทำอย่างไรที่จะทำใบหญ้าแฝกให้นุ่มขึ้น
ส่วนครูแอ้ก็แอบยิ้มแล้ว.......
มาแล้วทั้ง Project-Based Learning, Problem-Based Learning
คงจะเป็นผลงานแบบ win-win ทั้งนักศึกษาและคุณครูทีมวิจัยหญ้าแฝก



ครูสุลีได้แนะนำให้นักศึกษาค้นหาสารละลายแบบง่าย ๆ และมีในพื้นที่จังหวัดเลย
ซึ่งน่าจะใช้ได้คล้าย ๆ กับที่ชาวบ้านโคกปรงใช้คือเกลือ
ที่ทำให้ใบหญ้าแฝกอ่อนนุ่ม

นักศึกษาจึงสนใจทดสอบการใช้สารละลายที่ทำให้หญ้าแฝกอ่อนนุ่ม
และจัดลำดับความสามารถของสารละลายเหล่านั้น
ได้แก่ น้ำเปล่า เกลือ (จากการสัมภาษณ์กลุ่มแม่บ้านบ้านโคกปรง)
ขี้เถ้า (แบบโบราณ) เปลือกสัปประรด (จังหวัดเลยปลูกสัปประรดมาก)

ผลการทดลองของนักศึกษา พบว่า
สารละลายที่มีคุณสมบัติทำให้ใบหญ้าแฝกนุ่มมากขึ้นเรียงลำดับ ดังนี้ 
สารละลายจากเกลือ รองลงมาคือ  สารละลายจากขี้เถ้า 
สารละลายจากเปลือกสับปะรดและน้ำเปล่า   

แล้วข้อมูลจากผลการทดลองนี้
ทีมวิจัยจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร
คงต้องติดตามกันต่อไปนะคะ

หมายเลขบันทึก: 430834เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2011 13:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท