การนำใบหญ้าแฝกไปทำเป็นหัตถกรรม


ความรู้เกี่ยวกับใบหญ้าแฝก

เมื่อนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย
ลงพื้นที่บ้านโคกปรง จ. เพชรบูรณ์ เพื่อสัมภาษณ์
และฝึกฟั่นและถักแฝกกับกลุ่มแม่บ้าน
กลุ่มหัถตกรรมแฝกและกกบ้านโคกปรง
เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับหญ้าแฝกเชิงลึก เพื่อนำไปประกอบการทดลอง

บันทึกข้อมูลได้ดังนี้

“...พันธ์ของหญ้าแฝกที่สามารถนำมาทำเป็นหัตถกรรม พันธ์อินเดียเขาค้อจะมีความนุ่มมากกว่าพันธ์อื่น ๆ ในการสานหรือถักนั้นจะง่ายกว่า หากจะใช้พันธ์ศรีลังกาจะต้องตัดเอาเฉพาะยอดมาทำเป็นหัตถกรรมได้ ...”

"โดยธรรมชาติแล้วหากต้นหญ้าแฝกออกดอกเมื่อไร ใบของหญ้าแฝกจะแข็งไม่สามารถนำมาทำเป็นหัตถกรรมได้  การเกี่ยวใบหญ้าแฝกนั้นเราจะวัดจากพื้นดินประมาณ 1 ฝ่ามือในแนวตั้ง หรือประมาณ 20 เซนติเมตร เมื่อเกี่ยวเสร็จแล้วเราจะเลือกหญ้าให้เหลือเฉพาะส่วนใบที่ยาวโดยใช้มือจับบริเวณเหนือกึ่งกลางใบขึ้นไปแล้วเขย่าเพื่อให้ส่วนใบที่สั้น ๆ หลุดออกเสร็จแล้วมัดด้วยหนังยาง.."

“...การทำให้หญ้าแฝกให้นุ่มนั้นให้นำใบหญ้าแฝกที่เกี่ยวเสร็จมาใหม่ ๆ ต้มกับน้ำเกลือประมาณ 10-20 นาที หรือสังเกตด้วยสายตาว่าสีของใบหญ้าแฝกตายแล้ว จึงเอาขึ้นมาล้างด้วยน้ำเปล่า นำไปตากแดดให้แห้ง 2-3 แดด และอย่าทำให้ถูกฝนเพราะจะทำให้แฝกขึ้นรา"

“...การย้อมสีหญ้าแฝก เราจะใช้สีย้อมกก ย้อมสีหญ้าแฝก เริ่มจากต้มน้ำให้เดือดแล้วนำสีย้อมกกใส่ลงไปคนให้ละลาย จากนั้นจึงนำใบหญ้าแฝกลงย้อมสี เมื่อย้อมเสร็จแล้วก็นำไปตากแดดให้แห้งประมาณ 2-3 แดด...”

“...ใบของหญ้าแฝกสามารถนำมาทำเป็นหมวก กระเป๋า ตุ๊กตาและอื่น ๆ โดยใช้แฝกอ่อน การฟั่นใบแฝก ก่อนอื่นเราต้องกรีดเอาขอบใบและแกนกลางออกก่อน เพื่อป้องกันแฝกบาดมือและทำให้การฟั่นเป็นเชือกง่ายขึ้น แต่ถ้าใบแฝกใบใดแกนกลางไม่แข็งก็ไม่ต้องกรีดออกแต่ให้กรีดแบ่งครึ่งแล้วฟั่นเป็นเชือกได้เลย โดยขนาดของแฝกทั้ง 2 เส้นจะต้องเท่ากันพันเกลียวกันไป ในขณะที่พันเกลียวกันนั้นก็ต้องหมุนเส้นทั้ง 2 ให้เกลียวเป็นวงกลมด้วยจึงทำให้เชือกที่ได้พันกันแน่นมากขึ้นและไม่คลายเกลียว...”

ขอขอบคุณกลุ่มแม่บ้านโคกปรงทุกท่านที่ได้กรุณาให้ข้อมูลเกี่ยวกับหญ้าแฝก
จากประสบการณ์ส่วนตัวจากการทดลองและการสังเกต

ซึ่งข้อมูลบางส่วนที่ได้นำมาเสนอนี้
อาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจที่จะพัฒนาหญ้าแฝก
เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ตามพระราชดำริต่อไป
ไม่ว่าจะเป็นการฟั่น การสาน การถักหรือการทอหญ้าแฝก

 

หมายเลขบันทึก: 430615เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2011 23:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ประโยชน์มากมายหลายด้านจริงๆเลย"หญ้าแฝก"

ขอบคุณมากกับบันทึกที่มีคุณค่านะคะ

ขอบคุณ krugui Chutima และคุณยายมาก ๆ ค่ะ
อย่างไรก็ช่วยเป็นกำลังใจมือใหม่หัดขับงานวิจัยด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท